การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง สมการเชิงเส้น ตัวแปรเดียว โดยใช้แนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เสริมด้วย แบบฝึกทักษะที่เน้นกระบวนการแก้ปัญหาของโพลยา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนากิจกรรมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว โดยใช้แนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เสริมด้วยแบบฝึกทักษะที่เน้นกระบวนการแก้ปัญหาของโพลยา 2) ศึกษาและเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ โดยใช้แนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เสริมด้วยแบบฝึกทักษะที่เน้นกระบวนการแก้ปัญหาของโพลยา และ 3) ศึกษาความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ โดยใช้แนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เสริมด้วยแบบฝึกทักษะที่เน้นกระบวนการแก้ปัญหาของโพลยา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เป็นการวิจัยแบบผสมผสานวิธี เชิงปฏิบัติการ 3 วงจรปฏิบัติการ กลุ่มเป้าหมายเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เลือกแบบเจาะจง ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 36 คน ผลการวิจัยพบว่า 1) การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง การแก้สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว โดยใช้แนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เสริมด้วยแบบฝึกทักษะที่เน้นกระบวนการแก้ปัญหาของโพลยา มี 5 ขั้นตอนที่สำคัญ 2) ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ โดยใช้แนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เสริมด้วยแบบฝึกทักษะที่เน้นกระบวนการแก้ปัญหาของโพลยา มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 และมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน และ 3) ความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนที่เรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง การแก้สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว โดยใช้แนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เสริมด้วยแบบฝึกทักษะที่เน้นกระบวนการแก้ปัญหาของโพลยา นักเรียนมีคะแนนความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์หลังเรียน ไม่น้อยกว่าร้อยละ 75
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
Kemmis, S. and McTaggart, R. (1988). The action research planner. Geelong: Deakin University Press.
Polya, G. (1957). How to solve it. (2nded.). New York: Doubleday.
ณัฐกฤตา ห้วยทราย. (2563). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ตามกระบวนการแก้ปัญหาของโพลยาที่ส่งเสริมความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียวของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพา, 2(1),120-132.
ทิศนา แขมมณี. (2556). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 17). กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พลอยไพริน ศิริพัฒน์ และคณะ. (2562). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในการแก้โจทย์ปัญหา เรื่อง การประยุกต์ของสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียวของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้รูปแบบการแก้โจทย์ปัญหาตามแนวคิดของโพลยา. วารสารวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์ศึกษา, 2(1),23-33.
โรงเรียนพรเจริญวิทยา. (2561). รายงานผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนการวัดและประเมินผลคะแนน o-net ประจำปี 2561 – 2563. บึงกาฬ: โรงเรียนพรเจริญวิทยา.
โรงเรียนพรเจริญวิทยา. (2563). รายงานประกันคุณภาพการศึกษากลุ่มงานบริหารวิชาการโรงเรียนพรเจริญวิทยา. บึงกาฬ: โรงเรียนพรเจริญวิทยา.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2555). คู่มือครูรายวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน คณิตศาสตร์ เล่ม 2 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ปรับปรุง 2560. กรุงเทพมหานคร: ชุมนุมสหกรณ์สวัสดิการครูและบุคลากรทางการศึกษา.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (ฉบับที่12). กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี.
สิริพร ทิพย์คง. (2545). การพัฒนารูปแบบการสอนพีชคณิตสําหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. กรุงเทพมหานคร: ภาควิชาการศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
สุนีย์ เหมะประสิทธิ์. (2543). การวิจัยเชิงปฏิบัติการ. กรุงเทพมหานคร: คุรุสภาลาดพร้าว.