ความคิดเห็นของบุคลากรที่มีต่อภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ ของผู้บังคับบัญชาเทศบาลในเขตภาคกลางของประเทศไทย

Main Article Content

วัชระ ณรงค์ฤทธิเดช
ชมสุภัค ครุฑกะ
ดวงเดือน จันทร์เจริญ
กันยา สรรพกิจโกศล
ผาณิต ถิรวงศ์ชัยพันธุ์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความคิดเห็นของบุคลากรที่มีต่อภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บังคับบัญชาเทศบาลในเขตภาคกลางของประเทศไทย และ 2) เปรียบเทียบความคิดเห็นของบุคลากรที่มีต่อภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บังคับบัญชาในเขตภาคกลางของประเทศไทยจำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงสำรวจ กรอบแนวคิดการวิจัยใช้แนวคิดของภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ ประชากร คือบุคลากรเทศบาลในเขตภาคกลางของประเทศไทย จำนวน 1,986 คน ใช้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 333 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามเกี่ยวกับความคิดเห็นของบุคลากรที่มีต่อภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บังคับบัญชาเทศบาลในเขตภาคกลางของประเทศไทย เป็นแบบประมาณค่า 5 ระดับ ที่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ มีค่า IOC อยู่ระหว่าง 0.60-1.00 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.94 เก็บรวบรวมข้อมูลแบบออนไลน์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ ร้อยละ การหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ผลการการวิจัย พบว่า: 1) บุคลากรเทศบาลมีความคิดเห็นเกี่ยวกับภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บังคับบัญชาเทศบาลในเขตภาคกลางของประเทศไทยในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( . = 3.65) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านความยืดหยุ่น ด้านจินตนาการ และด้านแรงจูงใจ อยู่ในระดับมาก ( .= 3.70, 3.69, 3.65 ตามลำดับ) ส่วนด้านวิสัยทัศน์อยู่ในระดับปานกลาง ( .= 3.46) และ 2) บุคลากรเทศบาลที่มีเพศ และระดับการศึกษาต่างกันมีภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ในภาพรวมไม่แตกต่างกัน ส่วนบุคลากรเทศบาลที่มีอายุต่างกันมีภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ในภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

How to Cite
ณรงค์ฤทธิเดช ว., ครุฑกะ ช. ., จันทร์เจริญ ด. ., สรรพกิจโกศล ก., & ถิรวงศ์ชัยพันธุ์ ผ. . (2022). ความคิดเห็นของบุคลากรที่มีต่อภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ ของผู้บังคับบัญชาเทศบาลในเขตภาคกลางของประเทศไทย. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 9(7), 232–244. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/262571
บท
บทความวิจัย

References

กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย. (2554). พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2549. กรุงเทพมหานคร: กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย.

กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. (2563). สรุปข้อมูล อปท. ทั่วประเทศ. เรียกใช้เมื่อ 1 มิถุนายน 25 จาก http://www.dla.go.th/work/abt/summarize.jsp

จักรกฤษณ์ โพดาพล. (2564). ภาวะผู้นําเชิงสร้างสรรค์: ผู้นําในยุค Disruptive. เรียกใช้เมื่อ 1 มิถุนายน 2565 จาก https://slc.mbu.ac.th/article/

ประคอง มาโต และปิยะ ตามพระหัตถ์. (2562). รูปแบบการปกครองกับการเมืองการปกครองของไทย. วารสารวิจยวิชาการ, 2(1). 171-182.

ประจักษ์ ปฏิทัศน์. (2559). การคิดเชิงระบบและความคิดสร้างสรรค์. กรุงเทพมหานคร: โอ. เอส. พริ้นติ้ง เฮ้าส์.

ปัณณธร เธียรชัยพฤกษ์. (2561). ทิศทางองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไทยในอนาคต. วารสาร มจร. พุทธปัญญาปริทรรศน์, 3(2), 184-196.

มนูญ พรมรักษา. (2554). พฤติกรรมภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาขนาดเล็ก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 1. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

อะห์มัด ยี่สุ่นทรง และรอซียะห์ ลาเต๊ะ. (2561). ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม จังหวัดปัตตานี. เรียกใช้เมื่อ 1 มิถุนายน 2565 จาก https://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/12271

Bass, B. M., & Avolio, B. J. (1994). Improving organizational effectiveness: Through transformationalleadership. New York: Sage.

Dess, G. & Miller, A. (1993). Strategic management. Singapore: McGraw-Hill.

Harris, A. (2009). Creative leadership: Developing future leaders. Management in Education British Educational Leadership. Management & Administration Society, 23(1), 9-11.

Mondy, R. W., & Mondy, J. B. (2014). Human Resource Management (13th ed.). Boston: MA: Prentice Hall.

Robbins, S. P., & Judge, T. A. (2011). Organizational behavior (14th ed.). New York: Peason.

Yamane, T. (1973). Statistics: An introductory analysis (3rd ed.). New York: Harper & Row.

Zacko-Smith, et al. (2010). Creative leadership: Welcome to the 21st century. Academic Exchange Quarterly, 14(4), 133-138.