อิทธิพลของการฝังตรึงในงานและความผูกพันของพนักงาน ต่อการคงอยู่ของผู้ให้บริการในสถานประกอบการสปาเพื่อสุขภาพ จังหวัดภูเก็ต

Main Article Content

เอกรินทร์ วริทธิกร
วรางคณา จันทร์คง
อารยา ประเสริฐชัย

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยส่วนบุคคล การคงอยู่ในองค์การ การฝังตรึงในงานและความผูกพันของผู้ให้บริการต่อสถานประกอบการสปาเพื่อสุขภาพ จังหวัดภูเก็ตและ 2) อิทธิพลร่วมของปัจจัยส่วนบุคคล การฝังตรึงในงานและความผูกพันของพนักงานต่อการคงอยู่ในสถานประกอบการสปาเพื่อสุขภาพจังหวัดภูเก็ต เป็นการวิจัยเชิงสังเคราะห์แบบภาคตัดขวาง กลุ่มตัวอย่างคือผู้ให้บริการในสถานประกอบการสปาเพื่อสุขภาพจังหวัดภูเก็ต จำนวน 325 คน เลือกตัวอย่างโดยวิธีการสุ่มแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถาม ที่มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค รวมและแยกตามรายตัวแปร ความผูกพันต่อองค์การของผู้ให้บริการ การฝังตรึงในงานและการคงอยู่ในองค์การ เท่ากับ 0.93 0.86, 0.84 และ 0.87 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและวิเคราะห์การถดถอยพหุแบบขั้นตอนผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้ให้บริการ ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 40.04 ปี มีสถานภาพโสด จบระดับมัธยมศึกษา มีอายุงานในสถานที่ทำงานปัจจุบัน 1 ถึง 3 ปี มีรายได้ต่อเดือนจากอาชีพผู้ให้บริการอยู่ระหว่าง 10,001 ถึง 20,000 บาท มีภูมิลำเนาอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและมีประสบการณ์ในอาชีพนี้มาก่อน มีระดับความคิดเห็นต่อการคงอยู่ในองค์การ การฝังตรึงในงานและความผูกพันของพนักงานอยู่ในระดับมากที่สุดและ 2) การฝังตรึงในงานและความผูกพันต่อองค์การด้านจิตใจและด้านความผูกพันต่อเนื่อง มีอิทธิพลเชิงบวกต่อการคงอยู่ในองค์การ ในขณะที่ระดับรายได้จากอาชีพผู้ให้บริการ ช่วง 30,001 ถึง 40,000 บาท มีอิทธิพลเชิงลบต่อการคงอยู่ในองค์การ โดยมีอำนาจการพยากรณ์ร่วมกัน ร้อยละ 62.70

Article Details

How to Cite
วริทธิกร เ. ., จันทร์คง ว. ., & ประเสริฐชัย อ. . (2022). อิทธิพลของการฝังตรึงในงานและความผูกพันของพนักงาน ต่อการคงอยู่ของผู้ให้บริการในสถานประกอบการสปาเพื่อสุขภาพ จังหวัดภูเก็ต. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 9(1), 118–137. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/258181
บท
บทความวิจัย

References

คมสิทธิ์ เกียนวัฒนา. (2560). การศึกษาศักยภาพอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพของรัฐเกรละประเทศอินเดีย. วารสารกระแสวัฒนธรรม, 18(33), 3-14.

จุฑารัตน์ พิริยะเบญจวัฒน์. (2561). แนวทางการผลิตและพัฒนาบุคลากรเพื่อธุรกิจสปาไทย 4.0. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 12(พิเศษ), 396-407.

ชนิตา เดชวิทยานุศักดิ์. (2555). การให้บริการสปาเพื่อสุขภาพในจังหวัดภูเก็ต. ใน วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจ. มหาวิทยาลัยราชภัฎภูเก็ต.

ณัฐาพร จริยะปัญญา. (2556). การวิเคราะห์โครงสร้างความสัมพันธ์ระหว่างการถ่ายทอดทางสังคมในองค์การการฝังลึกในงานและความอยู่ดีมีสุขของพนักงานธนาคาร. ใน วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์การ. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ธนพร ปทุมรังสรรค์. (2557). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการคงอยู่ในองค์การของพนักงานกลุ่ม Generation Y : กรณีศึกษากลุ่มธุรกิจออนไลน์แห่งหนึ่ง. ใน สารนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต.สาขาบริหารธุรกิจ. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ธีระวุฒิ ตรีประสิทธิ์ชัย. (2557). ปัจจัยที่จะส่งผลกระทบต่อการรักษาพนักงานให้คงอยู่กับองค์การในอุตสาหกรรมการโรงแรมระดับ 5 ดาวในกรุงเทพมหานคร. ใน สารนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต.สาขาบริหารธุรกิจ. มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

ปรมะ ประทุมมาศ และอัศวิณ ปสุธรรม. (2562). แนวทางการแก้ปัญหาอัตราการลาออกของพนักงานในซีทีคลินิกเวชกรรมที่มีแนวโน้มสูงขึ้น. ใน สารนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจ. มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

พัชรา โพธิ์ไพฑูรย์และสิริพร เตชะเลิศสุวรรณ. (2563). ความเป็นส่วนหนึ่งในงาน ความผูกพันในงานและความตั้งใจลาออกของบุคลากรด้านไอที. วารสารวิทยาการจัดการ, 37(1), 51-77.

พิมพ์กมล จักรานุกุล. (2559). อิทธิพลของความผูกพันต่อองค์การและคุณภาพชีวิตการทางานที่มีต่อการธำรงรักษาพนักงานโรงแรมระดับ 5 ดาว ในเขตกรุงเทพมหานคร. ใน สารนิพนธ์ศิลปะศาตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรมการบริการและการท่องเที่ยว. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ภคพร กระจาดทอง. (2561). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการคงอยู่ของเชฟโรงแรมในประเทศไทย. ใน ดุษฎีนิพนธ์บริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจ. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

ลลิตา จันทร์งาม. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การของพนักงานธนาคารออมสิน สำนักงานใหญ่ กลุ่มลูกค้าบุคคล. ใน สารนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารรัฐกิจและกิจการสาธารณะ. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วรลักษณ์ เขียวมีส่วน. (2561). แนวทางการพัฒนาศักยภาพธุรกิจสปาเพื่อตอบสนองความคาดหวังในการใช้บริการของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ บริเวณอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 12(2), 169-182.

ศรัณย์ พิมพ์ทอง. (2556). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อการคงอยู่ในองค์การของพนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการในประเทศไทย. วารสารบริหารธุรกิจ, 37(142), 16-28.

สุภาพร เศวตเวช และคณะ. (2562). ปัจจัยการฝังตรึงในงานที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจลาออกของพนักงานขายเครื่องสำอางในห้างสรรพสินค้าเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา, 7(2), 247-263.

อรรถพล องค์ชัยวัฒนะ. (2561). การจัดการเพื่อธำรงคนเก่ง เกณฑ์ปัจจัยความต้องการคงอยู่ในงานและเกณฑ์ปัจจัยความต้องการลาออกจากงานของแพทย์ โรงพยาบาลเอกชน. ใน ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการแบบ 2.1 ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

อัศวิน แสงพิกุล. (2561). การวิเคราะห์คำวิจารณ์ของนักท่องเที่ยวเกี่ยวกับการให้บริการของธุรกิจสปาในเมืองท่องเที่ยวหลักของประเทศไทย. วารสาร e-Review of Tourism Research, 16(6), 530-536.

Ahammad, M. F. et al. (2016). Knowledge transfer and cross-borderacquisition performance:The impact of cultural distance and employee retention. International business review, 25(1), 66-75.

Allen, N. J. & Meyer, J. P. (1997). Commitment in the Workplace. California: Publications.

Gade, P. A. (2017). Organizational Commitment in the Military: A Special Issue of military Psychology. Psychology Press, 15(3), 163-166.

Georgellis, Y. (2015). Regional unemployment and employee organizational commitment. In Academy of Management Proceedings. New York.

Mitchell, T. R. & Lee, T. W. (2001). The unfolding model of voluntary turnover and job Embeddedness : Foundations for a comprehensive theory of attachment. Research in organizational Behavior, 23(1), 189-246.

Spafollower. (2556). ปัญหาหลักของสปาในจังหวัดภูเก็ตในปัจจุบัน. เรียกใช้เมื่อ 9 ตุลาคม 2564 จาก http://oknation.nationtv.tv/blog/spaphuket/2013/05/15/entry-1