การวิเคราะห์องค์ประกอบที่ส่งผลต่อการจัดการองค์การด้านการซ่อมบำรุงอากาศยานของอุตสาหกรรมการบินพาณิชย์ไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบ 1) ด้านบริบทและสภาพแวดล้อมขององค์การด้านการซ่อมบำรุงอากาศยาน 2) ด้านการบริหารจัดการองค์การด้านการซ่อมบำรุงอากาศยาน 3) ด้านทรัพยากรขององค์การด้านการซ่อมบำรุงอากาศยาน และ 4) ด้านความสามารถในการแข่งขันขององค์การด้านการซ่อมบำรุงอากาศยานของอุตสาหกรรมการบินพาณิชย์ไทย การวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้ปฏิบัติการซ่อมบำรุงอากาศยานในประเทศไทยที่ถือใบอนุญาตนายช่างภาคพื้นดิน จำนวน 600 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น ชนิดมาตราส่วนประเมินค่า 5 ระดับ โดยค่าความเชื่อมั่นค่าเท่ากับ 0.993 สถิติที่ใช้ คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ การวัดความเหมาะสมของข้อมูล เทคนิคย่อยวิธีแกนหลักและหมุนแกนองค์ประกอบแบบมุมฉาก ด้วยวิธีแวริแมกซ์ ผลการวิจัยพบว่า 1) ด้านบริบทและสภาพแวดล้อม สกัดองค์ประกอบได้ 6 องค์ประกอบ ความแปรปรวนของตัวแปรทุกตัว ร้อยละ 70.808 โดยแต่ละองค์ประกอบมีตัวแปรต่าง ๆ 27 ตัวแปร 2) ด้านการบริหารจัดการขององค์การด้านการซ่อมบำรุงอากาศยาน สกัดองค์ประกอบได้ 3 องค์ประกอบ ความแปรปรวนของตัวแปรทุกตัว ร้อยละ 68.067 โดยแต่ละองค์ประกอบมีตัวแปรต่าง ๆ 29 ตัวแปร 3) ด้านทรัพยากรขององค์การด้านการซ่อมบำรุงอากาศยาน สกัดองค์ประกอบได้ 5 องค์ประกอบ ความแปรปรวนของ ตัวแปรทุกตัว ร้อยละ 70.193 โดยแต่ละองค์ประกอบมีตัวแปรต่าง ๆ ประกอบด้วย 47 ตัวแปร และ 4) ด้านความสามารถในการแข่งขันขององค์การด้านการซ่อมบำรุงอากาศยาน สกัดองค์ประกอบได้ 2 องค์ประกอบ ความแปรปรวนของตัวแปรทุกตัว ร้อยละ 68.283 โดยแต่ละองค์ประกอบมีตัวแปรต่าง ๆ ประกอบด้วย 18 ตัวแปร
Article Details
References
นิตติยา โขสันเทียะ. (2562). แนวทางยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมซ่อมบำรุงอากาศยานของประเทศไทย. ใน ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการสาธารณะ. มหาวิทยาลัยบูรพา.
ภัทรวิทย์ ศรีเมือง. (2554). การจัดลำดับงานซ่อมบำรุงอากาศยานด้วยเมตริกซ์โครงสร้างการออกแบบ. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
ภาณุศักดิ์ สว่างบุญ. (2558). การเลือกสายการบินต้นทุนต่ำในประเทศไทย. ใน วิทยานิพนธ์เศรษฐศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
สุปรีย์ ศรีสำราญ. (2560). ธุรกิจซ่อมบำรุงอากาศยานไทย...ฝันให้ไกล ไปให้ถึง. EIC ARTICLE. เรียกใช้เมื่อ 23 มกราคม 2563 จาก https://www.scbeic.com/th/detail/product/3136
สุรเดช นิลคุณ. (2560). การพัฒนาระบบสนับสนุนการตัดสินใจในการซ่อมบำรุงอากาศยาน. ใน ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเทคโนโลยี. มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนคร.
สุรพงษ์ คงสัตย์ และธีรชาติ ธรรมวงค์. (2551). การหาค่าความเที่ยงตรงของแบบสอบถาม (IOC). เรียกใช้เมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2564 จาก http://mcu.ac.th/site/articlecontentdesc. php?article_id=656&articlegroup_ id=146
Al Rawahi, S. H. et al. (2020). The Conceptual Framework for the Resources Management Attributes and Aircraft Maintenance Efficiency in the Aviation Industries in Oman. International Journal of Accounting & Finance Review, 5(3), 31-40.
Alireza, A. et al. (2011). A Study on Total Quality Management and Lean Manufacturing: Through Lean Thinking Approach. World Applied Schences Journal, 12(9), 1585-1596.
Hair, J. F. et al. (2014). Multivariate Data Analysis. (7th Ed.). New Jersey: Prentice Hall, Upper Saddle River.
Harold, D. K. (1972). Analysis of Managerial Functions. New York: McGraw - Hill Book.
Oxford Economics. (2011). Economic benefits from air transport in Thailand. Oxford UK: Oxford Economics.
Parasuraman, A. et al. (1988). Survqual: A multiple - item scale for measuring consumer per. Journal of retailing, 64(1), 12-40.
Samual, S. C. & Trevis, C. S. (2006). Modern Management: International edition. (10th ed.). USA : Person.
Seyyed, A. D. et al. (2016). An investigation of key competitiveness indicators and drives of full - service airlines using Delphi and AHP techniques. Malaysia: University Putra Malaysia.