ทางรอดและแนวทางการปรับตัวของวิสาหกิจชุมชนแนววิถีใหม่ หลังวิกฤติ COVID-19 ของไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทางรอดและแนวทางการปรับตัวของวิสาหกิจชุมชนแนววิถีใหม่หลังวิกฤติ COVID-19 ของไทย และเพื่อศึกษาแนวทางการปรับตัวของวิสาหกิจชุมชนแนววิถีใหม่หลังวิกฤติ COVID-19 ของไทย ในการศึกษาครั้งนี้อาศัยวิธีการวิจัยเชิงเอกสาร และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ทางรอดด้านการพัฒนาวิสาหกิจการท่องเที่ยวชุมชน ควรมุ่งรณรงค์ผลักดันให้ดำเนินกิจกรรมท่องเที่ยวภายใต้โครงการส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนไทยวิถีใหม่ ให้นักท่องเที่ยวมีความมั่นใจในมากขึ้น 2) ทางรอดด้านการจัดการรวมกลุ่มกันในรูปแบบวิสาหกิจชุมชน มุ่งผลิตสินค้าที่แปลกใหม่ การขายออนไลน์ร่วมกันหรือการสร้างเพจในการขายสินค้าร่วมกัน 3) ทางรอดด้านการส่งเสริมธุรกิจผลิตภัณฑ์วิสาหกิจชุมชน มุ่งพัฒนาคนในชุมชนให้สามารถผลิตภัณฑ์วิสาหกิจชุมชนด้วยอัตลักษณ์ที่โดดเด่น สามารถจำหน่ายผลิตภัณฑ์ได้หลายช่องทาง 4) ทางรอดด้านการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่เชื่อมโยงกับวิสาหกิจชุมชน มุ่งพัฒนาสินค้าจากเกษตรกรในชุมชนที่เชื่อมโยงไปสู่ภาคการผลิตสินค้าภาคอื่นๆ เน้นการจ้างงานจากคนในท้องถิ่นและเน้นเกษตรทฤษฎีใหม่เพื่อความเข้มแข็งของชุมชนอย่างยั่งยืน 5) ทางรอดด้านการสร้างวิถีใหม่ในการประกอบอาชีพวิสาหกิจชุมชนของชุมชน มุ่งสร้างวิถีใหม่ในการบริหารจัดการวิสาหกิจของชุมชน การตรวจคัดกรองกลุ่มเสี่ยงที่มีส่วนเกี่ยวข้องในด้านกระบวนการผลิต 6) ทางรอดด้านการเพิ่มสมรรถนะด้านการบริหารและจัดการพลังงานวิสาหกิจชุมชน มุ่งพัฒนาสมรรถนะการผลิตพลังงานใช้ในท้องถิ่นที่เพิ่มขึ้นจากเดิม สร้างมาตรการการลดการใช้พลังงานสิ้นเปลือง พัฒนาด้านการผลิตพลังงานทดแทนในอนาคต 7) ทางรอดด้านการจัดการความรู้วิสาหกิจชุมชน การแลกเปลี่ยนเรียนรู้วิสาหกิจชุมชน ให้ความรู้แก่พลเมืองและชุมชนในการเข้าถึงระบบการเงินชุมชน เช่น การใช้แอพพลิเคชั่นออนไลน์ของสถาบันการเงิน เป็นต้น โดยทางรอดทั้งหมดนับเป็นแนวทางสำคัญสู่การปรับตัวที่สำคัญให้กับวิสาหกิจชุมชนแนววิถีใหม่หลังวิกฤติ COVID-19 ของไทย
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม. (2563). แบงก์ชาติ ชี้ทางรอดธุรกิจหลังโควิด-19 “การปรับตัว – เทคโนโลยี” เป็นสิ่งสำคัญ. เรียกใช้เมื่อ 20 กันยายน 2563 จาก https://ismed.or.th/SPR230763.php
กฤษฎา บุญชัย. (2563). วิกฤติโควิดกับจุดเปลี่ยนของชุมชนท้องถิ่น. เรียกใช้เมื่อ 20 กันยายน 2563 จาก https://thaipublica.org/2020/04/kritsada-boonchai-14/
จอมขวัญ คงสกุล. (2563). FinTech และตลาดทุน หนุนเกษตรกรไทยพลิกมิติใหม่ของเกษตรกรรม. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์.
จักรพงษ์ นวลชื่น. (2560). แนวทางการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนให้ยั่งยืนด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่นศึกษากรณีวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดนครพนมและจังหวัดสกลนคร. ใน รายงานวิจัย. วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร.
ชเนตตี พุ่มพฤกษ์ และนฤมล อนุสนธิ์พัฒน์. (2563). ศักยภาพและความเข้มแข็งของวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์, 22(1), 133-144.
ทศพร แก้วขวัญไกร. (2560). ทางรอดวิกฤติเศรษฐกิจด้วยแนวทางวิสาหกิจชุมชน. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, 9(2), 33-50.
พระไพศาล วิสาโล. (2563). คาดการณ์โควิดระบาด 12-18 เดือน จนกว่ามี “วัคซีน-ภูมิต้านทาน. เรียกใช้เมื่อ 20 กันยายน 2563 จาก https://www.hfocus. org/content/2020/05/19359
พัฒน์กมล อ่อนสำลี. (2564). การปรับตัวของวิสาหกิจชุมชนในสภาวะการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019. วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์, 23(1), 195-206.
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. (2563). สงขลานครินทร์วิเคราะห์เส้นทางสู่เศรษฐกิจวิถีใหม่ ให้ความสำคัญกับเศรษฐกิจฐานราก สู่วิสาหกิจชุมชนที่เข้มแข็ง ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี. เรียกใช้เมื่อ 20 กันยายน 2563 จาก https://www.psu.ac.th/th/
มูลนิธิชุมชนท้องถิ่นพัฒนา. (2563). การประเมินความเสียหาย ผลกระทบและการปรับตัวของชุมชนท้องถิ่นต่อภาวะโรคระบาด COVID 19. กรุงเทพมหานคร: สถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา.
ลำเผย แว่วเสียง. (2563). ปรับเพื่อรอดสู่ออนไลน์ วิถีใหม่...ของชุมชน. เรียกใช้เมื่อ 20 กันยายน 2563 จาก https://webcache.googleusercontent.com/
วิศลย์ธีรา เมตตานนท์. (2560). การจัดการความรู้ในวิสาหกิจชุมชน : ทางเลือกในการพัฒนาความสามารถในการอยู่รอด. วารสาร MROD มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ,, 9(1),103-126.
สถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. (2563). ทางรอดวิสาหกิจชุมชนขนาดกลางและขนาดย่อม. กรุงเทพมหานคร: สถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม.
สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ. (2564). ผลกระทบเชิงเศรษฐกิจและสังคมจากการระบาดของโรคโควิด-19ในระดับโลก และในประเทศไทย. เรียกใช้เมื่อ 20 ธันวาคม 2564 จาก https://ddc.moph.go.th/uploads/publish/1177420 210915075055.pdf
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2564). ภาวะสังคมไทย ไตรมาสหนึ่ง ปี 2564. กรุงงเทพมานคร: สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
สุปรีดา อดุลยานนท์. (2563). การขับเคลื่อนการสร้างชีวิตวิถีใหม่. เรียกใช้เมื่อ 20 กันยายน 2563 จาก https://www.thaitextile.org/th/
อนุสรณ์ ธรรมใจ. (2563). จับตาประเมินไวรัสโคโรน่ากระทบเศรษฐกิจไทย. เรียกใช้เมื่อ 29 กรกฎาคม 2564 จาก https://www.tcijthai.com/ news/2020/ 2/watch/9839