การพัฒนาชุดกิจกรรมโดยใช้สมองเป็นฐาน เพื่อพัฒนาทักษะชีวิตของเด็กปฐมวัย
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาชุดกิจกรรมโดยใช้สมองเป็นฐานในการส่งเสริมทักษะชีวิตของเด็กปฐมวัย และเพื่อวิเคราะห์ผลการใช้ชุดกิจกรรมโดยใช้สมองเป็นฐานที่มีต่อทักษะชีวิตของเด็กปฐมวัย เป็นการวิจัยเชิงทดลอง (Experimental research) กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ คือ เด็กปฐมวัยชาย-หญิงอายุระหว่าง 5-6 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นอนุบาลปีที่ 2/1 และ 2/2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 ของโรงเรียนเทศบาลห้างฉัตร อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง จำนวน 60 คน ซึ่งได้จากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ ชุดกิจกรรมโดยใช้สมองเป็นฐาน จำนวน 32 แผน และแบบวัดทักษะชีวิตของเด็กปฐมวัยซึ่งมีทั้งหมด 2 สถานการณ์ ประกอบด้วยสถานการณ์ที่ 1 ด้านการรับผิดชอบและด้านการสร้างสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่น และสถานการณ์ที่ 2 ด้านการคิดวิเคราะห์และด้านการแก้ปัญหา สถิติที่ใช้ในงานวิจัย คือ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) ชุดกิจกรรมโดยใช้สมองเป็นฐานในการส่งเสริมทักษะชีวิตของเด็กปฐมวัยมีความเหมาะสมประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญ 5 คน มีผลการประเมินระหว่าง 0.8 -1.0 ซึ่งสามารถนำไปใช้ได้ 2) ผลการใช้ชุดกิจกรรมโดยใช้สมองเป็นฐานพบว่าทักษะชีวิตของเด็กปฐมวัยก่อนการจัดกิจกรรม มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 1.69 และหลังการจัดกิจกรรม มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 1.89 ซึ่งสูงกว่าก่อนจัดกิจกรรม และเมื่อวิเคราะห์รายด้าน พบว่าหลังการจัดกิจกรรมเด็กปฐมวัยมีทักษะชีวิตสูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรมทุกด้านโดยเรียงตามลำดับดังนี้ 1.ด้านการคิดวิเคราะห์ 2.ด้านความรับผิดชอบ 3.ด้านการสร้างสัมพันธ์กับผู้อื่น และ 4. ด้านการแก้ปัญหา
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. (2550). แนวทางการจัดกิจกรรมเตรียมประสบการณ์ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรท้องถิ่น ตามกรอบหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนด. กรุงเทพมหานคร: กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น.
กุลยา ตันติผลาชีวะ. (2551). รูปแบบการเรียนการสอนปฐมวัยศึกษา. กรุงเทพมหานคร: เบรน-เบส บุ๊ค.
จีระพันธุ์ พูลพัฒน์. (2556). การพัฒนาทักษะชีวิตสำหรับเด็กปฐมวัย. ใน รายงานการวิจัย. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ประไพ ประดิษฐ์สุขถาวร. (2554). สอนลูกให้มีทักษะชีวิต (Life Skill). กรุงเทพมหานคร: ชุมนุมสหกรณ์ การเกษตรแห่งประเทศไทย.
มณี เกษผกา, อุษา คงทอง และสุรางค์ เมรานนท์. (2557). การพัฒนารูปแบบการสอนเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ วิชาสุขภาพผู้บริโภค โดยใช้สมองเป็นฐานของนักศึกษาสถาบันการพลศึกษา. วารสารวิจัย มหาวิทยาลัยสวนดุสิต. 10(1), 149-167.
ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์ และ สุวรรณา เรืองกาญจนเศรษฐ์. (2553). ทักษะชีวิต. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์สร้างเสริมสุขภาวะวัยรุ่น โรงพยาบาลรามาธิบดี.
วรกิต วัดเข้าหลาม. (2540). ชุดการสอน. ขอนแก่น: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ศันสนีย์ ฉัตรคุปต์และอุษา ชูชาติ. (2545). ฝึกสมองให้คิดอย่างมีวิจารณญาณ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: วัฒนาพานิช.
สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ. (2541). ก้าวสู่มาตรฐานการเรียนรู้ทักษะชีวิต. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ครุสภาลาดพร้าว.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักวิชาการมาตรฐานการศึกษา. (2541). การพัฒนาทักษะชีวิตในระบบการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
Maxwell, R. (1981). Life After School: A Social Skills Curriculum. New York: Pregamon.