อิทธิพลของการกำกับดูแลกิจการที่ดีและการจัดการกำไร ที่ส่งผลต่อมูลค่าเพิ่ม เชิงเศรษฐศาสตร์ของบริษัทจดทะเบียน ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อมูลค่าเพิ่มเชิงเศรษฐศาสตร์ ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กลุ่ม SET100 กับมูลค่าเพิ่มเชิงเศรษฐศาสตร์ โดยทำการเก็บรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิ คือ รายงานประจำปี และแบบแสดงรายการประจำปีที่รวบรวมจากระบบสารสนเทศของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET Market Analysis and Reporting Tool : SETSMART) โดยการวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) ในการสรุปลักษณะข้อมูลที่เก็บรวบรวมจากบริษัทกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ทำการทดสอบสมมติฐานด้วยการวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) จากข้อมูลทางการเงินของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กลุ่ม SET100 ในช่วงปี 2557-2561 จำนวน 42 บริษัท ผลการศึกษาพบว่า ในระหว่างปี พ.ศ. 2557-2561 มีระดับคะแนน CGS อยู่ในระดับดีเลิศ PSM มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ร้อยละ 50.73 PID ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 0.32 CEO อยู่ในเกณฑ์มีแนวโน้มในการที่ประธานกรรมการกับประธานเจ้าหน้าที่บริหารเป็นคนละคน มีการจัดการกำไรของบริษัท มูลค่าเฉลี่ยเท่ากับ 9.35 ร้อยล้านบาท และ EVA มูลค่าเฉลี่ยเท่ากับ -3.62 พันล้านบาท รายการคงค้างที่อยู่ภายใต้ดุลยพินิจของผู้บริหารมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ -0.15 ความสมมาตรของการกระจายของข้อมูลของรายการคงค้างที่อยู่ภายใต้ดุลยพินิจของผู้บริหาร มีลักษณะเบ้ซ้าย (ค่า -0.78) ส่วนค่าความโด่งมีลักษณะโค้งแบนกว่าปกติ (ค่า 2.37) สำหรับระดับคะแนนของการกำกับดูแลกิจการเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อมูลค่าเชิงเศรษฐศาสตร์ และสัดส่วนคณะกรรมการอิสระเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐศาสตร์ ส่วนสัดส่วนของผู้ถือหุ้นรายใหญ่เป็นปัจจัยที่ไม่ส่งผลต่อมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐศาสตร์
Article Details
References
จีรณา โฉมจันทร์. (2550). การจัดการกำไรและการกำกับดูแลของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจ คณะบริหารธุรกิจ. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
จีราภรณ์ พงศ์พันธุ์พัฒนะ. (2558). กลไกลการกำกับดูแลกิจการที่ดี และผลการดำเนินงานของกิจการ: บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วารสารวิทยาการจัดการสมัยใหม่, 8(1),67-77.
บงกช ตั้งจิระศิลป์. (2556). ความสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างความเป็นเจ้าของและผลการดำเนินงานของบริษัทจัดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. ใน วิทยานิพนธ์ ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจ คณะบริหารธุรกิจ. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
วรรณพร ศิริทิพย์. (2555). ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคุณสมบัติของคณะกรรมการบริษัทคณะกรรมการตรวจสอบและโครงสร้างผู้ถือหุ้นกับคุณภาพกำไร. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจ มหาบัณฑิตสาขาบริหารธุรกิจ คณะบริหารธุรกิจ. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
วิภาดา ภาโนมัย และนงค์นิตย์ จันทร์จรัส. (2559). โครงสร้างคณะกรรมการบริหารกับผลการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียน กลุ่มธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม. วารสารการจัดการ, 5(2),44-55.
ศิลปะพร ศรีจั่นเพชร. (2551). กลไกบรรษัทภิบาลเพิ่มมูลค่ากิจการได้จริงหรือไม่. วารสารบริหารธุรกิจ, 32(121),1-6.
สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์. (2558). การกำกับดูแลเพื่อสร้างมูลค่ากิจการ. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการกากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์.
อัญญา ขันธวิทย์ และคณะ. (2552). การกำกับดูแลเพื่อสร้างมูลค่ากิจการ. กรุงเทพมหานคร: ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย.
Healy, P. M., & Wahlen, J. M. (1999). A Review of the Earnings Management Literature and itsimplications for Standard Setting. American Accounting Association Accounting Horizons, 13(4),365-383.
Jones, J. (1991). Earning management during import relief investigations. Journal of Accounting, 29(2), 193-203.
Juan, P.S and Emma, G.M. (2007). Theory of the Firm: Managerial Behavior, Agency Costs and Ownership Structure. Journal of Accounting, 17(3),363-373.
OECD. (2004). Principles of Corporate Governance: Organization for Economic Co-Operation and Development. New York: OECD.