การพัฒนาบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ รายวิชาการเขียนโปรแกรมบนเว็บเพื่อการศึกษาของนักศึกษาสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ชั้นปีที่ 3 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร

Main Article Content

เมธี มธุรส

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาและหาประสิทธิภาพบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ รายวิชาการเขียนโปรแกรมบนเว็บเพื่อการศึกษา 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการจัดการเรียนการสอนโดยใช้บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ วิธีการวิจัยในครั้งนี้เป็นแบบกึ่งทดลอง (Quasi Experimental Research) แบ่งการเก็บรวบรวมข้อมูลการวิจัยออกเป็น 3 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 หาประสิทธิภาพของบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ ขั้นตอนที่ 2 เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังโดยใช้บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ และ ขั้นตอนที่ 3 ศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 ใช้สำหรับการหาประสิทธิภาพของบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์เป็นนักศึกษาสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ จำนวน 22 คน และกลุ่มที่ 2 ใช้สำหรับการทดลองใช้บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์เป็นนักศึกษาสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ จำนวน 26 คน ได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ 1) บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบค่าที (t-test dependent) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ ผลการวิจัยพบว่า 1) บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ รายวิชาการเขียนโปรแกรมบนเว็บเพื่อการศึกษามีประสิทธิภาพเท่ากับ 80.06/81.16 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 80/80 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาหลังการจัดการเรียนการสอนโดยใช้บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ หลังเรียนสูงกว่าก่อนการเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) ความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์  โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (  = 4.59)

Article Details

How to Cite
มธุรส เ. . . (2022). การพัฒนาบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ รายวิชาการเขียนโปรแกรมบนเว็บเพื่อการศึกษาของนักศึกษาสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ชั้นปีที่ 3 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 9(3), 343–354. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/259808
บท
บทความวิจัย

References

ขวัญชัย ขัวนา และธารทิพย์ ขัวนา. (2563). การพัฒนาบทเรียนออนไลน์ (E-Learning) รายวิชาการจัดการเรียนรู้ สำหรับนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 3 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 7(12), 295-306.

ชุดาภัค เดชพันธ์. (2553). การพัฒนาประสิทธิภาพบทเรียนออนไลน์ตามเกณฑ์ 75/75 เรื่องการวางแผนงานก่อสร้างด้วยโปรแกรม Moodle. ใน รายงานการวิจัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์และสถาปัตยกรรมศาสตร์. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน.

ธนาคาร คุ้มภัย และคณะ. (2564). รูปแบบการจัดการเรียนการสอนออนไลน์สาขาช่างอุตสาหกรรมบนความปกติใหม่ช่วงวิกฤติโควิด–19. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 8(3), 393-407.

ธัญญลักษณ์ วจนะวิศิษฐ. (2557). การพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิ่งรายวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศคณะพยาบาลศาสตร์เกื้อการุณย์. วารสารเกื้อการุณย์, 21(1), 100-113.

ไพโรจน์ ภู่ทอง. (2560). การพัฒนาบทเรียน E-Learning เรื่องโปรแกรมนำเสนอผลงานของ นักศึกษาเจเนอเรชั่น วาย สถาบันอุดมศึกษาเอกชน. วารสารปัญญาภิวัฒน์ 9(2017), 227-235, 9(2017), 227-235.

มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2559). หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2559). กำแพงเพชร: คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.

เยาวนารถ พันธุ์เพ็ง. (2556). การออกแบบการเรียนการสอนด้วยระบบ (E-Learning Instruction Design by E-Learning System). วารสารวิชาการศรีปทุมชลบุรี, 9(4), 21-28.

วิชิต แสงสว่าง. (2560). ผลการใช้บทเรียน E–Learning เรื่อง สัมมนาทางคอมพิวเตอร์ ศึกษา สำหรับนักศึกษาสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร, 19(1), 131-145.

สุรินทร์ เพชรไทย. (2560). การพัฒนาบทเรียนออนไลน์รายวิชาการออกแบบและพัฒนาเว็บไซต์โดยใช้อีเลิร์นนิ่ง. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติพิบูลสงครามวิจัยครั้งที่ 3. มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.

เอื้อมฟ้า นาคโต และอัครวุฒิ จินดานุรักษ์. (2555). การพัฒนาบทเรียน E-Learning พื้นฐานคณิตศาสตร์. ใน รายงานวิจัย. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ.