ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ความสามารถของตนเองกับผลสัมฤทธิ์ในการเรียน รายวิชาปฏิบัติการพยาบาลผู้สูงอายุ: นักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิตชั้นปีที่ 2 วิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคาม

Main Article Content

พนิดา โยวะผุย
ณัฐวุฒิ สุริยะ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะศึกษา 1) การรับรู้ความสามารถของตนเองด้านการเรียนในรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลผู้สูงอายุ 2) ความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถของตนเองด้านการเรียนการสอนกับผลสัมฤทธิ์การเรียนในรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลผู้สูงอายุของ ประชากรที่ศึกษา ได้แก่ นักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิตชั้นปีที่ 2 วิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคาม จำนวน 110 คน เก็บรวบรวมข้อมูลเดือนมีนาคม – เมษายน พ.ศ. 2565 โดยใช้แบบวัดการรับรู้ความสามารถของตนเองด้านการเรียนและผลสัมฤทธิ์การเรียนในรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลผู้สูงอายุ และวิเคราะห์หาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า 1) นักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิตชั้นปีที่ 2 มีระดับการรับรู้ความสามารถของตนเองด้านการเรียน โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( = 3.06,S.D.=.29) 2) การรับรู้ความสามารถของตนเองด้านการเรียนไม่มีความสัมพันธ์กับผลการเรียนในรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลผู้สูงอายุของนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณทิตชั้นปีที่ 2 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.014) ดังนั้นการส่งเสริมการรับรู้ความสามารถตนเองในนักศึกษาพยาบาลจำเป็นต้องจัดกิจกรรมการเรียนที่หลากหลาย และอาจารย์ควรเน้นการสอนที่ส่งเสริมการรับรู้ ความสามารถตนเองของผู้เรียนให้สามารถวางแผนงาน สามารถแก้ปัญหาและการมีความพยายามในการแก้ปัญหาให้ประสบผลสำเร็จ หรือถ้าไม่ประสบผลสำเร็จก็สามารถคิดหาวิธีการในการต่อสู้ปัญหานั้นใหม่หรือมีแนวคิดที่ดีต่อการไม่ประสบผลสำเร็จ สร้างบรรยากาศการเรียนรู้ที่ดีเหมาะแก่การเรียนรู้ในแต่ละบุคคล เพื่อให้นักศึกษาพยาบาลเกิดการเรียนรู้และส่งผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ดีตามที่คาดหวัง

Article Details

How to Cite
โยวะผุย พ. ., & สุริยะ ณ. . (2022). ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ความสามารถของตนเองกับผลสัมฤทธิ์ในการเรียน รายวิชาปฏิบัติการพยาบาลผู้สูงอายุ: นักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิตชั้นปีที่ 2 วิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคาม. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 9(6), 76–88. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/262050
บท
บทความวิจัย

References

กาญจนา คำสมบัติ ทรงศักดิ์ สองสนิท และ ประวิทย์ สิมมาทัน. (2562). การส่งเสริมการรับรู้ความสามารถของตนเองกับกิจกรรมการเรียนการสอน Self-Efficacy Encouragement by Learning Activities:. วารสารวิจัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น (ฉบับบัณฑิตศึกษา) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 7(3), 69-78.

ทิวาพร ฟูเฟื่อง. (2562). ความพร้อมในการเรียนรู้ด้วยการนำตนเองของ นักศึกษาพยาบาลมหาวิทยาลัยปทุมธานี. วารสารสถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ, 5(2), 551-560.

ปภาพัศร์ วงษ์ประคอง ปิยะพงษ์ ไสยโสภณ และ จุฬารัตน์ วัฒนะ. (2564). การจัดกิจกรรม โดยใช้ แนวความ คิด การรับ รู้ความสามารถ ของตนเอง เพื่อเสริม สร้างความพร้อมในการเรียนรู้ด้วยการนำตนเอง. วารสารเกษมบัณฑิต, 22(1), 101-111.

พิริยากร คล้ายเพ็ชร. (2563). ผลสัมฤทธิ์และการรับรู้ความสามารถทักษะ ปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิกด้วย OSCE ของนักศึกษาพยาบาล. วารสารชุมชนวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา, 14(3), 144-154.

ไพรินทร์ สุคนธ์ตระกูล ปรานี ป้องเรือ และ ทัดทรวง ปุญญทลังค์. (2562). ความ สัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ของนักศึกษาพยาบาลในการเรียนรู้ด้วยตนเอง ความพร้อม ในการทำงานเป็นกลุ่ม และผลสัมฤทธิ์ในการเรียนวิชาการพยาบาล มารดา-ทารกและการผดุงครรภ์. รามาธิบดีพยาบาลสาร, 25(2), 195-207.

วรรณา มุ่งทวีเกียรติ. (2562). ความพร้อมในการเรียนรู้ด้วยการนำตนเองของนักศึกษา พยาบาล ชั้นปีที่ 1 สถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐและเอกชน. วารสารสถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ, 5(2), 538-550.

สมจิตรา เรืองศรี. (2560). การรับรู้ความสามารถทางวิชาการของตนเองของนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง. วารสารรัชต์ภาคย์, 11(23), 123-132.

อนันต์ ดุลยพีรดิส. (2547). ความสามารถในการฟันฝ่าอุปสรรคการรับรู้ความสามารถของตนด้านการเรียนและนิสัยในการเรียนของนิสิตนักศึกษาที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแตกต่างกัน. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต (จิตวิทยาการปรึกษา). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Bandura, A. (1986). A Social Foundation of thought and action.A Social Cognitive Theory. N.J: Prentice-Hall.

Bandura, A. (1997). Self-efficacy: The exercise of control. New York: W.H. Freeman.

Bandura, A. (1997). Social Learning Theory. New Jersy: Englewood Cliffs.

Butler, D. L. & Winne, P. H. (1995). Feedback and Self-Regulated Learning: A Theoretical Synthesis. Review of Educational Research, 65(3) :245-281.

Doménech-Betoret, F., Abellán-Roselló, L., & Gómez-Artiga, A. (2017). Self-efficacy, satisfaction, and academic achievement: the mediator role of Students' expectancy-value beliefs. Frontiers in psychology