พฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของประชาชน ในอำเภอนบพิตำ จังหวัดนครศรีธรรมราช
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเลือกตั้งทั่วไปสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ปี 2562 ของประชาชนในอำเภอนบพิตำ จังหวัดนครศรีธรรมราช 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเลือกตั้งทั่วไปสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ปี 2562 3) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบพฤติกรรมการเลือกตั้งทั่วไปสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ปี 2562 ระหว่างผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งครั้งแรกกับผู้ที่เคยมีประสบการณ์เลือกตั้งมาก่อน โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ มีแบบสอบถามเป็นเครื่องมือวิจัย สำหรับประชากรวิจัย คือ ผู้มาใช้สิทธิออกเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2562 แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ ผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งครั้งแรก จำนวน 73 คน และผู้ที่เคยมีประสบการณ์เลือกตั้งมาก่อนจำนวน 376คน ข้อมูลที่ได้นำมาวิเคราะห์ โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และทดสอบค่าสหสัมพันธ์ ผลการวิจัยพบว่า 1) พฤติกรรมการเลือกตั้งทั่วไปสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ปี 2562 ในภาพรวมอยู่ในระดับไม่แน่ใจ ( =3.42) 2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเลือกตั้ง ได้แก่ ปัจจัยด้านการเมืองโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( =3.98) และปัจจัยด้านการรับรู้ข่าวสารโดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( =2.92) 3) ผลการเปรียบเทียบพฤติกรรมการเลือกตั้งของผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งครั้งแรกกับผู้ที่เคยมีประสบการณ์มาก่อน พบว่า กลุ่มผู้มีสิทธิเลือกตั้งต่างกัน มีพฤติกรรมการเลือกตั้งที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 หากจำแนกตามปัจจัยภูมิหลังทางเศรษฐกิจและสังคมพบว่า ปี พ.ศ. ที่เกิด, การศึกษา, อาชีพ ต่างกัน มีพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กระมล ทองธรรมชาติ และคณะ. (2541). รายงานการวิจัยเรื่องการก่อตั้งคณะกรรมการการเลือกตั้ง: การศึกษาเปรียบเทียบกรณีอินเดียและฟิลิปปินส์เพื่อเป็นแนวทางสำหรับไทย. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.
ชงคชาญ สุวรรณมณี. (2561). การเลือกตั้งครั้งแรก ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2560. เรียกใช้เมื่อ 1 สิงหาคม 2563 จาก https://www. parliament.go.th
นุชปภาดา ธนวโรดม. (2557). พฤติกรรมการเลือกตั้งของผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเทศบาลนครนครสวรรค์. ใน วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. นครสวรรค์.
ปิยะรัตน์ สนแจ้ง. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร : ศึกษากรณีประชาชนกรุงเทพมหานคร ปี พ.ศ. 2562. ใน สารนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเกริก.
พรศักดิ์ ผ่องแผ้ว. (2557). คณะกรรมการการเลือกตั้ง : รายงานการวิจัย / เสนอต่อมูลนิธิอาเซีย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง.
พสิษฐ์ ไชยวัฒน์ และสติธร ธนานิธิโชติ. (2561). คนรุ่นใหม่ประชาธิปไตยช่วงเปลี่ยนผ่าน.เรียกใช้เมื่อ 10 พฤศจิกายน 2562 จาก https://prachatai.com/journal
พิรุณธร เบญจพรรังสิกุล. (2554). ปัจจัยทางการตลาดทางการ เมืองกับพฤติกรรมการเลือกพรรค การเมืองของประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตกรุงเทพมหานคร. ใน สารนิพนธ์ธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
รักฏา บรรเทิงสุข. (2540). พฤติกรรมการเลือกตั้งของผู้มีสิทธิอายุ 18-19 ปี ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร วันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ.2538 : กรณีศึกษาอำเภอเมือง จังหวัด เชียงใหม่. เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
วฤตดา วรอาคม. (2557). 5 อินไซต์เจเนอเรชั่นซี. เรียกใช้เมื่อ 8 กรกฎาคม 2563. จาก https://www .bangkokbiznews.com /blog/detail/591770.
สุจิต บุญบงการ และพรศักดิ์ ผ่องแผ้ว. (2527). พฤติกรรมการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งของคนไทย. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง. (2559). การออกเสียงประชามติ. เรียกใช้เมื่อ 10 สิงหาคม 2563 จาก https://www.ect.go.th/ect_th/news_all.php?cid=16& filename=.
อัศว์ศิริ ลาปีอี. (2556). ภาพลักษณ์นักการเมืองกับพฤติกรรมการเลือกตั้งของประชาชนในระดับท้องถิ่น ศึกษากรณีการเลือกตั้งนายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองควนลัง จังหวัดสงขลา. วารสารวิทยบริการ. 24(1), 187-199.