ผลของการใช้โปรแกรมส่งเสริมสุขภาพต่อความรู้และพฤติกรรม การดูแลตนเองของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติตนในขณะตั้งครรภ์และพฤติกรรมการดูแลตนเองของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นก่อนและหลังการใช้โปรแกรมส่งเสริมสุขภาพ โดยใช้รูปแบบการวิจัยแบบกึ่งทดลอง ชนิดกลุ่มเดียววัดก่อนและหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างเป็นหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นอายุไม่เกิน 20 ปีนับถึงวันกำหนดคลอด ที่มาฝากครรภ์ในคลินิกฝากครรภ์ โรงพยาบาลด่านมะขามเตี้ย จังหวัดกาญจนบุรี คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 30 คน เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย โปรแกรมส่งเสริมสุขภาพ แบบประเมินความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติตนในขณะตั้งครรภ์ ตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือได้ค่า KR-20 = 0.71 และแบบวัดพฤติกรรมการดูแลตนเองของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น ได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของคอนบาค = 0.74 วิเคราะห์ข้อมูลโดยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าสถิติที ผลการวิจัยพบว่า คะแนนเฉลี่ยความรู้ของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น หลังการได้รับโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพ (M= 13.40, S.D. = 1.42) สูงกว่าก่อนการเข้าร่วมโปรแกรม (M = 14.90, S.D. = 0.30) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .00 ( t = -6.04, p<.000, df = 29) คะแนนพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น หลังการได้รับโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพ (M = 2.40, S.D. = 0.20) สูงกว่าก่อนการเข้าร่วมโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพ (M = 2.81, S.D. = 0.07) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.00 (t = -9.98, p<.000, df = 29) จากผลการวิจัย คะแนนความรู้และพฤติกรรมการดูแลตนเองของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นหลังได้รับโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพสูงกว่าก่อนการทดลอง ดังนั้น ควรส่งเสริมให้มีการใช้โปรแกรมส่งเสริมสุขภาพ เพื่อเพิ่มความรู้และพฤติกรรมการดูแลตนเองของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นและใช้เป็นแนวทางพัฒนาสำหรับโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพสำหรับกลุ่มอื่นต่อไป
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรมอนามัย สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์. (2563). รายงานประจำปี 2563. นนทบุรี: สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์.
ทองเหรียญ มูลชีพ. (2561). การศึกษาเปรียบเทียบผลการตั้งครรภ์ในหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นและวัยผู้ใหญ่ ที่มาคลอดในโรงพยาบาลลำพูน. วารสารส่งเสริมสุขภาพอนามัยสิ่งแวดล้อมล้านนา, 8(1), 38-45.
ธนวัฒน์ รุ่งศิริวัฒนกิจ. (2561). การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น จังหวัดเพชรบุรี. ใน วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาการส่งเสริมสุขภาพ. มหาวิทยาลัยเกริก.
นวลอนงค์ วงศ์ขันแก้ว, และคณะ. (2564). อายุมารดากับผลลัพธ์การตั้งครรภ์ในโรงพยาบาลแพร่. ใน วารสารโรงพยาบาลแพร่. 2564: 29(1), 1- 15.
นันทนา จุลจงกล และคณะ. (2564). พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์ที่มารับบริการฝากครรภ์ที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านม่านิกและศรีสุนทร อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ตระหว่างเดือนมิถุนายน - กรกฎาคม พ.ศ. 2563. วารสารกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์, 63(2), 287-300.
บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. (2553). สถิติวิเคราะห์เพื่อการวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพมหานคร: เรือนแก้วการพิมพ์.
เพ็ญพยงค์ ตาระกา และคณะ. (2562). ผลของโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้ความสามารถแห่งตนต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นครรภ์แรก. วารสารแพทย์นาวี, 4(46), 319-335.
สมชาย ธนวัฒนาเจริญ. (2562). ความเสี่ยงของการตั้งครรภ์วัยรุ่น. เรียกใช้เมื่อ 12 มิถุนายน 2564 จาก https://chulalongkornhospital.go.th/kcmh/line/ความเสี่ยงของการตั้งครรภ์วัยรุ่น
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาญจนบุรี. (2563). ผลการดำเนินงานอนามัยแม่และเด็ก เขตสุขภาพที่ 5 ปี 2563. กาญจนบุรี: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาญจนบุรี.
สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์. (2559). แผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ด้านสาธารณสุข. นนทบุรี: สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข.
สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย. (2563). สถิติการคลอดของแม่วัยรุ่นประเทศไทยปี พ.ศ. 2561. นนทบุรี: กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข.
สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2560). ยุทธศาสตร์การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภในวัยรุนระดับชาติ พ.ศ. 2560 - 2569 ตามพระราชบัญญัติการป้องกันและแก้ไขปญหาการตั้งครรภในวัยรุน พ.ศ. 2559. กรุงเทพมหานคร: เทพเพ็ญวานิสย์.
หน่วยงานห้องคลอด โรงพยาบาลด่านมะขามเตี้ย. (2563). รายงานแม่และเด็กไทย. กาญจนบุรี: โรงพยาบาลด่านมะขามเตี้ย.
อ้อมใจ พลกายา. (2559). การพัฒนาโปรแกรมการส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลตนเองโดยใช้การมีส่วนร่วมของครอบครัวในหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 25(3), 55-67.
Bloom, B. S. (1971). Handbook on formative and summative evaluation of student learning. New York: McGraw–Hill.
Patricia W. et al. (1994). Essentials of Maternal-Newborn Nursing Orem, D.E. (2001). Nursing: Concepts and Practice. (6thed.). St. Louis: Missouri: Mosby.
Pender, N. J. (1987). Health Promotion in Nursing Practice. (2 nd) ed. Stam-ford, CT: Appleton & Lange.
Pender, N. J. (1996). Health Promotion in Nursing Practice (3rd ed.). Connecticut: Appleton & Lange.