ความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษา กับประสิทธิผลของโรงเรียนเอกชนในจังหวัดปทุมธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาของโรงเรียนเอกชนในจังหวัดปทุมธานี 2) ศึกษาประสิทธิผลของโรงเรียนเอกชนในจังหวัดปทุมธานี และ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลของโรงเรียนเอกชนในจังหวัดปทุมธานี เป็นการวิจัยเชิงปริมาณประชากร ได้แก่ ครูของโรงเรียนเอกชนในจังหวัดปทุมธานี จำนวน 2,325 คน โดยกลุ่มตัวอย่าง คือ ครูจำนวน 341 คน กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของ ทาโร่ ยามาเน่ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ เกี่ยวกับสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาของโรงเรียนเอกชนในจังหวัดปทุมธานี ตามแนวคิดของคุรุสภาและประสิทธิผลของโรงเรียนเอกชนในจังหวัดปทุมธานี ตามแนวคิดการประเมินแบบสมดุลของ แคปแลน และ นอร์ตัน แบบสอบถามมีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่าง 0.67 - 1.00 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของ เพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า 1) สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาของโรงเรียนเอกชนในจังหวัดปทุมธานี โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ย อยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาทุกด้านมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ยกเว้นสมรรถนะด้านกิจการและกิจกรรมนักเรียนมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด 2) ประสิทธิผลของโรงเรียนเอกชนในจังหวัดปทุมธานี โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ประสิทธิผลของโรงเรียนเอกชนในจังหวัดปทุมธานีทุกด้านมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก 3) ความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาของโรงเรียนเอกชนในจังหวัดปทุมธานี มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับประสิทธิผลของโรงเรียนเอกชนในจังหวัดปทุมธานี ในระดับสูงมาก
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2562). ระบบคลังข้อมูลกลางด้านการศึกษา. เรียกใช้เมื่อ 25 พฤศจิกายน 2563 จาก http://eduwh.moe.go.th/pub/report/stat
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2540). หลักสถิติ. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ขุนวัง ณุวงศ์ศรี. (2551). การศึกษาสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์ เขต 2. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต โปรแกรมวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์.
คุรุสภา. (2556). ประกาศคณะกรรมการคุรุสภา เรื่อง สาระความรู้ สมรรถนะ และประสบการณ์วิชาชีพครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา และศึกษานิเทศก์ ตามข้อบังคับของคุรุสภาว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพ พ.ศ. 2556. เรียกใช้เมื่อ 25 ธันวาคม 2563 จาก http://alumni.rtu.ac.th/doc/Knowledge_performance.pdf
เจริญศรี พันปี. (2553). การวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่บริหารงานตามกฏกระทรวงว่าด้วยการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษา. ใน ดุษฎีนิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ชาตรี ประสมศรี. (2550). องค์ประกอบของการใช้ความรู้เป็นฐานในการปฏิบัติงานของครูที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตตรวจราชการที่ 6 และ 7. ใน ดุษฎีนิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ไทยโพสต์. (2562). แจ้งความ รร.เอกชนในปทุมธานีเรียกเก็บเงิน-เรียนไม่ตรงหลักสูตร และให้ใบจบ การศึกษาไม่ถูกต้อง. เรียกใช้เมื่อ 9 มิถุนายน 2563 จาก https://www.thaipost.net.main/detail/26911
ธัญพร จันทร์หนู. (2558). ภาวะผู้นำของผู้ประกอบการสถานบริการกับแรงจูงใจในชีวิตของพนักงานในสถานบริการ. วารสารวิชาการสถาบันวิทยาการจัดการแห่งแปซิฟิค, 1(1), 9-18.
นิลุบล คงเกตุ. (2550). องค์ประกอบของการใช้ความรู้เป็นฐานในการปฏิบัติงานของครูที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตตรวจราชการที่ 6 และ 7. ใน ดุษฎีนิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
พัชรินทร์ ปัญจมณี. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษากับการดำเนินงานของโรงเรียนมาตรฐานสากล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 4 จังหวัดปทุมธานี. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
มติชนสุดสัปดาห์. (2562). สารพัดปัญหา ‘ร.ร.เอกชน’ พิสูจน์ฝีมือ ‘ณัฏฐพล-กนกวรรณ’. เรียกใช้เมื่อ 9 มิถุนายน 2563 จาก https://www.matichonweekly. com/column/article_234841
วัสสิกา รุมาคม. (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างประสิทธิผลของโรงเรียนเอกชนในจังหวัดปทุมธานีกับความพึงพอใจในการทำงานของครูผู้สอน. วารสารศึกษาศาสตร์ มสธ, 13(2), 115-131.
ศิริ ถีอาสนา และปิยศักดิ์ ถีอาสนา. (2559). สมรรถนะที่เหมาะสมและจำเป็นสำหรับผู้บริหารสถานศึกษาในยุคปัจจุบัน. วารสารการบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 4(15), 17-24.
โสภิณ ม่วงทอง และคณะ. (2556). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนเอกชนประเภทสามัญในภาคตะวันออก. วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา, 7(1), 18-29.
Hoy, Wayne K. & Miskel, Cecil G. (2001). Educational administration: Theory, Research and Practice. (6 th ed). Singapore: McGraw-Hill.