ความคิดเห็นของประชาชนต่อการพัฒนาชุมชน ของเทศบาลนครนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความคิดเห็นของประชาชนต่อการพัฒนาชุมชนของเทศบาลนครนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช และ 2) เปรียบเทียบระดับการความคิดเห็นของประชาชนต่อการพัฒนาชุมชนของเทศบาลนครนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช จำแนกตาม เพศ อายุ สถานภาพ ระดับการศึกษา และอาชีพ เป็นวิจัยเชิงปริมาณเครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ที่มีทะเบียนบ้านอยู่ในเขตเทศบาลนครนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช ทั้งหมดจำนวน 400 คน โดยวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐาน t-test และ F– test สรุปภาพรวมรูปแบบตารางประกอบความเรียง ผลการวิจัยพบว่า 1. ระดับความคิดเห็นของประชาชนต่อการพัฒนาชุมชนของเทศบาลนครนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 3.58, S.D.= 0.16) ประกอบด้วย 1.1) ด้านโครงสร้างพื้นฐาน อยู่ในระดับมาก ( = 3.73, S.D. = 0.37) 1.2) ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อยู่ในระดับมาก ( = 3.65, S.D. = 0.36) 1.3) ด้านการส่งเสริมสุขภาพอนามัย คุณภาพชีวิต อยู่ในระดับมาก ( = 3.59, S.D. = 0.34) 1.4) ด้านการบริหารจัดการภายใต้หลักธรรมมาภิบาล อยู่ในระดับมาก ( = 3.57, S.D. = 0.40) 1.5) ด้านการท่องเที่ยวและการกีฬา อยู่ในระดับมาก ( = 3.52, S.D. = 0.40) และ1.6) ด้านการศึกษา ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม จารีตประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่น อยู่ในระดับปานกลาง( = 3.44, S.D. = 0.37) และ 2. เปรียบเทียบระดับการความคิดเห็นของประชาชนต่อการพัฒนาชุมชนของเทศบาลนครนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช ภาพรวมไม่แตกต่างกัน รายด้าน พบว่า เพศ สถานภาพ และอาชีพ มีความแตกต่างกันในด้านทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม และโครงสร้างพื้นฐาน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
โกวิทย์ พวงงาม. (2553). การจัดการตนเองของชุมชนและท้องถิ่น. กรุงเทพมหานคร: บพิธการพิมพ์.
ฑิตยา สุวรรณชฎ. (2553). สังคมวิทยา. กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนาพานิช.
ณรัชช์อร ศรีทอง. (2554). กระบวนการสร้างชุมชนที่เข้มแข็งพึ่งตนเองได้อย่างยั่งยืน พิมพ์ครั้งที่ 1 . กรุงเทพมหานคร: โอเดียนสโตร์.
เทศบาลนครนครศรีธรรมราช. (2564). แผนพัฒนาท้องถิ่นสี่ปี (พ.ศ.2561-2564) เพิ่มเติม ฉบับที่ 9 เทศบาลนครนครศรีธรรมราช. นครศรีธรรมราช: กองวิชาการและแผนงาน เทศบาลนครนครศรีธรรมราช.
นิกร จุมปา. (2553). ความคิดเห็นของประชาชนในตำบลดงเจนต่อการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลดงเจน อำเภอภูกามยาว จังหวัดเชียงราย. ใน วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ . มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.
นิภาพร รัตนปริยานุช. (2556). ความต้องการในการพัฒนาชุมชนของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลเสม็ด อำเภอเมืองชลบุรี. ใน วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารทั่วไป. มหาวิทยาลัยบูรพา.
บุญชม ศรีสะอาด. (2556). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย เล่ม 1. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาการพิมพ์.
สัญญา สัญญาวิวัฒน์. (2550). ทฤษฎีและกลยุทธ์การพัฒนาสังคม. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักบริหารทะเบียน กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย. (2564). สถิติจำนวนประชากร. เรียกใช้เมื่อ 9 มีนาคม 2564 จาก https://stat.bora.dopa.go.th/ stat/statnew/ statMenu/newStat/sumyear.php
อภิญญา ตันตระกูล. (2554). ความคิดเห็นของประชาชนต่อการพัฒนาเมืองเก่า จังหวัดน่าน. ใน สำนักวิทยบริการ. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.
Chales A. Heidenrich. (1970). Personality and Social Adjustment. New York: Heidenreich House.
Cronbach, L. J. (1990). Essentials of psychological testing (5th ed.). New York:: Harper Collins. Publishers.
Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3). 607-610.
Likert, Rensis. (1976). “The Method of Constructing and Attitude Scale”. In Reading in Fishbeic, M (Ed.), Attitude Theory and Measurement (pp. 90-95). New York: Wiley & Son.