อิทธิพลของสื่อออนไลน์ และปัจจัยทางการตลาด ต่อความตั้งใจซื้อเนื้อจากพืช ของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

พลอยไพลิน โพธิ์ย้อย
ศรัณย์ธร ศศิธนากรแก้ว
วราพรรณ อภิศุภะโชค

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบความตั้งใจซื้อเนื้อจากพืชของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานครจำแนกตามลักษณะส่วนบุคคล 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดรับสื่อออนไลน์ การรับรู้ประโยชน์ กลุ่มอ้างอิง ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดกับความตั้งใจซื้อเนื้อจากพืชของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร 3) เพื่อศึกษาอิทธิพลของการเปิดรับสื่อออนไลน์ การรับรู้ประโยชน์ กลุ่มอ้างอิง และปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด ต่อความตั้งใจซื้อเนื้อจากพืชของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปริมาณ ซึ่งประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ ผู้ที่บริโภคเนื้อจากพืช อายุ 20 ปีขึ้นไป อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูล จำนวน 400 ชุด ใช้วิธีจากการสุ่มตัวอย่างตามสะดวก เพื่อทำการวิเคราะห์ข้อมูลสถิติเชิงพรรณนาหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานการวิจัยด้วยการวิเคราะห์สถิติเชิงอนุมาน โดยใช้ T-test การวิเคราะห์ค่าความแปรปรวนทางเดียว การวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ และการวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุ ผลการวิจัยพบว่า 1) ลักษณะทางประชากรด้าน เพศ อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพที่แตกต่างกันมีความตั้งใจซื้อเนื้อจากพืชแตกต่างกัน 2) การเปิดรับสื่อออนไลน์มีความสัมพันธ์เชิงบวก (r=0.454) กับความตั้งใจซื้อเนื้อจากพืช 3) การรับรู้ประโยชน์มีความสัมพันธ์เชิงบวก (r=0.414) กับความตั้งใจซื้อเนื้อจากพืช 4) กลุ่มอ้างอิงมีความสัมพันธ์เชิงบวก (r=0.621) กับความตั้งใจซื้อเนื้อจากพืช 5) ปัจจัยด้านส่วนประสมทางการตลาดมีความสัมพันธ์เชิงบวก (r=0.580) กับความตั้งใจซื้อเนื้อจากพืช 6) กลุ่มอ้างอิง การรับรู้ประโยชน์ และปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด มีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อเนื้อจากพืชมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

Article Details

How to Cite
โพธิ์ย้อย พ. ., ศศิธนากรแก้ว ศ. ., & อภิศุภะโชค ว. . (2022). อิทธิพลของสื่อออนไลน์ และปัจจัยทางการตลาด ต่อความตั้งใจซื้อเนื้อจากพืช ของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 9(5), 146–160. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/261236
บท
บทความวิจัย

References

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2549). สถิติสำหรับงานวิจัย. กรุงเทพมหานตร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

จิตรลัดดา กิติศรีวรพันธุ์. (2563). Plant-Based Meat. เรียกใช้เมื่อ 8 สิงหาคม 2564 จาก https://www.fit-biz.com/plant-based-meat.html

ฉัตยาพร เสมอใจ. (2556). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพมหานคร: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

ทัตพงศ์ คิมหันตมาลย์. (2562). ปัจจัยด้านจิตวิทยาและแนวโน้มการซื้อผลิตภัณฑ์โปรตีนจากพืช กรณีศึกษาผู้บริโภคชาวไทยในกรุงเทพมหานคร. ใน วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการธุรกิจสากล. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ธันยพร กวีบริบูรณ์. (2561). ลักษณะทางประชากร แรงจูงใจของผู้บริโภค และพฤติกรรมการใช้บริการโคเวิร์คกิ้งสเปซในเขตกรุงเทพมหานคร. ใน วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตร์. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นัทชนิดา วัชรินทร์. (2562). รูปแบบการดำเนินชีวิต การเปิดรับสื่อ และพฤติกรรมการซื้อสินค้า ออนไลน์ของผู้บริโภคหญิงวัยทำงาน. ใน วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตร์. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปรมะ สตะเวทิน. (2539). การสื่อสารมวลชน : กระบวนการและทฤษฎี. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ระวิ แก้วสุกใส, และ ชัยรัตน์ จุสปาโล. (2556). เครือข่ายสังคมออนไลน์: กรณีเฟสบุ๊ค (Facebook) กับการพัฒนาผู้เรียน. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินร์, 5(4), 197-215.

วิเชียร เกตุสิงห์. (2537). คู่มือการวิจัย : การวิจัยเชิงปฏิบัติ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). นนทบุรี: ไทยวัฒนาพานิช.

วิรัช วงศ์ภินันท์วัฒนา และ ธนพล เอกพจน. (2564). กลวิธีทางภาษาในการโฆษณา อาหารเสริมสร้างกล้ามเนื้อสำหรับผู้ชาย. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 29(3), 104-128.

สดุดี บุนนาค. (2560). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. ใน วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Korchia, M. (2001). Brand Image and Brand Associations. In (Doctora of Economics and Management). ESSEC Business School.

Kotler, P. (1997). Marketing Management : Analysis, Planning, Implementation and Control (14 ed)Englewood Cliffs. N.J: Prentice-Hall.

Krungthai compass. (2563). ทำความรู้จัก Plant-based Food เมื่อเนื้อสัตว์จากพืชกลายเป็นเทรนด์ อาหารโลก. Retrieved สิงหาคม 6 , 2564, from https://krungthai.com/Download/economyresources/EconomyResourcesDownload_625Slide_Plant_Base_Food_24_11_63_1.pdf

Nalisa. (2564). Plant-based มาแรง! เนสท์เล่ ส่ง “Harvest Gourmet” บุกตลาดไทย เตรียมเห็นเมนูบนเชนร้านอาหารรายใหญ่ มี.ค. นี้. Retrieved สิงหาคม 6 , 2564, from https://marketeeronline.co/archives/210350

thai job. (2559). มาทานอาหารที่ดีกับสุขภาพตอนพักเที่ยงกันเถอะ. Retrieved มีนาคม 20, 2559, from https://www.thaijob.com/story/60

young happy. (2564). รู้จัก Meat Zero พืชที่อร่อยเหมือนเนื้อสัตว์ Plant-based Meat ทางเลือกใหม่ของการกินเพื่อสุขภาพ. Retrieved มีนาคม 20, 2564, from https://younghappy.com/blog/health/meat-zero