ความสัมพันธ์ของผลการดำเนินงานและดัชนีชี้วัดเศรษฐกิจไทย กับการเปลี่ยนแปลงราคาหลักทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียน ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย SET100

Main Article Content

ชาติชาย ศรีภิรมย์
จิรพงษ์ จันทร์งาม

บทคัดย่อ

บทความวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของผลการดำเนินงาน และดัชนีชี้วัดเศรษฐกิจไทยกับการเปลี่ยนแปลงราคาหลักทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย SET100 โดยกำหนดกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น จำนวน 84 บริษัท และเก็บรวบรวมข้อมูลผลการดำเนินงานของบริษัททั้ง 84 บริษัท ย้อนหลังระหว่างปี พ.ศ.2561 - 2563 รวมข้อมูลทั้งสิ้น 252 ตัวอย่าง จากนั้นทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ได้แก่ 1) การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา(Descriptive Statistics) ด้วยค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ค่าสูงสุด (Maximum) และค่าต่ำสุด (Minimum) 2) การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (Correlation Coefficient Analysis) เพื่อทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระ และ 3) การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณเพื่อทดสอบสมมติฐาน (Multiple Regression Analysis) ผลการศึกษาพบว่าดัชนีชี้วัดเศรษฐกิจไทย ได้แก่ ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GD) และอัตราเงินเฟ้อ (IN) มีความสัมพันธ์กับราคาหลักทรัพย์ที่เปลี่ยนแปลงหลังจากเผยแพร่งบการเงินรายปีในกลุ่มบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย SET100 โดยผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GD) มีความสัมพันธ์เชิงบวก ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อ (IN) มีความสัมพันธ์เชิงลบต่อการเปลี่ยนแปลงราคาหลักทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย SET100 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และตัวแบบสมการถดถอยพหุคูณสำหรับการพยากรณ์ที่พบ มีค่า R2 เท่ากับ 0.416 หมายถึง ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GD) และอัตราเงินเฟ้อ (IN) มีความสัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงราคาหลักทรัพย์ฯ ได้ร้อยละ 41.60 สรุปได้ว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ และอัตราเงินเฟ้อมีความสัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงราคาหลักทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย SET100 ร้อยละ 41.60 และอีก ร้อยละ58.40 จะเป็นผลจากตัวแปรอื่น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กัญญารัตน์ กิตติสนธิรักษ์. (2561). อัตราสาวนทางการเงินและการเปลี่ยนแปลงมูลค่าของกิจการตามราคาตลาดในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยกลุ่ม SET100. ใน การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจ. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2556). การวิเคราะห์งบการเงิน. เรียกใช้เมื่อ 22 กันยายน 2563 จาก https://www.set.or.th/dat/vdoArticle/attachFile/AttachFile_147-255130 5959.pdf

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2564 ก). ข้อมูลเปรียบเทียบรายหลักทรัพย์. เรียกใช้เมื่อ 31 มีนาคม 2564 จาก https://www.setsmart.com/ism/stockComparisonTrading. html?locale=th_TH

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2564). รายชื่อหลักทรัพย์ที่ใช้คำนวณดัชนี SET50 และ SET100. เรียกใช้เมื่อ 31 มีนาคม 2564 จาก https://www.set.or.th/th/market/files/constituents /SET50_100_H2_ 2020_revised.pdf

นันทกา แซ่เอง. (2559). ปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจที่ส่งผลกระทบต่อดัชนีราคาหลักทรัพย์กลุ่มอุตสาหกรรมธุรกิจการเงิน. ใน การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. สาขาบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

สุพิชชา ติรพัฑฒ์. (2560). ปัจจัยทางเศรษฐกิจที่มีผลต่อการเคลื่อนไหวของดัชนีราคาหุ้นกลุ่ม อุตสาหกรรมในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. ใน วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจ. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

Field A. (2000). Discovering Statistics Using SPSS for Windows. London: SAGEPublications, Ltd.