ระดับการยอมรับและพฤติกรรมของคนไทยที่มีต่อนโยบาย และมาตรการในการควบคุมและป้องกันการระบาดของโรคโควิด-19
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับการยอมรับของคนไทยที่มีต่อนโยบายและมาตรการของรัฐบาลในการควบคุมและป้องกันการระบาดของโรคโควิด-19 ในช่วงเริ่มต้นการระบาดของโรค (2) เปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลกับระดับการยอมรับนโยบายและมาตรการฯ (3) ศึกษาพฤติกรรมการปฏิบัติตนตามนโยบายและมาตรการฯ และ (4) วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับพฤติกรรมการปฏิบัติตนตามนโยบายและมาตรการดังกล่าว โดยใช้การวิจัยเชิงสำรวจภาคตัดขวาง ศึกษาจากประชากรไทยกลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,272 คน เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามออนไลน์ผ่านเครือข่ายภาครัฐและเอกชนหลากหลายกลุ่มทั่วประเทศ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ไคสแควร์ ค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ผลการศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามให้การยอมรับนโยบายและมาตรการในการควบคุมการระบาดของโรคโควิด-19 มีค่าเฉลี่ยรวมในระดับมาก ( = 4.36, SD = 0.62) โดยเห็นด้วยกับนโยบาย อยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติมากเป็นลำดับที่ 1 แต่เห็นด้วยกับมาตรการปิดเมือง ปิดจังหวัด และปิดชุมชนมากเป็นลำดับสุดท้าย โดยผู้ที่มีอายุ สถานภาพสมรส การศึกษา อาชีพ และที่อยู่อาศัยต่างกัน มีระดับการยอมรับนโยบายและมาตรการในการควบคุมและป้องกันการระบาดของโรคโควิด-19 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ทั้งนี้ ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีพฤติกรรมปฏิบัติตนตามนโยบายและมาตรการที่รัฐบาลประกาศใช้ โดยปัจจัยส่วนบุคคลด้านเพศ อายุ สถานภาพสมรส การศึกษา อาชีพ และที่อยู่อาศัย มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการปฏิบัติตนตามนโยบายและมาตรการฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
Article Details
References
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. (2563). รวมแถลงการณ์ ประกาศ คำสั่ง ตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ที่เกี่ยวกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (Covid-19). เรียกใช้เมื่อ 27 เมษายน 2563 จาก https://www.krisdika.go.th/regulation
Babbie, R. E. (2020). The Practice of Social Research. (15th edition). New York: Cengage Learning.
BBC News. (2020). Coronavirus lockdown protest : What's behind the US demonstrations? Retrieved April 21, 2020, from https://www.bbc.com/ news/world-us-canada-52359100
Brueck H. et al. (2020). China took at least 12 strict measures to control the coronavirus. Retrieved March 27, 2020, from https://www.businessinsider. com/chinas-coronavirus-quarantines-other-countries-arent-ready-2020-3
Cochran, W.G. (1997). Sampling Techniques. New York: John Wiley & sons.
Dudden, A. (2020). South Korea took rapid, intrusive measures against Covid-19 – and they worked. Retrieved April 4, 2020, from https://www.theguardian. com/commentisfree /2020/mar/20/south-korea-rapid-intrusive-measures-covid-19
Prime Minister of Japan and His Cabinet. (2020). [COVID-19] Government Responses on the Coronavirus Disease. Retrieved April 18, 2020, from http://japan.kantei.go.jp/ongoingtopics/_00013.html
Rovinelli R. J. & Hambleton R. K. (1997). On the use of content specialists in the assessment of criterion-referenced test item validity. Dutch Journal of Educational Research, 2 (1), 49-60.
Salkind, N. J. (2015). Encyclopedia of Measurement Statistics 1st Edition. Calif: Sage.
The Washington Post. (2020). Stirrings of unrest around the world could portend turmoil as economies collapse. Retrieved April 20, 2020, from https://www.washingtonpost.com/world/coronavirus-protests-lebanon-india-iraq/2020/04/19/1581dde4-7e5f-11ea-84c2-0792d8591911 _story.html
Zhong B. L. et al. (2020). Knowledge, attitudes, and practices towards COVID-19 among Chinese residents during the rapid rise period of the COVID-19 outbreak: a quick online cross-sectional survey. International Journal of Biological Sciences, 16 (10), 1745-1752.