องค์ความรู้ที่ส่งผลต่อความร่วมมือหรือความสำเร็จ ในกระบวนการไกล่เกลี่ย

Main Article Content

ณัฐกร ยกชูธนชัย
กรกฎ ทองขะโชค
ศันสนีย์ จันทร์อานุภาพ
ทวีศักดิ์ พุฒสุขขี
ธัชชนันท์ อิศรเดช

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหาองค์ความรู้ที่มีผลต่อความร่วมมือของคู่ความหรือเป็นปัจจัยที่ช่วยเพิ่มโอกาสแห่งความสำเร็จในการไกล่เกลี่ย ใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสาน โดยศึกษาจากเอกสารที่เกี่ยวข้องกับศาสตร์ของการจัดการความแย้ง การวิจัยเชิงปฏิบัติการโดยใช้การสังเกตุการณ์แบบมีส่วนร่วมการไกล่เกลี่ยในสถานการณ์จริง การตอบแบบสอบถามและการสัมภาษณ์เชิงลึก โดยใช้กลุ่มตัวอย่างที่เป็นคู่ความที่ผ่านกระบวนการไกล่เกลี่ยจนสำเร็จและผู้พิพากษาที่ทำหน้าที่ไกล่เกลี่ย ร่วมกับการสังเกตุการณ์แบบมีส่วนร่วม รวมจำนวนกลุ่มตัวอย่าง 60 คนและจำนวนคดีที่เข้าสังเกตการณ์ 8 คดี ทั้งนี้เพื่อวิเคราะห์หาข้อสรุป ใช้เครื่องมือที่เป็นแบบสัมภาษณ์เชิงลึก แบบสอบถามและแบบบันทึกการสังเกตุการณ์แบบมีส่วนร่วมเป็นเครื่องมือวิจัย ทั้งนี้เพื่อนำไปพัฒนาเป็นคู่มือให้ความรู้แก่คู่ความ ส่งเสริมการไกล่เกลี่ยในศาลยุติธรรม ไม่ให้ผูกติดความสำเร็จของการไกล่เกลี่ยไว้ที่เทคนิคหรือความสามารถเฉพาะตัวของผู้ไกล่เกลี่ยเพียงอย่างเดียว อันเป็นการพัฒนาที่มีลักษณะของความยั่งยืน ผลการวิจัยพบว่า องค์ความรู้ที่เมื่อคู่ความได้รับจากผู้ไกล่เกลี่ยแล้วผลต่อการให้ความร่วมมือหรือเป็นปัจจัยต่อความสำเร็จในการไกล่เกลี่ยนั้น แบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือระดับที่ 1 องค์ความรู้เกี่ยวกับผลกระทบจากกระบวนยุติธรรมกระแสหลักเปรียบเทียบกับกระบวนการยุติธรรมทางเลือก ซึ่งประกอบไปด้วย 6 ประการย่อย ระดับที่ 2 องค์ความรู้เรื่องบทวิเคราะห์ปัจจัยที่มาของความขัดแย้งในคดีความของตนระดับที่ 3 องค์ความรู้เรื่องแนวทางยุติความขัดแย้งที่จะตอบสนองความต้องการที่แท้จริงของทุกฝ่ายได้อย่างยั่งยืน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

คมวัชร เอี้ยงอ่อง.(2558) ศิลปะในการไกล่เกลี่ย (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร: ธนาเพลส

จำนง อดิวัฒนสิทธิ์. (2548). สังคมวิทยาตามแนวพุทธศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร :มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ชลธร มีวงศ์อุโฆษ. (2556). การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในชั้นบังคับคดี. กรุงเทพมหานคร : กรมบังคับคดี.

ภาณุ รังสีสหัส. 2548). การไกล่เกลี่ยหรือประนอมข้อพิพาท ดุลพาห (เล่มที่2). กรุงเทพมหานคร : สำนักงานศาลยุติธรรม

นงพงา ลิ้มสุวรรณ และนิดา ลิ้มสุวรรณ. (2556). ซาเทียร์จิตบำบัดและการพัฒนาตนเอง. กรุงเทพมหานคร : โรงพยาบาลรามาธิบดี.

ผู้พิพากษา ก., (2564). องค์ความรู้ที่ส่งผลต่อความร่วมมือหรือความสำเร็จในกระบวนการไกล่เกลี่ย. (ณัฐกร ยกชูธนชัย, ผู้สัมภาษณ์)

ผู้พิพากษา ข., (2564). องค์ความรู้ที่ส่งผลต่อความร่วมมือหรือความสำเร็จในกระบวนการไกล่เกลี่ย. (ณัฐกร ยกชูธนชัย, ผู้สัมภาษณ์)

ผู้พิพากษา ค., (2564). องค์ความรู้ที่ส่งผลต่อความร่วมมือหรือความสำเร็จในกระบวนการไกล่เกลี่ย. (ณัฐกร ยกชูธนชัย, ผู้สัมภาษณ์)

ผู้พิพากษา ง., (2564). องค์ความรู้ที่ส่งผลต่อความร่วมมือหรือความสำเร็จในกระบวนการไกล่เกลี่ย. (ณัฐกร ยกชูธนชัย, ผู้สัมภาษณ์)

นักธุรกิจ A, (2564). องค์ความรู้ที่ส่งผลต่อความร่วมมือหรือความสำเร็จในกระบวนการไกล่เกลี่ย. (ณัฐกร ยกชูธนชัย, ผู้สัมภาษณ์)

นาย B, (2564). องค์ความรู้ที่ส่งผลต่อความร่วมมือหรือความสำเร็จในกระบวนการไกล่เกลี่ย. (ณัฐกร ยกชูธนชัย, ผู้สัมภาษณ์)

พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส (นิธิบุณยากร). (2554). พุทธสันติวิธี: การบูรณาการหลักการและเครื่องมือจัดการความขัดแย้ง. กรุงเทพมหานคร : 21 เซ็นจูรี่.

มนสิการ ดิษเณร วัชชวัลคุ. (2556). กลยุทธ์การสื่อสารที่นำไปใช้ในการเจรจาไกล่เกลี่ยข้อพิพาท เพื่อนำไปสู่ผลสำเร็จ. เอกสารวิชาการหลักสูตรผู้บริหารกระบวนการยุติธรรมระดับสูง รุ่นที่ 17 วิทยาลัยการยุติธรรม. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานศาลยุติธรรม.

สำนักงานศาลยุติธรรม.(2564).รายงานสถิติคดี.เรียกใช้เมื่อ 6 ธันวาคม 2564 จากhttps://oppb.coj.go.th/th/content/category/articles/id/8/cid/2085

วิเชียร วิทยอุดม. (2549). การบริหารทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพมหานคร : ธีระฟิล์มและไซเท็กซ์.

วันชัย วัฒนศัพท์. (2550). ความขัดแย้ง หลักการและเครื่องมือแก้ปัญหา. (พิมพ์ครั้งที่ 2). นนทบุรี : สถาบันพระปกเกล้า.

วิชัย โถสุวรรณจินดา.(2549).การบริหารทรัพยากรมนุษย์ (พิมพ์ครั้งที่ 4).กรุงเทพมหานคร : โพร-เพร.

Quek, D. (2009). Mandatory mediation: An oxymoron-examining the feasibility of implementing a court-mandated mediation program. Cardozo J. Conflict Resol.