ผลของการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อพัฒนาจิตสำนึก การให้บริการของนักเรียนโรงเรียนเดอะแคร์การบริบาล จังหวัดอุบลราชธานี

Main Article Content

สิทธิพร วงศ์ศิริ
สุขอรุณ วงษ์ทิม
วัลภา สบายยิ่ง

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบจิตสำนึกการให้บริการของนักเรียนกลุ่มทดลองก่อนและหลังการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนว 2) เปรียบเทียบจิตสำนึกการให้บริการของนักเรียนกลุ่มทดลองที่ใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวและนักเรียนกลุ่มควบคุมที่ได้รับข้อสนเทศแบบปกติ มีสมมุติฐานการวิจัยคือ 1) หลังจากการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวนักเรียนกลุ่มทดลองมีจิตสํานึกการให้บริการเพิ่มขึ้นกว่าก่อนการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนว 2) หลังจากการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวนักเรียนกลุ่มทดลองที่ใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวมีจิตสํานึกการให้บริการเพิ่มขึ้นกว่านักเรียนกลุ่มควบคุมที่ได้รับข้อสนเทศแบบปกติ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบกึ่งทดลอง วัดผลก่อนและหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยเป็นนักเรียนโรงเรียนเดอะแคร์การบริบาล จังหวัดอุบลราชธานี ปีการศึกษา 2562 จำนวน 60 คนที่ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม มีคะแนนจากแบบวัดจิตสำนึกในการให้บริการตั้งแต่เปอร์เซ็นไทล์ที่ 50 ลงมาแล้วสุ่มอย่างง่ายเพื่อแบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 30 คน กลุ่มทดลองได้รับชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อพัฒนาจิตสำนึกการให้บริการ จำนวน 10 ครั้ง เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ ชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อพัฒนาจิตสำนึกการให้บริการและแบบวัดจิตสำนึกในการให้บริการ (r=.81) สถิติที่ใช้ในวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบหาค่าที ผลการวิจัย พบว่า 1) ภายหลังการทดลอง นักเรียนกลุ่มทดลองที่ใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวมีจิตสำนึกการให้บริการสูงกว่าก่อนการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่.01 และ 2) ภายหลังการทดลองนักเรียนกลุ่มทดลองที่ใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวมีจิตสำนึกการให้บริการสูงกว่ากลุ่มควบคุมที่ได้รับข้อสนเทศแบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่.01

Article Details

How to Cite
วงศ์ศิริ ส. ., วงษ์ทิม ส., & สบายยิ่ง ว. . (2021). ผลของการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อพัฒนาจิตสำนึก การให้บริการของนักเรียนโรงเรียนเดอะแคร์การบริบาล จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 8(11), 152–162. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/256932
บท
บทความวิจัย

References

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2550). สถิติสำหรับงานวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์.

ชัญญา บุญรักษ์. (2556). ผลการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อเสริมสร้างจิตสำนึกและความรับผิดชอบต่อการเรียนของนักเรียนชั้นมัชยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนพรตพิทยพยัต กรุงเทพมหานคร. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยา. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ตรีเพ็ชร อ่ำเมือง. (2553). คู่มือ-เทคนิคการให้ บริการด้วยใจ. ใน รายงานเลขานุการกิจและสภาคณาจารย์กอง บริการทั่วไป. สำนักงานคณบดีมหาวิทยาลัยมหิดล.

ทัศนีย์ สาแก้ว และคณะ. (2557). การพัฒนาจิตสาธารณะของอาสาสมัครสาธารณะสุขประจำหมู่บ้านในจังหวัดชัยนาท. สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม.

ประภาพร จันทร์แสนตอ. (2557). การใช้กิจกรรมแนะแนวเพื่อเสริมสร้างจิตสาธารณะของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านแม่แว อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่. ใน การค้นคว้าอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนว. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

มนต์จรัส วัชรสิงห์. (2558). จิตบริการและแรงจูงใจในการทำงานที่พยากรณ์ประสิทธิภาพการให้บริการของพยาบาล. วารสารวิชาการศิลปศาสตร์ประยุกต์, 8(2), 115-131.

วรรณพัช ชูทอง. (2558). ผลการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวด้วยเทคนิคตัวแบบเพื่อพัฒนาจิตสาธารณะของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นโรงเรียนบ้านเตง (เรือนจุลประชาสรรค์) จังหวัดพัทลุง. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยา. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

วัชราภรณ์ สุริยาภิวัฒน์. (2546). ธุรกิจยุคใหม่. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วัฒนา วงค์ษาบุตร. (2558). ผลการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อพัฒนาพฤติกรรมการมีจิตสาธารณะของนักศึกษาหอพักชั้นปีที่ 2 มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยา. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สุนทรี ผาตินาวิน. (2558). ผลการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวตามเทคนิคตัวแบบเพื่อพัฒนาพฤติกรรม ความมีจิตสำนึกสาธารณะของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนแสนสุข จังหวัดชลบุรี. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยา. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

Alderfer C.P. (1972). Existence Relatedness and Growth. New York: Free Press.

Elmore,R.F. (1985). Forward and backward mapping : Reversible logic in the analysis of public policy”. In K. Hanf and T. A. J. Toonen(Ed.), Policy Implementation in Federal and Unitary Systems. In Questions of Analysis and Design (pp. (pp.33-70)). Dorbrectt: Nijhoff.

Maslow, A. H. (1970). Motivation and Personality. (2nd ed). New York: Harper and Row.

Thomas A. Ryan. & Patricia C.S. (1954). Principles of industrial psychology. New York: The Mcronald Press.