การนำนโยบายคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุไปสู่การปฏิบัติที่ส่งผล ต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ในเขตจังหวัดนครราชสีมา

Main Article Content

ชัยอานันท์ เตชะสารฐิกูล

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับนโยบายคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ สู่การปฏิบัติ ในจังหวัดนครราชสีมา 2) ศึกษานโยบายคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในจังหวัดนครราชสีมา 3) เพื่อเสนอแนวทางในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในจังหวัดนครราชสีมา เป็นวิจัยแบบผสมวิธี กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ในจังหวัดนครราชสีมา จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์เชิงลึก จำนวน 10 คน นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ความถดถอยพหุคูณ การวิเคราะห์การถดถอย และการวิเคราะห์สหสัมพันธ์ ผลการศึกษาพบว่า 1) ระดับนโยบายคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในจังหวัดนครราชสีมาภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อย คือ ด้านระบบบริการและเครือข่าย ด้านการส่งเสริมสนับสนุนผู้สูงอายุได้รับความรู้และความสามารถเข้าถึงข่าวสารและสื่อ ด้านการสนับสนุนผู้สูงอายุที่มีศักยภาพ ด้านครอบครัวผู้ดูแลและการคุ้มครอง ด้านการส่งเสริมการรวมกลุ่ม ด้านการส่งเสริมสุขภาพ ด้านการส่งเสริมด้านการทำงาน ด้านการคุ้มครองด้านรายได้ ด้านการส่งเสริมที่อยู่อาศัยและสภาพแวดล้อม ด้านหลักประกันสุขภาพ ตามลำดับ 2) นโยบายคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ปัจจัยด้านการส่งเสริมสุขภาพ ปัจจัยด้านการสนับสนุนผู้สูงอายุที่มีศักยภาพ ปัจจัยด้านการคุ้มครองรายได้ ปัจจัยด้านครอบครัวผู้ดูแลและการคุ้มครอง และปัจจัยด้านระบบบริการและเครือข่าย มีผลส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเขตจังหวัดนครราชสีมาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ควรมีการวิจัยในด้านปัญหาและความต้องการของผู้สูงอายุกับหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำผลการวิจัยดังกล่าวไปวางแผนปรับปรุงกลยุทธ์ในการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ หรือสร้างนโยบายใหม่เพื่อให้สามารถแก้ปัญหาและสอดคล้องกับความต้องการของผู้สูงอายุต่อไป

Article Details

How to Cite
เตชะสารฐิกูล ช. . (2022). การนำนโยบายคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุไปสู่การปฏิบัติที่ส่งผล ต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ในเขตจังหวัดนครราชสีมา. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 9(7), 372–389. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/262581
บท
บทความวิจัย

References

กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2563). สถิติผู้สูงอายุ. Retrieved January 10, 2565, from https://www.dop. go.th/th/know/1

ชมพูนุท พรหมภักดิ์. (2556). การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุของประเทศไทย (Aging society in Thailand). สำนักวิชาการ สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา, 3(16), 1-19.

ปลื้มใจ ไพจิตร. (2558). คุณภาพในการดำรงชีวิตของผู้สูงอายุในจังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสาร วิทยาการจัดการคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี, 2(2), 157-179.

ปิยภรณ์ เลาหกิจ. (2557). คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในชุมชนหมู่ 7 ตำบลพลูตาหลวง อำเภอ สัตหีบ จังหวัดชลบุรี. ใน วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการ บริหารทั่วไป. มหาวิทยาลัยบูรพา.

ภูมิวัฒน์ พรวนสุข. (2558). แนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ขององค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่น ในเขตจังหวัดแพร่. วารสารบัณฑิตวิทยาลัยพิชญทรรศน์, 10(1), 77-87.

วิพรรณ ประจวบเหมาะ และศิริวรรณ ศิริบุญ. (2553). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2552. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย.

สถาบันวิจัยประชากรและสังคม. (2549). ประชากรและสังคม 2549: ภาวะการตาย…ภาพ สะท้อนความมั่นคงทางประชากร. Retrieved January 10, 2565, from https://ipsr.mahidol.ac.th/post_research/ประชากรและสังคม-2549/

สำนักงงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมาตรี. (2564). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พ.ศ.2560-2564. Retrieved มกราคม 10, 2565, from https://drive.google.com/file/d/1VXj7xULoiyzJsNIOHo3zbkFN G5dntc0V/view

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2551). แบบสำรวจความคิดเห็น. Retrieved January 10, 2565, from http://www. nso.go.th/sites/2014/pages/สำรวจความคิดเห็นของ ประชาชน/2551.aspx

อภินันท์ สนน้อย และคณะ. (2559). รูปแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ในจังหวัดบุรีรัมย์. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, 8(2), 153-169.

Cronbach, L. J. (1970). Essentials of Psychological Test (5th ed.). New York: Harper Collins.

Yamane. T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. (3rd ed). New York: Harper and Row.