การพัฒนาชุดการสอนความฉลาดทางสังคมและอารมณ์ของเด็กปฐมวัย
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาชุดการสอนความฉลาดทางสังคมและอารมณ์ของเด็กปฐมวัย 2) ส่งเสริมความฉลาดทางสังคมและอารมณ์ของเด็กปฐมวัย 3) เปรียบเทียบพฤติกรรมความฉลาดทางสังคมและอารมณ์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการทดลอง โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงทดลอง (Experimental research) แบบแผนการวิจัยแบบ One group pretest - posttest design กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นเด็กนักเรียนชาย - หญิงอายุระหว่าง 5 - 6 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 ของโรงเรียนบ้านปลายคลอง ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จำนวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ ชุดการสอนความฉลาดทางสังคมและอารมณ์ของเด็กปฐมวัยและแบบประเมินพฤติกรรมความฉลาดทางสังคมและอารมณ์ของเด็กปฐมวัย ผลการวิจัยพบว่า 1) มีชุดการสอนความฉลาดทางสังคมและอารมณ์ของเด็กปฐมวัยที่ประกอบด้วยแผนการกิจกรรมพัฒนาความฉลาดทางสังคมและอารมณ์ของเด็กปฐมวัยและนิทานส่งเสริมความฉลาดทางสังคมและอารมณ์จำนวน 8 ชุด ตรวจสอบคุณภาพชุดการสอนโดยผู้เชี่ยวชาญประเมินความสอดคล้องมีความเหมาะสม 2) คะแนนพฤติกรรมความฉลาดทางสังคมและอารมณ์ของเด็กปฐมวัยมีค่าเฉลี่ยของคะแนนก่อนและหลังการทดลองการจัดกิจกรรมเท่ากับ 19.28 คะแนน และ 26.64 คะแนน ตามลำดับ 3) เมื่อการเปรียบเทียบคะแนนพฤติกรรมความฉลาดทางสังคมและอารมณ์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการจัดกิจกรรม พบว่า หลังการจัดกิจกรรมด้วยชุดการสอนความฉลาดทางสังคมและอารมณ์ให้กับเด็กปฐมวัยมีผลต่างคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 7.36 คะแนน และมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01 แสดงว่าเด็กปฐมวัยมีความฉลาดทางสังคมและอารมณ์สูงขึ้นกว่าก่อนการทดลอง
Article Details
References
กัญญพัชร พงษ์ช้างอยู่. (2560). นิทานต่อความฉลาดทางอารมณ์และพัฒนาการทางภาษาของเด็กปฐมวัยศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยการเล่า. ใน วิทยานิพนธ์ตามหลักสูตร พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชาการพยาบาล เด็ก). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.
บุญเชิด ภิญโญอนันตพงษ์. (2545). ประมวลสาระชุดวิชาการพัฒนาเครื่องมือสําหรับการประเมินผล การศึกษา. (หน่วยที่ 3). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช สาขาวิชา ศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
พรรณทิพย์ ศิริวรรณบุศย์. (2553). ทฤษฎีจิตวิทยาพัฒนาการ. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพมหานคร: แอคทีฟ พริ้นท์.
ศิริวรรณ พิริยคุณธร, และคณะ. (2559). การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมเด็กวัยเรียนให้เป็นคนดี เก่ง และสุขของนักเรียนในระดับประถมศึกษาปีที่ 6 จังหวัดสงขลา: การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์, 36(3), 150-171.
สุรางค์ โค้วตระกูล. (2556). จิตวิทยาการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อรัญญา กุฎจอมศรี. (2557). การพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ของเด็กปฐมวัยด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ SMILE. ใน ปริญญานิพนธ์ กศ.ด.(การศึกษาปฐมวัย). กรุงเทพมหานคร: บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
อุบลรัตน์ เพ็งสถิต. (2559). จิตวิทยาพัฒนาการวัยเด็ก. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
Bandura, A . (1986). Social foundations of thought and action: A social cognitive theory. Englewood Cliffs, NJ: Prentice- Hall, Inc.
Erikson, E. H. (1968). Identity: Youth and Crisis. New York: Norton & Company.