สมรรถนะการเรียนรู้ตลอดชีวิตในภาวะพลิกผันสำหรับครู โรงเรียนมัธยมศึกษาในภาคใต้

Main Article Content

พงศ์รัตน์ ธรรมชาติ
ชวลิต เกิดทิพย์
วรลักษณ์ ชูกำเนิด

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบการเรียนรู้ตลอดชีวิต และสร้างสมรรถนะ การเรียนรู้ตลอดชีวิตในภาวะพลิกผันสำหรับครูโรงเรียนมัธยมศึกษาในภาคใต้ โดยวิธีวิจัยแบบผสมวิธี เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามเชิงยืนยันองค์ประกอบการเรียนรู้ตลอดชีวิตในภาวะพลิกผันสำหรับครู แบบตรวจสอบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ตามแบบลิเคิร์ท (Likert rating scale) มีความเชื่อมั่นเท่ากับ .973 กลุ่มตัวอย่างเป็นครูในโรงเรียนมัธยมศึกษา กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามแนวคิดของ Hair และคณะ อัตราส่วนตัวแปรต่อขนาดกลุ่มตัวอย่าง 1:20 จำนวน 960 คน ด้วยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) ผู้วิจัยทำการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน พบว่าองค์ประกอบการเรียนรู้ตลอดชีวิตมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (χ2=7.30, df=4, p=0.12075, CFI=1.00, GFI=0.997, AGFI=0.989, RMR=0.0373, RMSEA=0.029) ผลการวิจัยพบว่าองค์ประกอบการเรียนรู้ตลอดชีวิต ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) การพัฒนาตนเพื่อการเปลี่ยนแปลง 2) ยืนหยัดท่ามกลางความพลิกผัน 3) กรอบความคิด 4) ใช้เทคโนโลยีเพื่อประโยชน์การพัฒนาวิชาชีพ และ 5) รู้เท่าทันเทคโนโลยีในภาวะพลิกผัน การสร้างสมรรถนะการเรียนรู้ตลอดชีวิตในภาวะพลิกผันสำหรับครู ผู้วิจัยได้ทำการยืนยันสมรรถนะการเรียนรู้ตลอดชีวิตในภาวะพลิกผันสำหรับครู ด้วยการประชุมอภิปรายแบบพหุลักษณะเพื่อหาฉันทามติ ด้วยเทคนิค MACR โดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน ลักษณะการประเมินเป็นระบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating system) 5 ระดับ ตั้งแต่ 0-100 คะแนน เพื่อคำนวณค่าเฉลี่ยนและค่าพิสัย การวิจัยพบว่าสมรรถนะการเรียนรู้ตลอดชีวิต ประกอบด้วย 8 สมรรถนะ ได้แก่ 1) วางแผนกลยุทธ์ 2) ความเป็นพลวัตร 3) กรอบความคิดเติบโต 4) เรียนรู้กับเทคโนโลยี 5) พัฒนาตนเอง 6) นวัตกรรม 7) การพัฒนาการจัดการเรียนรู้ และ 8) ทักษะชีวิต

Article Details

How to Cite
ธรรมชาติ พ. ., เกิดทิพย์ ช. ., & ชูกำเนิด ว. . (2022). สมรรถนะการเรียนรู้ตลอดชีวิตในภาวะพลิกผันสำหรับครู โรงเรียนมัธยมศึกษาในภาคใต้. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 9(5), 285–299. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/261265
บท
บทความวิจัย

References

กนิน แลวงค์นิล. (2561). การพัฒนากรอบแนวคิดสมรรถนะของครูใหม่สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา, 13(1), 400-409.

จักรี เตจ๊ะวารี. (2564). การศึกษาไทย: จุดเน้นเพื่อรับมือกับความท้าทาย. เรียกใช้เมื่อ 24 พฤศจิกายน 2564 จาก https://www.bangkokbiznews.com/columnist /973744

จุฑารัตน์ จันทร์ประคอง และคณะ. (2564). องค์ประกอบการเรียนรู้ตลอดชีวิตของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยรามคำแหง. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 8(11), 244-258.

ชูกิจ ลิมปิจำนงค์. (2564). ครูยุคใหม่สู่การจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะ สิ่งจำเป็นที่ต้องมี. เรียกใช้เมื่อ 15 มิถุนายน 2564 จาก https://www.ipst.ac.th/ news/12598/teacher_ipst.html

นเรศ ปู่บุตรชา. (2561). สมรรถนะครูกับคุณภาพผู้เรียนในศตวรรษที่ 2.1. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏรอยเอ็ด, 12(2), 255-267.

บุญช่วย ศิริเกษ. (2560). การศึกษาวัฒนธรรมองค์การแบบสร้างสรรค์กับการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ในมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีล้านช้าง. วารสาร สมาคมนักวิจัย, 22(2), 65-80.

ศิริชัย กาญจนวาสี. (2546). ทฤษฎีการประเมิน. กรุงเทพมหานคร: เท็กซ์ แอนด์เจอร์นัล พับลิเคชั่น.

สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา. (2562). กรอบสมรรถนะครูเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ซี-ทีซีเอฟ). กรุงเทพมหานคร: บริษัทออนป้า จำกัด.

Acar, I. H. & Ucus, S. (2017). The Characteristics of Elementary School Teachers’ Lifelong-Learning Competencies : A Convergent Mixed- Methods Study. EDUCATIONAL SCIENCES: THEORY & PRACTICE, 17(6), 1833–1852.

Almenara, J. C. & Osuna, J. B. (2018). Los escenarios tecnológicos en Realidad Aumentada (RA): Posibilidades educativas. Aula Abierta, 47(3), 327-336.

Aykac, M., KÖĞCE, D. & Korkut, P. (2020). A Thematic Analysis of Theses Made in the Field of Lifelong Learning with Pre-Service Teachers (2009-2020). Journal of Educational Sciences ResearchInternational E-Journal, 10(2), 1-20.

Boomtham, T. (2017). Leadership in Digital Economy Era and Sustainable Developmentof Educational Organizations. Technical Education Journal King Mongkut’s University of Technology North Bangkok, 7(1), 218-223.

Demirel, M. & Akkoyunlu, B. (2017). Prospective teachers’ lifelong learning tendencies and information literacy self-efficacy. Educational Research and Reviews, 12(6), 329-337.

Doerr, J. (2018). Measure What Matters. New York: Penguin Random House.

Hair, J. et al. (2010). Multivariate Data Analysis (7th ed.). New Jersey: Pearson Prentice Hall.

Kahirol, M. S. et al. (2014). Competency of adult learners in learning : Application of the Iceberg Competency Model. Social and Behavioral Science, 204(2015), 326-334.

Likert R. (1967). The Human Organization: Its Management and Value. New York: McGraw-Hill.

Manarangsan, S. (2019). Thais Prepare for 6Super Disruption. Retrieved January 25, 2019, from http://www.cp-enews.com/news/details/cptalk/2898.

UNESCO. (2019). Artificial Intelligence (AI) in Education: Challenges and Opportunities For Sustainable Development. Retrieved August 6, 2021, from https://en.unesco.org/artificial intelligence/education.