การพัฒนาการจัดการเรียนการสอนตามแนวคิดแอนดราโกจี ในรายวิชาชีวสถิติและวิทยาการระบาด
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนการสอนตามแนวคิดแอนดราโกจี ในรายวิชาชีวสถิติและวิทยาการระบาด เป็นการวิจัยและพัฒนาแบ่งเป็น 3 ขั้นตอน คือ 1) การพัฒนาการจัดการเรียนการสอนตามแนวคิดแอนดราโกจีในรายวิชาชีวสถิติและวิทยาการระบาด 2) การศึกษาผลการจัดการเรียนการสอนตามแนวคิดแอนดราโกจี 3) การประเมินความเป็นไปได้ของการเรียนการสอนตามแนวคิดแอนดราโกจี กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา ได้แก่ นักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิตชั้นปีที่ 2 ซึ่งถูกเลือกแบบเจาะจงจำนวน 74 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ วิธีการจัดการเรียนการสอนตามแนวคิดแอนดราโกจี 7 ขั้นตอน คือ 1) การสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ให้กับผู้เรียน 2) การสร้างกลไกต่าง ๆ เพื่อให้เกิดการวางแผนการเรียนรู้ 3) การวิเคราะห์ความต้องการของผู้เรียน 4) การกำหนดจุดมุ่งหมาย 5) การออกแบบหรือกำหนดกิจกรรมการเรียนรู้ 6) การดำเนินกิจกรรมการเรียนรู้ และ 7) การประเมินผลการเรียนรู้ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้ของนักศึกษาพยาบาลตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี แบบทดสอบความรู้และแบบประเมินความพึงพอใจในการเรียนการสอน ค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหา .80 - 1.00 และค่าสัมประสิทธิ์ครอนบาคอัลฟา .841 - .971 วิเคราะห์ข้อมูล โดยการวิเคราะห์เนื้อหา การแจกแจงความถี่ และการทดสอบที ผลการวิจัย พบว่า 1) ผลลัพธ์การเรียนรู้ตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรีหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) 2) ความรู้หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) 3) ความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.67, S.D. = 0.27)
Article Details
References
กัญจน์ณิชา อิ่มสมบัติ และอภิชาติ เลนะนันท์. (2562). การพัฒนาการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของผู้เรียนในโรงเรียนหนองชุมแสงวิทยาโดยใช้กระบวนการวิจัยแบบมีส่วนร่วม. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธนบุรี, 13(3), 64-76.
จรัสศรี เพ็ชรคง. (2559). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อผลลัพธ์การเรียนรู้ของนักศึกษาพยาบาล: วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จักรีรัช. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเซีย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 10(2), 199-211.
ชิดชงค์ ส.นันทนาเนตร. (2560). ทฤษฎีการเรียนรู้สำหรับผู้ใหญ่. นครปฐม: ร้านสีฟ้า สเตชั่นเนอรี่.
ธนภรณ์ กาญจนพันธ์. (2559). ผลการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับทางที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาชีววิทยา การกำกับตนเอง และความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
บรมัตถ์ ท้าวแก่นสาร. (2555). ผลของการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนตามแนวคิดแอนดราโกจีที่มีต่อความสามารถในการอนุรักษ์วัฒนธรรมของเยาวชนไทใหญ่. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษานอกระบบโรงเรียน. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553. (2553). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 127 ตอน 45 ก หน้า 1-3 (22 กรกฎาคม 2553).
รักษิต สุทธิพงษ์. (2560). กระบวนทัศน์ใหม่ทางการศึกษากับการพัฒนาครูไทยในยุคดิจิตอล. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 19(2), 344-355.
อุไรวรรณ หว่องสกุล. (2554). การพัฒนาโปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนตามแนวคิดแอนดราโกจีของ มัลคอม โนลส์ เพื่อส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของนักศึกษาการศึกษานอกโรงเรียน วิธีเรียนทางไกล. ใน ดุษฎีนิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาตลอดชีวิต. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Bellanca, J. & Brandt, R. (2010). 21st Century Skills: Rethinking How Students Learn. Bloomington. IN: Solution Tree. 2.71.
Knowles, M. S. (1978). The Adult Learner a Neglected Species. (2nd ed). Houston: Gulf publishing Co.
Smaldino, S. E. et al. (2012). Instructional Technology and Media for Learning. (10th Edition). New Jersey: Pearson Merrill/prentice hall.