การดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนธัญบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 4
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้นี้มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อศึกษาระดับการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนธัญบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 4 จังหวัดปทุมธานี 2) เพื่อเปรียบเทียบผลการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนธัญบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 4 จังหวัดปทุมธานี ตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครู จำแนกตามตำแหน่ง และประสบการณ์การทำงาน ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารและครูโรงเรียนธัญบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 4 จำนวน 108 คน วิธีการสุ่มแบบแบ่งช่วงชั้น ใช้ตำแหน่ง เป็นช่วงชั้นและสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว ผลการศึกษา พบว่า 1) การดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนธัญบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 4 โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าอยู่ในระดับอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยดังนี้ ด้านการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล ( =.19, S.D. = 0.77) ด้านการส่งเสริมและพัฒนานักเรียน ( = 4.10, S.D. = 0.79) ด้านการคัดกรองนักเรียน ( = 4.06, S.D. = 0.76) ด้านการส่งต่อนักเรียน ( = 3.98, S.D. = 0.80) และด้านการป้องกันช่วยเหลือและแก้ไขปัญหานักเรียน ( = 3.79, S.D. = 0.70) ตามลำดับ และ 2) ผู้บริหารและครูที่มีตำแหน่งและประสบการณ์ในการทำงานต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนธัญบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 4 โดยรวมและรายด้านที่ไม่แตกต่างกัน
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กนกธร วงษ์จันทร์. (2552). ความพึงพอใจของผู้ปกครองที่มตี่อการดำเนินงานระบบการดูแล ช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนมัธยมท่าแคลง จังหวัดจันทบุรี. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยบูรพา.
กรมสุขภาพจิต. (2544). คู่มือครูที่ปรึกษาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.
กระทรวงการพัฒนาสังคม. (2558). ความรุนแรงในครอบครัว. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.
กุลชญา กมลคณาวุฒิ. (2556). ศึกษาการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนในอำเภอบ่อทองสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 2. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยบูรพา.
ณปภัช รุ่งโรจน์. (2553). การบริหารวิชาการกับระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ทวีพงศ์ หล่มวงษ์. (2551). ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่ส่งผลต่อคุณภาพนักเรียนตามเกณฑ์มาตรฐานด้านผู้เรียนในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐมเขต 2. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
นริศรา จูแย้ม. (2553). การศึกษาการดำเนินงานระบบการดูแลชวยเหลือนักเรียน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครูผู้สอนในโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชน จังหวัดระยอง. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
นิรันดร ปาละมา. (2555). สภาพการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนมัธยมศึกษาจังหวัดลำพูนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 35. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง.
บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น จำกัด.
ผล พรหมทอง. (2555). การดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนนวมินทราชินูทิศสวนกุหลาบวิทยาลัย ปทุมธานี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยม เขต 4. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการการศึกษา. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.
สํานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2552). ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน. เรียกใช้เมื่อ 20 สิงหาคม 2560 จาก http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php ?NewsID=49339&Key=news2
สุเทพ พรหมรักษา. (2552). สภาพและปัญหาการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ของพนักงานครูเทศบาลในโรงเรียนสังกัดกลุ่มการศึกษาท้องถิ่นที่ 9. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.
Krejcie, R.V., & Morgan, D.W. (1970). Determination sample size for research activities. Education and Psychology Measurement, 30(3), 607-610.