ความสำเร็จในการดำเนินงานของสมาคมสภาผู้สูงอายุแห่งประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาระดับความสำเร็จในการดำเนินงานของสมาคมสภาผู้สูงอายุแห่งประเทศไทย (2)เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการดำเนินงานของสมาคมสภาผู้สูงอายุแห่งประเทศไทย และ (3) เพื่อศึกษาปรับปรุงพัฒนาการดำเนินงานของสมาคมสภาผู้สูงอายุแห่งประเทศไทย โดยการวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี ซึ่งการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างคือ ชมรมผู้สูงอายุในประเทศไทย จำนวน 273 ชมรม เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ ตัวแทนชมรมผู้สูงอายุที่เป็นสมาชิกสมาคมสภาผู้สูงอายุแห่งประเทศไทยรวมจำนวน 10 ชมรม เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งมีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการตีความ โดยผลการวิจัยพบว่า ระดับความสำเร็จในการดำเนินงานของสมาคมสภาผู้สูงอายุแห่งประเทศไทย อยู่ในระดับมาก ปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกที่มีผลต่อความสำเร็จในการนำนโยบายไปปฏิบัติในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ตัวแปรทางด้านปัจจัยภายใน และภายนอกเหนือการควบคุม ทั้ง 13 ปัจจัย สามารถอธิบายตัวแปรตาม คือ การนำนโยบายสมาคมสภาผู้สูงอายุแห่งประเทศไทยไปปฏิบัติโดยรวมได้ร้อยละ 64.1 โดยสามารถเขียนสมการทำนายได้ดังต่อไปนี้ Y = 274 + .343 X1 + 421 X2 + 206 X3 ผลการวิจัยเชิงคุณภาพพบว่า สมาคมสภาผู้สูงอายุแห่งประเทศไทยและชมรมผู้สูงอายุ ซึ่ทำงานเป็นเครือข่ายซึ่งกันและกัน ซึ่งมีสมาคมสภาผู้สูงอายุแห่งประเทศไทย ทำหน้าที่กำหนดระเบียบว่าด้วยเกณฑ์มาตรฐานชมรมผู้สูงอายุและมีการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับชมรมผู้สูงอายุ ในลักษณะการร่วมคิด ร่วมวางแผน ร่วมปฏิบัติ ร่วมติดตามผล และรายงานผล
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรมอนามัย. (2556). รายงานประจําปีงบประมาณ 2556. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์เทพวานิสย์.
ชนาภา ขำสุวรรณ. (2550). การจัดการกิจการชมรมผู้สูงอายุโรงพยาบาลสงขลา อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา. ใน วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาไทยคดีศึกษา. มหาวิทยาลัยทักษิณ.
บรรลุ ศิริพานิช. (2553). คู่มือผู้สูงอายุฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพมหานคร: หมอชาวบ้าน.
ปาจรีย์ ผลประเสริฐและคณะ. (2562). แนวทางการพัฒนาสมรรถนะการบริหารจัดการกลุ่ม ของคณะกรรมการชมรมผู้สูงอายุจังหวัดกำแพงเพชร. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร, 39(4), 56-77.
ปานหทัย ปานสิทธิ์. (2554). รูปแบบและการดำเนินงานของชมรมผู้สูงอายุในอำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาศึกษาศาสตร์เพื่อพัฒนาชุมชน. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
พีระ พันธุ์งาม. (2553). ปัจจัยเชิงพหุระดับที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลการบริหารงานชมรมผู้สูงอายุของสถานีอนามัย จังหวัดนครราชสีมา. นครราชสีมา: สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ.
วรัญญู อัศวพุทธิ. (2554). แนวทางพัฒนาวิธีการระดมทรัพยากรของชมรมผู้สูงอายุ : กรณีศึกษาชมรมผู้สูงอายุเครือข่ายสหพันธ์ชมรมผู้สูงอายุกรุงเทพมหานคร. ใน วิทยานิพนธ์สังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสังคมสงเคราะห์. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
วัชรินทร์ สุทธิศัย. (2555). ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการนำนโยบายมหาวิทยาลัยราชภัฏไปปฏิบัติ : กรณีศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. ใน ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์. มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
วิกรม รุจยากรกุลและคณะ. (2562). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการดำเนินงานของชมรมผู้สูงอายุคุณภาพ จังหวัดนครปฐม. วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล (วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ), 35(2), 118-128.
วิโรจน์ เซมรัมย์. (2555). การนำนโยบายระบบการบริการการแพทย์ฉุกเฉินไปปฏิบัติ. ใน ดุษฎีนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์. มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.
ศศิพัฒน์ ยอดเพชร. (2564). บูรณาการระบบการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุไทย. วารสารระบบบริการปฐมภูมิและเวชศาสตร์ครอบครัว, 27 (6), 22-32.