การใช้ชุดการเรียนรู้ด้วยสื่อมัลติมีเดีย เรื่อง รอบรู้เรื่องมะพร้าว ที่มีต่อผลการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2

Main Article Content

นันทวรรณ กล่อมดี
ทิพย์วิมล วังแก้วหิรัญ
จิตติมา ปัญญาพิสิทธิ์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ก่อนและหลังเรียนจากชุดการเรียนรู้ด้วยสื่อมัลติมีเดีย 2) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนจากชุดการเรียนรู้ด้วยสื่อมัลติมีเดีย เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนวัดชนะสงสาร จำนวน 20 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่มด้วยวิธีการจับฉลาก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) ชุดการเรียนรู้เรื่องรอบรู้เรื่องมะพร้าว 3) สื่อมัลติมีเดีย 4) แบบทดสอบวัดผลการเรียน 5) แบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยชุดการเรียนรู้ และสื่อมัลติมีเดีย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบค่าที แบบ dependent ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนที่เรียนโดยใช้ชุดการเรียนรู้ด้วยสื่อมัลติมีเดีย เรื่อง รอบรู้เรื่องมะพร้าว มีผลการเรียนรู้หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ โดยคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนมีค่าเท่ากับ 19.05 จากคะแนนเต็ม 30 คะแนน ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 1.63 และผลคะแนนทดสอบหลังเรียน คิดเป็นคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ  26.10  จากคะแนนเต็ม 30 คะแนน ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 2.24 2) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยชุดการเรียนรู้ด้วยสื่อมัลติมีเดียในระดับมากที่สุด คะแนนเฉลี่ยรวมทุกด้านเท่ากับ 4.64 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.51 ซึ่งมีความพึงพอใจ ด้านการกิจกรรมการเรียนรู้มากที่สุด มีคะแนนเฉลี่ย 4.99 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.03  และด้านวิธีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ มีคะแนนเฉลี่ย 4.90 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.30

Article Details

How to Cite
กล่อมดี น. ., วังแก้วหิรัญ ท. ., & ปัญญาพิสิทธิ์ จ. . (2022). การใช้ชุดการเรียนรู้ด้วยสื่อมัลติมีเดีย เรื่อง รอบรู้เรื่องมะพร้าว ที่มีต่อผลการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 . วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 9(2), 77–91. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/258836
บท
บทความวิจัย

References

โรงเรียนวัดชนะสงสาร. (2555). หลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนวัดชนะสงสาร พุทธศักราช 2561. ฉะเชิงเทรา: กลุ่มงานวิชาการ.

กรกต ธัชศฤงคารสกุล. (2556). การพัฒนาสื่อมัลติมีเดีย เรื่อง ดนตรีจีนบางหลวง สําหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเจี้ยนหัว อําเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

จรัสศรี พัวจินดาเนตร. (2553). ผลของการสอนแบบสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรม และการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบร่วมมือ ในวิชาการงานอาชีพ และเทคโนโลยีที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1. กรุงเทพมหานคร: คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ทิพย์วิมล วังแก้วหิรัญ. (2558). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนด้วยยุทธศาสตร์สะท้อนอภิปัญญาร่วมกับการเรียนรู้โดยใช้การวิจัยเป็นฐานของครูผู้สอนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. ใน รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.

ธรัช อารีราษฎร์. (2560). ผลการพัฒนานวัตกรรมด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น. ใน รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ 4). (2542). ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 116 ตอนที่ 74 ก หน้า 7 (1 พฤษภาคม 2562).

พิมพันธ์ เตชะคุปต์. (2558). การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่่ 21. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ราชัน ดินวรรณาภา. (2556). การเปรียบเทียบผลการเรียนรู้เรื่องอักษรโบราณอีสานในหลักสูตรท้องถิ่นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ระหว่างเรียนด้วยโปรแกรมบทเรียนแบบมัลติมีเดียกับการเรียนแบบปกติ. ใน รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สมฤดี พิพิธกุล. (2558). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนา เศรษฐกิจของไทย ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้แผนจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับสื่อประสม. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

สำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

สำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2553). แนวทางการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.