ผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ 3 self ต่อการเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำตาลในเลือด ความดันโลหิต และเส้นรอบเอวของกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง อำเภอพรหมคีรี จังหวัดนครศรีธรรมราช

Main Article Content

เกสราวรรณ ประดับพจน์
ศิริลักษณ์ แก่นอินทร์

บทคัดย่อ

          บทความวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพต่อการเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำตาลในเลือด ความดันโลหิต และเส้นรอบเอวของกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง โดยประยุกต์ใช้แนวคิดการรับรู้ความสามารถของตนเองในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ (Self - efficacy) การกำกับพฤติกรรมสุขภาพตนเอง (Self - regulation) และพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเอง (Self - care) กลุ่มตัวอย่างเป็นกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ที่อาศัยอยู่ในตำบลพรหมโลก อำเภอพรหมคีรี จังหวัดนครศรีธรรมราช ได้จากวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอนจำนวน 84 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 42 คนกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้วยแนวคิด 3 self กลุ่มควบคุมได้รับการดูแลตามวิธีการปกติ ประเมินผลลัพธ์การวิจัยก่อนและในสัปดาห์ที่ 12 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา การทดสอบไคสแควร์ และสถิติการทดสอบ Paired และIndependent t – test ผลการวิจัยพบว่าภายหลังการทดลองในสัปดาห์ที่ 12 กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยระดับน้ำตาลในเลือด ระดับความดันโลหิต และเส้นรอบเอวลดลงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) เมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมพบว่า ค่าเฉลี่ยระดับน้ำตาลในเลือดและระดับความดันโลหิตของกลุ่มทดลองลดลงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) ส่วนค่าเฉลี่ยของเส้นรอบเอวพบว่าไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) ข้อเสนอแนะ: ควรศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพการประยุกต์ใช้แนวคิด 3 self กับรูปแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพรูปแบบอื่น และควรขยายผลโปรแกรม การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพไปยังกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงรายอื่นในพื้นที่ โดยศึกษาผลการดำเนินงานระยะยาว

Article Details

How to Cite
ประดับพจน์ เ., & แก่นอินทร์ ศ. (2021). ผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ 3 self ต่อการเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำตาลในเลือด ความดันโลหิต และเส้นรอบเอวของกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง อำเภอพรหมคีรี จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 8(5), 148–161. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/252222
บท
บทความวิจัย

References

จินตนา บัวทองจันทร์ และคณะ. (2556). ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองต่อพฤติกรรมสุขภาพในบุคคลกลุ่มเสี่ยงที่มีการเผาผลาญอาหารผิดปกติ. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา, 19(2), 46-59.

จุฑามาศ เกษศิลป์ และคณะ. (2556). การจัดการดูแลตนเองความรู้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 รายใหม่ก่อน - หลัง เข้าโปรแกรมจัดการการดูแลตนเองในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในเขต อ.เมือง จ.อุทัยธานี. วารสารกองการพยาบาล, 40(1), 84-102.

จุฑามาศ จันทร์ฉาย และคณะ. (2555). โปรแกรมการเรียนรู้เรื่องเบาหวานและการจัดการตนเองของผู้ที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา, 7(2), 69-83.

ดาวลอย กลิ่นสีสุข. (2551). การเสริมศักยภาพเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพด้านการบริโภคอาหารและการออกกำลังกายในผู้ใช้บริการที่มีภาวะอ้วนลงพุง. จังหวัดขอนแก่น: ศูนย์อนามัยที่ 6 ขอนแก่น.

นํ้าอ้อย ภักดีวงศ์ และ รัชนีกร ปล้องประภา. (2555). ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองต่อพฤติกรรมสุขภาพนํ้าหนัก ดัชนีมวลกายและเส้นรอบเอวของกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารสมาคมพยาบาลฯ สาขาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 30(2), 40-47.

เนติมา คูนีย์. (2555). แนวทางเวชปฏิบัติการออกกำลังกายในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมป์.

ประภัสสร กิตติพีรชล และคณะ. (2555). ผลของโปรแกรมการกํากับตนเองต่อพฤติกรรมการออกกําลังกายแกว่งแขน และระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานในชุมชน. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพา, 20(4), 21-32.

ปุณยวีร์ ประเสริฐไทย และคณะ. (2553). ผลของการออกกำลังกายขนาดความหนักปานกลางที่บ้านในการลด ความดันโลหิตของผู้ที่มีภาวะความดันโลหิตเกือบสูง. วารสารสภาการพยาบาล, 25(4), 80-95.

ยุพา จิ๋วพัฒนากุล และคณะ. (2555). ผลของโปรแกรมการออกกำลังกายโดยการแกว่งแขนร่วมกับครอบครัวต่อพฤติกรรมการออกกำลังกายของผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงไม่ทราบสาเหตุ. วารสารการพยาบาล, 30(2), 46-57.

เวธกา กลุ่นวิชิต และคณะ. (2553). การศึกษาภาวะเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานและกลุ่มอาการเมตะบอลิคการรับรู้พฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพ และการสนับสนุนทางสังคม. วารสารการพยาบาลและการศึกษา, 3(2), 86-89.

สมใจ จางวาง และคณะ. (2559). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลตนเองเพื่อป้องกันโรคเบา หวานและความดันโลหิตสูงของประชาชนกลุ่มเสี่ยง. วารสาร วิทยาลัยการพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 3(1), 110-128.

อมรรัตน์ ภิรมย์ชม และอนงค์ หาญสกุล. (2555). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวานชินที่ 2 ในอำเภอหนองบัวระเหว จังหวัดชัยภูมิ. วารสารคณะพลศึกษา, 15(1), 129-141.

อังศินันท์ อินทรกำแหง. (2552). การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยง 3 Self ด้วยหลัก PROMISE. กรุงเทพมหานคร: สุขุมวิทการพิมพ์.

อารีย์ เสนีย์. (2557). โปรแกรมการจัดการตนเองในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง. วารสารพยาบาลทหารบก, 15(1), 129-134.

American Diabetes Association. (2010). Diagnosis and Classification of Diabetes. DiabetesCare, 3(Suppl1), 62-69.

Baker, M. K. et al. (2011). Behavioral strategies in diabetes prevention programs: A systematic review of randomized controlled trials. Diabetes Research and clinical practice, 91(1), 1-12.

Cao, Z. J. et al. . (2015). A Randomized trial of multiple interventions for childhood obesity in China. American Journal of Preventive Medicine, 48(5), 552-560.

Cohen, J. M. & Uphoff, N. T. (1977). Rural Participation: Concepts and Measures for Project Design, Implementation and Evaluation. In Rural Development Monograph No. 2 The Rural Development Committee Center for International Studies. Cornell University.

Hopp, L. & Walker, J. (2009). Effectiveness of arm exercise on dyspnea in patients withChronic obstructive pulmonary disease: a systematic review. JBI Library of Systematic Reviews, 7(3), 1352-1371.

Nakkling, Y. & Tudsri, P. (2017). Effect of Self–Efficacy Enhancement Program on Health Behaviors among Older Adults with Uncontrolled Hypertension. Association of Private Higher Education Institutions of Thailand, 6(1), 27-35.

Thonghong, A. et al. (2011). Chronic Diseases Surveillance Report, 2011. Weekly Epidemiological Surveillance Report , 43(17), 257-64.