การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค การแข่งขันเป็นทีมแบบออนไลน์ เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และทักษะการทำงานเป็นทีม

Main Article Content

รัฐพร กลิ่นมาลี

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาประสิทธิภาพการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิคการแข่งขันเป็นทีมแบบออนไลน์ เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการทำงานเป็นทีม 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนและหลังเรียนโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิคการแข่งขันเป็นทีมแบบออนไลน์ และ3) วิเคราะห์ทักษะการทำงานเป็นทีม หลังเรียนโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิคการแข่งขันเป็นทีมแบบออนไลน์ รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช โดยคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบเจาะจง จำนวน 2 ห้องเรียน ทั้งหมด 44 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) แบบสังเกตทักษะการทำงานเป็นทีมของผู้เรียนโดยผู้สอนเป็นผู้ประเมิน และ4) แบบประเมินทักษะการทำงานเป็นทีมของผู้เรียนโดยผู้เรียนเป็นผู้ประเมินตนเอง สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า 1) กิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิคการแข่งขันเป็นทีมแบบออนไลน์ เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการทำงานเป็นทีม มีประสิทธิภาพเท่ากับ 82.15/86.90 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 80/80 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิคการแข่งขันเป็นทีมแบบออนไลน์ สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ3) ผู้สอนประเมินทักษะการทำงานเป็นทีมของผู้เรียนในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และผู้เรียนประเมินทักษะการทำงานเป็นทีมของผู้เรียนเองในภาพรวมอยู่ในระดับมาก

Article Details

How to Cite
กลิ่นมาลี ร. . (2022). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค การแข่งขันเป็นทีมแบบออนไลน์ เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และทักษะการทำงานเป็นทีม. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 9(5), 400–414. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/261274
บท
บทความวิจัย

References

เกริกเกียรติ นรินทร์ และเหมมิญช์ ธนปัทท์มีมณี. (2564). การพัฒนาการเรียนการสอนแบบผสมผสานด้วยเทคนิคเรียนรู้แบบร่วมมือ TGT เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณและการทำงานเป็นทีม วิชาเทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วารสารเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 4(12), 107-118.

คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช. (2562). หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ (4ปี) (หลักสูตรปรับปรุง 2562). นครศรีธรรมราช: คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช.

ทิวัตถ์ ภูจำนงค์ และคณะ. (2563). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาประวัติศาสตร์ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้วิธี TGT กับวิธีการสอนแบบปกติ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. วารสารวิจัยธรรมศึกษา, 3(2), 13-20.

ทิศนา แขมมณี. (2552). ศาสตร์การสอน (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพมหานคร: ด่านสุทธาการพิมพ์.

ธนาภรณ์ บุญเลิศ. (2561). การส่งเสริมพฤติกรรมการทำงานเป็นทีม โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค TGT ร่วมกับเว็บสนับสนุน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนยางตลาดวิทยาคาร. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

มนต์ชัย เทียนทอง. (2556). นวัตกรรมการเรียนการสอนด้วยคอมพิวเตอร์. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์ผลิตตำราเรียนมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

วัชรา เล่าเรียนดี. (2554). รูปแบบและกลยุทธ์การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิด. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สกุลรัตน์ จงสมชัย. (2561). การพัฒนาบทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต รหัสวิชา ง31247 เรื่องการเขียนโปรแกรมภาษาซีเบื้องต้น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้เทคนิคการสอนแบบ TGT. วารสารเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 1(3), 79-91.

สุนัน หิรัตพรม. (2561). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้เทเบิลเทนนิสตามแนวการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ เทคนิค TGT ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด, 12(2), 96-109.

อนุชิต แซ่โค้ว และคณะ. (2565). การพัฒนาอีเลิร์นนิง เรื่อง ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศ ร่วมกับการเรียนรู้มีส่วนร่วมแบบออนไลน์ เพื่อเสริมสร้างทักษะการทำงานเป็นทีม. วารสารนาคบุตรปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช, 14(1), 184-193.

Bean, J. C. . (1996). Engaging Ideas: The Profession’s Guide to investigating writing, Critical thinking, and active learning in classroom. San Francisco: Jossey-Bass.

Johnson, D.W. et al. (1994). The Nuts Bolts of Cooperative Learning. Minnesota: Interaction Book Company.

Likert, Rensis. (1976). “The Method of Constructing and Attitude Scale”. In Reading in Fishbeic, M (Ed.), Attitude Theory and Measurement (pp. 90-95). New York: Wiley & Son.