การวิเคราะห์อภิมาน : อิทธิพลของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ต่อผลการปฏิบัติงาน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสังเคราะห์งานวิจัยที่เป็นงานวิจัยของหน่วยงาน รวมทั้งดุษฎีนิพนธ์ วิทยานิพนธ์และสารนิพนธ์ ที่ศึกษาเกี่ยวกับอิทธิพลของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงต่อผลการปฏิบัติงาน ด้วยวิธีวิเคราะห์อภิมาน วัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพงานวิจัยที่เกี่ยวกับอิทธิพลของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงต่อผลการปฏิบัติงาน 2) วิเคราะห์ขนาดอิทธิพลของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงต่อผลการปฏิบัติงาน 3) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อขนาดอิทธิพลของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงต่อผลการปฏิบัติงาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ คือ งานวิจัยที่เป็นดุษฎีนิพนธ์ วิทยานิพนธ์และสารนิพนธ์ เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบบันทึกลักษณะงานวิจัยระดับเล่มและระดับชุดทดสอบสมมติฐาน และแบบประเมินคุณภาพงานวิจัย การวิเคราะห์ใช้สถิติบรรยาย และการวิเคราะห์พหุระดับด้วยโมเดลเชิงเส้นตรงระดับลดหลั่น ผลการวิจัยพบว่า (1) งานวิจัยที่นำมาศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพงานวิจัยที่เกี่ยวกับอิทธิพลของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงต่อผลการปฏิบัติงาน จากผลการวิเคราะห์พบว่าตัวแปรส่งผ่านจากภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงต่อผลการปฏิบัติงาน มีทั้งหมดจำนวน 4 ตัวแปร คือ ลักษณะงาน ความพึงพอใจ การเสริมสร้างพลังอำนาจ และความผูกพันต่อองค์กร (2) จากการวิเคราะห์ขนาดอิทธิพลของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงต่อผลการปฏิบัติงาน พบว่าค่าเฉลี่ยของขนาดอิทธิพลของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงต่อผลการปฏิบัติงานเท่ากับ 0.60 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (3) ปัจจัยที่ส่งผลกระทบที่มีต่อขนาดอิทธิพลของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงต่อผลการปฏิบัติงาน จากการสังเคราะห์พบว่า ตัวแปรที่ส่งผลกระทบต่ออิทธิพล คือตัวแปรด้านแนวคิดทฤษฎีแนวคิดหลักของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
เกียรติสุดา ศรีสุข. (2552). ระเบียบวิธีวิจััย. (พิมพ์ครั้งที่ 3) . เชียงใหม่: โรงพิมพ์ครองช้าง.
นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2542). การวิเคราะห์อภิมาน. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นงลักษณ์ วิรัชชัย และ สุวิมล ว่องวานิช. (2541). การสังเคราะห์งานวิจัยทางการศึกษาด้านการวิเคราะห์ อภิมานและการวิเคราะห์เนื้อหา. ใน รายงานการวิจัย. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี.
พยอม วงศ์สารศรี. (2534). องค์การและการจัดการ (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: สุภาการพิมพ์.
พิจิตรา ใช้เอกปัญญา. (2551). ความสัมพันธ์ระหว่างระบบการบริหารผลการปฏิบัติงานและ ผลการปฏิบัติงานของพนักงานปฏิบัติการของโรงพยาบาลเอกชน. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
ภิญโญ สาธร. (2523). หลักการบริหารการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: วัฒนาพานิช.
รัตติกรณ์ จงวิศาล. (2548). โครงสร้างความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชาวน์อารมณ์และพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กร. การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 43, 360-367.
เศาวนิต เศาณานนท์. (2542). ภาวะผู้นำ. (พิมพ์ครั้งที่ 3 ). นครราชสีมา: มหาวิทยาลัย ราชภัฏนครราชสีมา.
สุดารัตน์ หลิวสกุล. (2535). ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครูช่วยราชการในส่วนกลาง สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษาบัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยบูรพา.
อมตา จันทร์ปาน. (2545). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับผลการพัฒนาสถานีอนามัยของจังหวัดนครศรีธรรมราชในโครงการทศวรรษแห่งการพัฒนาสถานีอนามัย. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต บริหารสาธารณสุข สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
อุทุมพร จามรมาน. (2531). การสังเคราะห์งานวิจัย : เชิงปริมาณ เน้นวิธีวิเคราะห์เมตต้า. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: ฟันนี่พับบลิชชิ่ง.
Bass, B. M. (1985). Leadership and performance beyond expectation. New York: Free Press.
Bass, B.M., & Avolio, B.J. (1998). Improving organizational effectiveness throughtransformational leadership. Newbury Park: CA: Sage.
Bryk, A.S., & Raudenbush, S.W. (1992). Hierarchical Linear Models in Social and BehavioralResearch: Applications and Data Analysis Methods (First Edition). Newbury Park, CA: Sage Publications.
Glass, G. V., McGaw, B., & Smith, M. L. (1981). Meta-analysis in social research. Beverly Hills, CA: Sage Publication.
Lam. H. and T. Munzner. (2008). Increasing the Utility of Quantitative Empirical Studies forMeta- Analysis. In Proceedings of the 2008 CHI Workshop on Beyond Time andErrors : Novel Evaluation Methods for Information Visualization, 21-27.