การติดต่อสื่อสารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงาน ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดนครราชสีมา

Main Article Content

สำรวย พยอมใหม่

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการติดต่อสื่อสารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในจังหวัดนครราชสีมา 2) วิเคราะห์การติดต่อสื่อสารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในจังหวัดนครราชสีมา 3) เสนอแนวทางการพัฒนารูปแบบและกระบวนการติดต่อสื่อสารขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในจังหวัดนครราชสีมา เป็นวิจัยแบบผสมผสาน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ บุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในจังหวัดนครราชสีมา จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์เชิงลึก จำนวน 20 คน นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ความถดถอยพหุคูณ การวิเคราะห์การถดถอย และการวิเคราะห์สหสัมพันธ์ ผลการศึกษาพบว่า 1) ระดับกระบวนการติดต่อสื่อสารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในจังหวัดนครราชสีมา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยเรียงจากค่าเฉลี่ยมากไปน้อย คือ ด้านช่องทางการสื่อสาร ด้านผู้ส่งสาร ด้านสาร และด้านผู้รับสาร ตามลำดับ และรูปแบบการติดต่อสื่อสาร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยเรียงจากค่าเฉลี่ยมากไปน้อย คือ ด้านการสื่อสารตามแนวนอนหรือแนวเดียวกัน ด้านการสื่อสารจากบนลงล่าง และด้านการสื่อสารจากล่างขึ้นบน 2) การติดต่อสื่อสาร พบว่า กระบวนการ และรูปแบบการติดต่อสื่อสาร ด้านผู้รับสาร และด้านการสื่อสารจากล่างขึ้นบน ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในจังหวัดนครราชสีมา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .05 3) ส่งเสริมให้การติดต่อสื่อสารของสมาชิกในองค์กรมีการสื่อสารอย่างชัดเจนในทุกระดับงาน เหมาะสมกับสถานการณ์ มีความกระชับ ทั้งการพูดและการเขียน ทำให้ผลลัพธ์ที่ออกมารวดเร็วและถูกต้อง

Article Details

How to Cite
พยอมใหม่ ส. . (2022). การติดต่อสื่อสารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงาน ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดนครราชสีมา. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 9(7), 319–336. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/262578
บท
บทความวิจัย

References

เสนาะ ติเยาว์. (2541). การสื่อสารในองค์การ. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ชุติมนต์ สมบูรณ์แก้ว . (2556). ประสิทธิภาพการติดต่อสื่อสารภายใน สำนักงานพัฒนา วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.). ใน วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจ. มหาวิทยาลัยปทุมธานี.

ณฐอร กีรติลาภิน. (2560). รูปแบบและปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการสื่อสารในองค์กร กรณีศึกษา: โรงพยาบาล บ้านแพ้ว (องค์การมหาชน). ใน วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหา บัณฑิต สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ทรงยศ แก้วมงคล. (2555). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของ โรงเรียน ประถมศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานคร. ใน ดุษฎีนิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎี บัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา . มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

บุหงา โปซิว. (2557). การจัดการเชิงกลยุทธ์ : การสื่อสารภายในองค์กร. Retrieved January 21, 2565, from http://www.utcc.ac.th

ปิยพักตร์ สินบัวทอง. (2545). การสื่อสารกับการสร้างทีมงาม. วารสารบรรณารักษศาสตร์และ สารนิเทศศาสตร์ มข., 20(2), 43-51.

รัฐนันท์ หนองใหญ่. (2558). ปัจจัยการสื่อสารภายในองค์กรที่ส่งผลต่อการเปิดรับข่าวสารของ พนักงาน: กรณีศึกษาโรงแรมเดอะซายน์ แอนล์ วิลล่า. ใน วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจ มหาบัณทิต สาขาวิชาการบริหารการประชาสัมพันธ์และสื่อสารมวลชน. มหาวิทยาลัย บูรพา.

วิรัช สงวนวงศ์วาน. (2547). การจัดการและพฤติกรรมองค์กร. กรุงเทพมหานคร: เพียร์สัน เอ็ด ดูเคชั่น.

วุฒิสาร ตันไชย. (2557). การกระจายอำนาจและประชาธิปไตยในประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: สถาบันพระปกเกล้า กรุงเทพมหานคร.

อรอนงค์ สวัสดิ์บุรี และรสชงพร โกมลเสวิน. (2552). รูปแบบการสื่อสารของนักการเมือง ท้องถิ่น. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย, 29(4), 41-53.

Cronbach, L. J. (1970). Essentials of Psychological Test (5th ed.). New York: Harper Collins.

Yamane. T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. (3rd ed). New York: Harper and Row.