การจ้างงานผู้สูงอายุในสังคมไทย: องค์ความรู้จากการสังเคราะห์งานวิจัยจากฐานข้อมูลปริญญานิพนธ์ Thailand Collection

Main Article Content

ปวีณา แจ้งประจักษ์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์คุณลักษณะทั่วไปของงานวิจัยและสังเคราะห์องค์ความรู้เกี่ยวกับการจ้างงานผู้สูงอายุไทยโดยใช้วิธีการสังเคราะห์งานวิจัยเชิงคุณภาพจากงานวิจัยที่ตีพิมพ์พ.ศ. 2551-2561 จำนวน11 เรื่อง ผลการศึกษาพบว่า 1. คุณลักษณะทั่วไปของงานวิจัยส่วนใหญ่เป็นวิทยานิพนธ์ในระดับปริญญาโทในสาขาวิชาประชากรศาสตร์มากที่สุด ผู้วิจัยส่วนใหญ่ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้สถิติพรรณนาในการวิเคราะห์ข้อมูล เช่น การวิเคราะห์ร้อยละ การหาค่าเฉลี่ย การหาค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการใช้สถิติเชิงอนุมาน เช่น การถดถอยโลจิสติกทวิภาคแบบพหุขั้นตอน สมการถดถอยโลจิสติกมีประชากรและกลุ่มตัวอย่างเป็นกลุ่มผู้สูงอายุ สถานประกอบการ ผู้เชี่ยวชาญ รวมทั้งเอกสารต่าง ๆ เช่น กฎหมายการจ้างงานทั้งในและต่างประเทศ  2. องค์ความรู้เกี่ยวกับการจ้างงานผู้สูงอายุไทย พบว่าส่วนใหญ่ผู้สูงอายุตอนต้นอายุ 60-69 ปี มีความต้องการทำงานโดยมีเหตุผลได้แก่ เหตุผลส่วนบุคคล เหตุผลด้านเศรษฐกิจ และเหตุผลด้านสังคม ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจทำงานของผู้สูงอายุ ได้แก่ ปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจ ปัจจัยด้านสุขภาพและการเกื้อหนุน ทั้งนี้องค์กรส่วนใหญ่ยังไม่มีแผนการรับผู้สูงอายุเข้าทำงาน แต่ปัจจัยที่มีผลต่อความต้องการจ้างงานผู้สูงอายุ ได้แก่ ปัจจัยด้านเศรษฐกิจมหภาค ปัจจัยด้านสถาบัน ปัจจัยด้านวัฒนธรรมองค์กร และปัจจัยด้านผู้สูงอายุ ส่วนกฎหมายในการจ้างงานแรงงานสูงอายุ พบว่าประเทศไทยยังไม่มีมาตรการในการคุ้มครองแรงงานสูงอายุ รวมทั้งการส่งเสริมการจ้างแรงงานสูงอายุทางกฎหมาย แตกต่างกับต่างประเทศที่มาตรการทางกฎหมาย ดังนั้นภาครัฐควรมีการกำหนดมาตรการทางกฎหมายเพื่อคุ้มครองแรงงานสูงอายุและส่งเสริมการจ้างงานผู้สูงอายุ โดยกำหนดลักษณะงานที่เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุ และเปิดโอกาสให้ผู้สูงอายุเข้าทํางานอย่างมีส่วนร่วมในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของสมาชิกในองค์กร

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

แก้วขวัญ ตั้งติพงศ์กูล และศุภชัย ศรีสุชาติ. (2559). โครงการวิจัยถอดบทเรียนสถานประกอบที่มีการจ้างแรง. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย.

จารีย์ ปิ่นทองและคณะ. (2561). สังคมสูงวัยกับความท้าทายของตลาดแรงงานไทย. เรียกใช้เมื่อ 11 กรกฎาคม 2564 จาก https://www.bot.or.th/Thai/MonetaryPolicy /EconomicConditions/AAA/AgePeriodCohort.pdf

เทียนแก้ว เลี่ยมสุวรรณ. (2562). วยาคติต่อผู้สูงอายุของประชากรวัยทำงานในจังหวัดชลบุรี: ผลจากแบบวัดThe Fraboni Scale of Ageism (FSA). วารสารศิลปศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 11(2), 223-244.

ธาราทิพย์ พ่วงเชียง. (2555). ความต้องการทำงานของผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2550. ใน วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตร มหาบัณฑิต สาขาประชากรศาสตร์. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นิภาพรรณ เจนสันติกุล. (2564). สภาพปัญหาและรูปแบบการจ้างแรงงานสูงอายุของสถานประกอบการเอกชนในประเทศไทย. วารสารวิชาการวิทยาลัยบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 4(1), 50-66.

พัชรพงศ์ ชวนชม และคณะ. (2561). ลักษณะงานที่เหมาะสมกับแรงงานผู้สูงอายุ. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 13(1), 107-116.

มาธุรี อุไรรัตน์ และมาลี สบายยิ่ง. (2560). การเห็นคุณค่าในตนเองของผู้สูงอายุ: กรณีศึกษามูลนิธิสงเคราะห์คนชราอนาถาแห่งหนึ่งในจังหวักสงขลา. วารสารกึ่งวิชาการ, 38(1), 29-44.

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. (2559). ก.แรงงาน-สสส.-มส.ผส. จับมือสถานประกอบการ12แห่งลงนามบันทึกข้อตกลงต้นแบบนำร่องขยายอายุการจ้างแรงงานผู้สูงอายุ. เรียกใช้เมื่อ 9 ธันวาคม 2563 จาก https://thaitgri.org/?p=37814

ศรีเรือน แก้วกังวาล. (2553). จิตวิทยาพัฒนาการชีวิตทุกช่วงวัย เล่ม 1 แนวคิดเชิงทฤษฎี – วัยเด็กตอนกลาง(พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สมรักษ์ รักษาทรัพย์และคณะ. (2551). โครงการนำร่องศึกษาความเหมาะสมในการทำงานของแรงงานหลังเกษียณอายุ. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2560). ดัชนีพฤฒพลังผู้สูงอายุไทย. กรุงเทพมหานคร: บริษัทเท็กซ์แอนด์เจอร์นัลพับลิเคชั่นจํากัด.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2561). รายงานการสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทย พ.ศ.2560. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานสถิติแห่งชาติ.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2562). สรุปผลที่สำคัญการทำงานของผู้สูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. 2562. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานสถิติแห่งชาติ.

Santrock, J. W. (2012). Essentials of life - span development (2nd ed.). New York: McGraw - Hill.