คุณสมบัติของนักบัญชีที่พึงประสงค์ในยุคดิจิทัลที่ส่งผลต่อคุณภาพ การจัดทำงบการเงินของธุรกิจ SMEs ในกลุ่มภาคใต้ฝั่งอันดามัน

Main Article Content

นิรมล คชแก้ว
ฐิตาภรณ์ สินจรูญศักดิ์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับคุณสมบัติของนักบัญชีที่พึงประสงค์ในยุคดิจิทัลที่ส่งผลต่อคุณภาพการจัดทำงบการเงินของธุรกิจ 2) ศึกษาระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับคุณภาพการจัดทำงบการเงินของธุรกิจ และ 3) ศึกษาคุณสมบัติของนักบัญชีที่พึงประสงค์ในยุคดิจิทัลที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพการจัดทำงบการเงิน ของธุรกิจ SMEs ในกลุ่มภาคใต้ฝั่งอันดามัน โดยใช้รูปแบบการวิจัยเป็นวิจัยเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามจากผู้บริหารธุรกิจ SMEs เลือกกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตร Taro Yamane ในกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน ได้จำนวน 400 ราย โดยแบ่งชั้นเทียบตามสัดส่วน ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับคุณสมบัติของนักบัญชีที่พึงประสงค์ในยุคดิจิทัลโดยรวม อยู่ในระดับมากที่สุด โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านจรรยาบรรณทางวิชาชีพ 2) ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับคุณภาพการจัดทำงบการเงิน โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านความสามารถเข้าใจได้ 3) ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า คุณสมบัติของนักบัญชีที่พึงประสงค์ในยุคดิจิทัล ด้านความรู้ความสามารถในวิชาชีพบัญชี ด้านความรู้ความสามารถเกี่ยวกับเทคโนโลยี ด้านลักษณะเฉพาะบุคคล ด้านจรรยาบรรณทางวิชาชีพ และด้านภาษา มีอิทธิพลต่อคุณภาพการจัดทำงบการเงินของธุรกิจ SMEs ในกลุ่มภาคใต้ฝั่งอันดามัน ด้านความเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจ และด้านความทันเวลา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และคุณสมบัติของนักบัญชีที่พึงประสงค์ในยุคดิจิทัล ด้านจรรยาบรรณทางวิชาชีพ และด้านภาษา มีอิทธิพลต่อคุณภาพการจัดทำงบการเงินของธุรกิจ SMEs ในกลุ่มภาคใต้ฝั่งอันดามัน ด้านความสามารถพิสูจน์ยืนยันได้ และด้านความทันเวลา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

Article Details

How to Cite
คชแก้ว น. ., & สินจรูญศักดิ์ ฐ. . (2022). คุณสมบัติของนักบัญชีที่พึงประสงค์ในยุคดิจิทัลที่ส่งผลต่อคุณภาพ การจัดทำงบการเงินของธุรกิจ SMEs ในกลุ่มภาคใต้ฝั่งอันดามัน. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 9(7), 245–258. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/262572
บท
บทความวิจัย

References

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า. (2562). ก้าวทันมิติใหม่การบัญชียุคดิจิทัล กรมพัฒน์ฯ เร่มเสริมแกร่งผู้ประกอบการธุรกิจสำนักงานบัญชี....รับการเปลี่ยนแปลง. เรียกใช้เมื่อ 20 กันยายน 2564 จาก https://www.dbd.go.th/news_view.php?nid=469414025

กัญญาพร จันทร์ประสิทธิ์. (2562). ประสิทธิภาพนักบัญชียุคดิจิทัลของสถานประกอบการในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร. ใน วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาการบัญชี. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

กัญฐณา ดิษฐ์แก้ว และคณะ. (2559). คุณสมบัตินักบัญชีที่พึงประสงค์สำหรับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดตาก. เรียกใช้เมื่อ 24 กันยายน 2564 จาก http://ojslib3.buu.in.th/index.php/business/article/view/5854

กาญจนา มงคลนิพัทธ์ และนิตยา มณีนาค. (2559). คุณสมบัติของนักบัญชีที่พึงประสงค์สำหรับอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ในประเทศไทย. เรียกใช้เมื่อ 24 กันยายน 2564 จาก http://repository.rmutr.ac.th/bitstream/handle/123456789/400/Fulltext.pdf?sequence=1

กานดา แซ่หลิ่ว. (2560). ศักยภาพทางการบัญชีมีผลต่อความสำเร็จในการปฏิบัติงานของนักบัญชีในจังหวัดสมุทรปราการ. ใน วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาการบัญชี. มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

ณัชชา คล้ายสุบรรณ. (2562). คุณสมบัติของนักบัญชีที่พึงประสงค์ของสถานประกอบการในยุคดิจิทัล. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการบัญชี. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

ธานินทร์ ศิลป์จาร. (2560). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS. กรุงเทพมหานคร: บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.

พัชรทิตา นวลละออง. (2562). ผลกระทบของความรู้ความสามารถและสมรรถนะหลักของนักบัญชีที่มีต่อประสิทธิภาพในการจัดทำรายงานทางการเงิน: กรณีศึกษานักบัญชีในกรมสรรพสามิต. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาบัญชีมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบัญชี. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.). (2564). รายงานสถานการณ์ SME. เรียกใช้เมื่อ 23 กันยายน 2564 จาก https://www.sme.go.th/upload/ mod_download/download-20210825103143.pdf

สิริพรรณ์ โกมลรัตน์มงคล และพิเชษฐ์ โสภาพงษ์. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพรายงานทางการเงินของรัฐวิสาหกิจในประเทศไทย. วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน, 26(2), 46 -60.

อาคีรา ราชเวียง. (2560). อนาคตผู้ประกอบการในยุค 4.0. วารสารวิจัยและพัฒนาวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 12(2), 79-88.

Taro Yamane. (1973). Statistics : An Introductory Analysis. (3 ed.). New York: Harper and Row Publications.