อิทธิพลของการกำกับดูแลกิจการที่ดีและความรับผิดชอบต่อสังคม ที่มีต่อผลการดำเนินงานธุรกิจหมวดอุตสาหกรรมกลุ่มพลังงานและสาธารณูปโภคของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

Main Article Content

นัทวตรา ปัณชนาธรณ์
พรทิวา แสงเขียว

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลระหว่างการกำกับดูแลกิจการที่ดีและความรับผิดชอบต่อสังคมที่มีต่อผลการดำเนินงานของหมวดธุรกิจหมวดอุตสาหกรรมพลังงานและสาธารณูปโภคบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย วิเคราะห์ผลการดำเนินนงาน 3 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านอัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ 2) ด้านอัตราผลตอบแทนต่อส่วนของเจ้าของ และ 3) ด้านอัตราส่วนราคาตลาดต่อราคาบัญชี ระเบียบงานวิจัยเป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้ข้อมูลทุติยภูมิ จากฐานข้อมูลใน SET - SMART ตั้งแต่ปี 2560 - 2562 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้มีวิธีการคัดเลือกแบบเจาะจง จำนวน 46 บริษัท ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 138 ตัวอย่าง รวมถึงสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย สมาคมส่งเสริมผู้ลงทุนไทย สถาบันไทยพัฒน์ และรายงานประจำปี วิธีทดสอบโดยใช้ สถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมาน ในการทดสอบหาความสัมพันธ์ ได้แก่ การหาค่าสูงสุด การหาค่าต่ำสุด การหาค่าเฉลี่ย การหาค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เพื่อนำไปวิเคราะห์สมการถดถอยเชิงพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า 1) การกำกับดูแลกิจการที่ดีมีความสัมพันธ์ในทางบวกต่ออัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์และอัตราผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยเฉพาะด้านผลอันดับโครงการประเมินการกำกับดูแลกิจการที่ดีและขนาดของคณะกรรมการบริษัท ส่วนการควบรวมตำแหน่งของประธานกรรมการและกรรมการผู้จัดการมีความสัมพันธ์ในทิศตรงกันข้าม โดย coefficient of determination (R2)  คือ 0.16 กับ 0.08 2) ด้านความรับผิดชอบต่อสังคม มีความสัมพันธ์ในทางบวกต่ออัตราส่วนราคาตลาดต่อราคาบัญชี ด้านรายชื่อหุ้นยั่งยืน การจัดอันดับด้านสิ่งแวดล้อม สังคม      ธรรมาภิบาล แต่มีความสัมพันธ์ในทิศตรงกันข้ามกับรางวัลแห่งความยั่งยืน และเข้าโครงการแนวร่วมในการต่อต้านทุจริต โดย R2 คือ 0.20

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2553). การวิเคราะห์สถิติขั้นสูงด้วย SPSS for Windows. กรุงเทพมหานคร: บริษัทธรรมสาร จำกัด.

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2560). หลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี. เรียกใช้เมื่อ 16 ธันวาคม 2563 จาก https://www.set.or.th

รมิดา คงเขตวณิช. (2019). การประเมินหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีกับความสามารถ ในการทำกำไรของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. Mahachula Academic Journal, 6(ฉบับพิเศษ), 279-290.

วรัญญา มโนสุนทร และศิลปพร ศรีจั่นเพชร. (2016). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะของคณะกรรมการบริษัทและคณะกรรมการตรวจสอบต่อผลการดำเนินงานของบริษัทที่เสนอขายหุ้นแก่ประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก. วารสารวิชาชีพบัญชี, 12(35), 21-33.

สถาบันไทยพัฒน์. (2563). Environmental, Social, and Governance (ESG) & Corporate Social Responsibility (CSR). เรียกใช้เมื่อ 16 ธันวาคม 2563 จาก https://www. thaicsr.com/

สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์. (2563). แผนยุทธศาสตร์ ก.ล.ต. ปี2563-2565. เรียกใช้เมื่อ 16 ธันวาคม 2563 จาก https://www.sec.or.th/ TH/Documents/strategicplan/strategicplan-2563-2565.pdf

Joseph, F. H. et al. (2009). Multivariate Data Analysis: A Global Perspective. (7th ed). Upper Saddle River: Prentice Hall.

Kyereboah-Coleman, A. & Biekpe, N. (2007). Corporate Governance and financing choices of firms: Apanel data analysis. South African Journal of Economics, 74(4), 670-810.

Putra, C. G. B. et al. (2013). Pengaruh corporate social responsibilitypada price to book value dengan corporate governance sebagai variabel moderasi. E-Journal Ekonomi dan Bisnis Universitas Udayana, 2(5), 339-363.

Rechner, P. L. & Dalton, D. R. (1991). CEO duality and organizational performance: A longitudinal analysis. Strategic management journal, 12(2), 155-160.