การปกครองในระบอบประชาธิปไตยภายใต้หลักนิติธรรม

Main Article Content

โกเมศ ขวัญเมือง
พระครูธรรมธรสฐาพร ปภสฺสโร
พระครูวินัยธรสุริยา สุริโย

บทคัดย่อ

บทความฉบับนี้เป็นการนำเสนอเรื่องการปกครองในระบอบประชาธิปไตยภายใต้หลักนิติธรรมการปกครองระบอบประชาธิปไตยเป็นหลักการว่าด้วยประชาชนทุกคนในรัฐเป็นเจ้าของรัฐเท่าเทียมกัน ย่อมมีสิทธิที่แสดงความคิดเห็น สามารถวิพากษ์วิจารณ์การทำงานของรัฐบาล หรือการตัดสินใจเพื่อผลประโยชน์ของส่วนรวม โดยเน้นความสำคัญของปัจเจกบุคคลที่เป็นผู้สร้างสังคม สร้างสถาบันทางสังคม รวมกันเข้าเป็นรัฐเป็นประเทศ ซึ่งปัจเจกบุคคลจึงควรได้รับการส่งเสริมให้มีสิทธิเสรีภาพ ความเสมอภาคทั้งทางสังคม การเมือง การศึกษา เศรษฐกิจ มีคุณภาพชีวิต วิถีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี การปกครองในระบอบประชาธิปไตยภายใต้หลักนิติธรรมนั้น เป็นหลักการ แบบแผน ระเบียบ ข้อบังคับที่อยู่บนพื้นฐานของความเป็นธรรม เป็นหลักพื้นฐานแห่งกฎหมายที่เป็นปัจจัยย่อยอันส่งผลต่อการสนับสนุนและการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ของประเทศชาติเป็นกฎระเบียบที่เป็นบรรทัดฐาน ที่ครอบคลุมการบังคับใช้กฎหมายที่เป็นธรรมและเน้นการมีส่วนร่วมของประชาชนภายใต้ความเสมอภาคและเท่าเทียมกัน ดังนั้น การสร้างสังคมแห่งหลักนิติธรรมที่ยั่งยืนและเป็นจริงต้องเริ่มจากการสร้าง “วัฒนธรรมการรักษากติกา” ทำให้สังคมมีวัฒนธรรมแห่งการรักษากติกา โดยตระหนักถึงความสำคัญของ “กติกา” และการมีส่วนร่วมเพื่อให้กติกามีความยุติธรรม ด้วยเหตุนี้ การปลูกฝังวัฒนธรรมแห่งการรักษากติกาเป็นจุดเริ่มต้นและเป็นรากฐานที่สำคัญของการสร้างสังคมนิติธรรมหรือสังคมที่มีกฎหมายเป็นใหญ่ ดังนั้น “หลักนิติธรรม” เป็นหนึ่งในแกนหลักที่จะช่วยแก้ปัญหาต่าง ๆ ในสังคม โดยอาศัยพลังจากทุกภาคส่วนเข้ามาช่วยผลักดันให้หลักนิติธรรมกลายเป็นปัจจัยพื้นฐานของการพัฒนาสังคมในทุกมิติ

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

เชาวนะ ไตรมาศ. (2546). รัฐธรรมนูญกับการออกแบบการเมืองใหม่. กรุงเทพมหานคร: บริษัท พี. เพรส จำกัด.

ขัตติยา กรรณสูต. (2539). สะท้อนวัฒนธรรมไทย. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์พัฒนาหนังสือ กรมวิชาการ.

คณะอนุกรรมการวิชาการและคณะอนุกรรมการบรรณาธิการในคณะกรรมการว่าด้วยการส่งเสริม หลักนิติธรรมแห่งชาติ. (2558). หลักนิติธรรม (The Rule of Law). ความหมาย สาระสำคัญและผลของการฝ่าฝืนหลักนิติธรรม. กรุงเทพมหานคร: บริษัทพีเอสพริ้นติ้งดีไซน์ จำกัด.

จรัญ ภักดีธนากุล. (2556). หลักนิติธรรมในบริบทของศาลรัฐธรรมนูญ. กรุงเทพมหานคร: คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ดาวน้อย สุทธินิภาพันธ์. (2560). หลักนิติธรรมกับการมีส่วนร่วมในสังคมไทย. กรุงเทพมหานคร: หลักสูตรหลักนิติธรรมเพื่อประชาธิปไตย รุ่นที่ 5 วิทยาลัยศาลรัฐธรรมนูญ สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ.

ถวิลวดี บุรีกุล. (2546). หลักการเพื่อการบริหารรัฐกิจแนวใหม่. กรุงเทพมหานคร: สถาบันพระปกเกล้า.

ทศพล ทรรศนกุลพันธ์. (2555). ทําไมคนไทยไม่เครพกฎหมาย. วารสารนิติสังคมศาสตร์, 5(1), 40-63.

ธานี ชัยวัฒน์. (2565). วัฒนธรรมแห่งการเคารพกติกา. เรียกใช้เมื่อ 14 มกราคม 2565 จาก https://www.bangkokbiznews.com/advertorials/news/884.

ปราณพงษ์ ติลภัทร. (2557). ประเพณีการปกครองประเทศไทยในระบอบประชาธิปไตย : ข้อพิจารณาเบื้องต้น. รัฐสภาสาร, 62(8), 11-37.

พีระศักดิ์ พอจิต. (2559). ประชาธิปไตยกับสังคมไทย. กรุงเทพมหานคร: หลักสูตรหลักนิติธรรมเพื่อประชาธิปไตย รุ่นที่ 4 วิทยาลัยรัฐธรรมนูญ สํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ.

ยงยุทธ คุ้มญาติ. (2565). หลักธรรมาภิบาลในการทำงาน. เรียกใช้เมื่อ 14 มกราคม 2565 จาก https://www.govesite.com/praluang/content.php?cid=20170704112821X994KHr.

ราชกิจจานุเบกษา. (2555). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพมหานคร: สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ.

วรพจน์ วิศรุตพิชญ์. (2538). ศาลปกครองกับหลักการแบ่งแยกอำนาจ. วารสารกฎหมายปกครอง, 24(3), 569-582.

สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย. (2559). โครงการศึกษาวิจัยกรอบแนวคิดและกรอบยุทธศาสตร์ในการพัฒนาดัชนีชี้วัดด้านหลักนิติธรรม/นิติรัฐ. กรุงเทพมหานคร: สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย.

สำนักวิชาการ. (2565). วัฒนธรรมทางการเมืองแบบประชาธิปไตย. เรียกใช้เมื่อ 14 มกราคม 2565 จาก http://www. parliament.go.th/library.

สิทธิพร ประวัติรุ่งเรือง. (2559). หลักนิติธรรมกับสังคมไทย. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยธนบุรี, 10(21), 118-125.

สุรพล ศรีวิทยา. (2558). การปฏิรูปประชาธิปไตยไทยภายใต้กรอบร่างรัฐธรรมนูญฉบับธรรมาธิปไตย. วารสารจุลนิติ, 12(6), 73-94.

สุรศักดิ์ ตรีรัตน์ตระกูล. (2559). การปกครองระบอบประชาธิปไตยเดินคู่ไปกับหลักนิติธรรม. กรุงเทพมหานคร: หลักสูตรหลักนิติธรรมเพื่อประชาธิปไตย รุ่นที่ 4 วิทยาลัยรัฐธรรมนูญ สํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ.

อมรา พงศาพิชญ์และปรีชา คุวินทร์พันธุ์. (2543). ระบบอุปถัมภ์. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อารีรัตน์ เลาหพล. (2559). ประชาธิปไตย. กรุงเทพมหานคร: หลักสูตรหลักนิติธรรมเพื่อประชาธิปไตย รุ่นที่ 4 วิทยาลัยรัฐธรรมนูญ สํานักงานศาลรัฐธรรมนูญ.

อุกฤษ มงคลนาวิน. (2555). หลักนิติธรรมกับสภาพของสังคมประเทศไทย. วารสารจุลนิติ, 9(1), 1-14.

Bingham, Tom. (2011). The Rule of Law. (2nd ed.). London: Penguin Books.

Cough, J.W. (1955). Fundamental Law in English Constitutional History. London: Oxford University Press.