นโยบายสาธารณะ: กรณีศึกษา เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
Main Article Content
บทคัดย่อ
เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุได้เริ่มเป็นรูปธรรมใน พ.ศ. 2535 จากแนวคิดของกรมประชาสงเคราะห์ (ในรัฐบาลสมัย นายชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรีสองสมัย ระหว่างปี พ.ศ. 2535 - 2538) เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุถือเป็นสวัสดิการสังคมประเภทหนึ่ง ที่รัฐบาลจัดสรรให้กับผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ซึ่งเป็นการจัดสวัสดิการสังคมแก่ผู้สูงอายุ โดยผ่านการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน ได้แก่ องค์กรภาครัฐที่รับผิดชอบ คือ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ รวมถึงองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่มีบทบาทในการจัดสวัสดิการผู้สูงอายุ ได้เริ่มต้นอย่างเป็นทางการ ปัจจุบันองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้ดำเนินการจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุให้เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2554 ได้กำหนดอัตราการจ่ายเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุในอัตราแบบขั้นบันได จะได้รับเบี้ยยังชีพแตกต่างกันไปตามอายุ สำหรับผู้สูงอายุที่เป็นข้าราชการบำนาญ จะไม่ได้รับค่าเบี้ยยังชีพ ถึงแม้ว่าผู้สูงอายุจะได้รับค่าเบี้ยยังชีพจากรัฐบาลแต่ก็ยังได้รับจากบุตรหลาน จากผลการวิจัย พบว่า รูปแบบความเป็นอยู่ของผู้สูงอายุ 3 รูปแบบ ได้แก่ 1) การอยู่อาศัยกับบุตรหลานโดยตรง 2) การอยู่อาศัยตามลำพัง หรืออยู่แบบคู่สามีภรรยา แต่อยู่ไม่ไกลจากบุตรหลานมากนัก เช่น อยู่ในเมืองเดียวกัน และ 3) การอยู่อาศัยตามลำพัง หรืออยู่แบบคู่สามีภรรยา แต่อยู่ไกลจากบุตรหลาน ทั้ง 3 รูปแบบมีลักษณะเป็นสากล โดยรูปแบบความเป็นอยู่นั้นมีความสัมพันธ์กับเงินที่บุตรหลานส่งเสียให้ผู้สูงอายุ และการดูแลที่ได้รับจากบุตรหลาน การส่งเสียเงินและการดูแลผู้สูงอายุในครอบครัวสะท้อนถึงค่านิยมเรื่องของความกตัญญู ซึ่งมีให้เห็นอยู่ในปัจจุบันของสังคมไทย
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. (2559). การจัดสวัสดิการสังคมเกี่ยวกับผู้สูงอายุและการวิเคราะห์บทบาทอำนาจหน้าที่ด้านการสงเคราะห์ผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. เรียกใช้เมื่อ 30 มีนาคม 2565 จาก http://www.dla.go.th /work/e_book/eb1/ stan16/p2.pdf
กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2557). ประชากรผู้สูงอายุไทย: ปัจจุบันและอนาคต. เรียกใช้เมื่อ 30 มีนาคม 2557 จาก https://www.m-society.go.th/ article_attach/13225/17347.pdf
จักรี ศรีจารุเมธีญาณ. (2563). การนำนโยบายไปปฏิบัติ. วารสารวิจัยธรรมศึกษา, 3(1), 19-26.
นราธิป ศรีราม. (2557). แนวคิดเกี่ยวกับการจัดบริการสาธารณะของท้องถิ่น เอกสารการสอนชุดวิชาการจัดบริการสาธารณะของท้องถิ่น หน่วยที่ 1 - 7. นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
มยุรี อนุมานราชธน. (2547). นโยบายสาธารณะ แนวคิด กระบวนการและการวิเคราะห์. เชียงใหม่: คะนึงนิจการพิมพ์.
ระบบฐานข้อมูลด้านสังคมและคุณภาพชีวิต. (2560). ความมั่นคงหลักประกันรายได้. เรียกใช้เมื่อ 29 มีนาคม 2565 จาก https://socail.nesdb.go.th
เรืองวิทย์ เกษสุวรรณ. (2550). การนำนโยบายไปปฏิบัติ. (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพมหานคร: บพิธการพิมพ์.
วีระศักดิ์ เครือเทพ และคณะ. (2558). 15 ปี การกระจายอำนาจของไทย สรุปผลการวิจัยและข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์ส่งเสริมนวัตกรรมและธรรมาภิบาลท้องถิ่น.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (ฉบับที่ 12) 2560 - 2564. เรียกใช้เมื่อ 29 มีนาคม 2565 จาก http://www.nesdc.go.th
สำนักส่งเสริมและพิทักษ์ผู้สูงอายุ. (2552). ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วย หลักเกณฑ์การจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ พ.ศ. 2552. เรียกใช้เมื่อ 29 มีนาคม 2565 จาก http://www.oppo.opp.go.th/pages/law/law_06.html
Easton, David. (1953). The Political System An Inquiry in to the State of Political Science. New York: Alfred A. Knorf.
Mazmanian, D. A., & Sabatier, P. A. (1989). Implementation and publicpolicy: With a new postscript. Latham: MD: University Press ofAmerica.