ปัญหาการเลี้ยงปลานิลกระชังในเขื่อนลำปะทาว จังหวัดชัยภูมิ

Main Article Content

เพียงแข ภูผายาง
นราศักดิ์ ภูผายาง
สัญชัย รำเพยพัด

บทคัดย่อ

          บทความวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์ปัญหาการบริหารจัดการฟาร์มปลานิลของกลุ่มเกษตรกร โดยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วม แบ่งการวิจัยออกเป็น 2 ระยะ จำนวน 10 ขั้นตอน ประกอบด้วยผู้ร่วมวิจัย 12 คน วิทยากรหรือผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 5 คน และกลุ่มเป้าหมายของการวิจัยในครั้งนี้ คือ เกษตรกรผู้เลี้ยงปลานิลกระชัง ในเขื่อนลำปะทาว จังหวัดชัยภูมิ จำนวน 22 ครัวเรือน เครื่องมือการวิจัยใช้แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และแบบสนทนากลุ่ม รวบรวมข้อมูลและเขียนรายงานวิจัยตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย ผลการศึกษา พบว่า 1) สาเหตุที่เกษตรกรนิยมเลี้ยงปลากระชัง คือสามารถอาชีพหลักของครัวเรือน เพราะรายได้จากการเลี้ยงปลานิลกระชังมากกว่ารายได้จากการทำไร่ ทำนา หรือการเกษตรอื่น 2) ปัญหาหลักในการเลี้ยงปลานิลกระชัง คือต้นทุนอาหารที่มีราคาแพง เกษตรต้องซื้ออาหารสำเร็จรูปจากท้องตลาดตั้งแต่เริ่มเลี้ยงลูกปลาจนจับขายซึ่งพบว่าต้นทุนด้านอาหารคิดเป็นร้อยละ 60 ของรายได้ ทั้งนี้ข้อเสนอแนะจากการวิจัยครั้งนี้ คือการหาอาหารปลาที่สามารถผลิตเองและหรือมีราคาถูกลง เช่นการใช้หญ้าเนเปียร์หรือพืชธรรมชาติมาเป็นส่วนผสมของอาหารปลา 3) ปัญหารองลงมาคือปัญหาปลาตาย ซึ่งเกิดจากการน็อคน้ำ ทำให้ปลาขาดออกซิเจนและตายจำนวนมาก นอกจากนี้ยังมีปัญหาปลาตายที่เกิดจากการมีสภาพแวดล้อมหรือกระชังไม่สะอาด สาเหตุการตายข้างต้นส่งผลให้ทำให้เกษตรกรผู้เลี้ยงปลานิลกระชังขาดทุน ข้อเสนอแนะสำหรับการแก้ปัญหานี้คือ การตรวจสอบสภาพน้ำ และการดูแลทำความสะอาดกระชังปลาอย่างสม่ำเสมอ การติดเครื่องเพิ่มออกซิเจนในน้ำโดยการควบคุมแบบอัตโนมัติผ่านโทรศัพท์มือถือ

Article Details

How to Cite
ภูผายาง เ., ภูผายาง น., & รำเพยพัด ส. (2021). ปัญหาการเลี้ยงปลานิลกระชังในเขื่อนลำปะทาว จังหวัดชัยภูมิ. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 8(4), 388–397. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/251660
บท
บทความวิจัย

References

กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2557). ยุทธศาสตร์การพัฒนาปลานิล. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

กรรณิการ์ นิ่มทรงประเสริฐ. (2558). รูปแบบและกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจเลี้ยงปลานิลของผู้ประกอบการในพื้นที่ตำบลบางแขม. ใน วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการบริหารธุรกิจ. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ชนกันต์ จิตมนัส และคณะ. (2549). การใช้กระเจี๊ยบแดงผสมอาหารเพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกันในปลานิล. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

ประคุณ ศาลิกร และโสมสกาว เพชรานนท์. (2559). การลงทุนเลี้ยงปลานิลเพื่อการพาณิชย์ในจังหวัดนครปฐม. วารสารเศรษฐศาสตร์และกลยุทธ์การจัดการ, 3(1), 40-54.

มณฑกาญจน์ ตันนานนท์. (2554). ความสัมพันธ์ระหว่างส่วนประสมการตลาดและกระบวนการตัดสินใจซื้อลูกพันธ์ปลานิลแปลงเพศของผู้ซื้อ จากมานิตย์ฟาร์ม ในจังหวัดเพชรบุรี. ใน ภาคนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการทั่วไป. มหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบุรี.

เยาวภา ไหวพริบ และคณะ. (2556). การวิจัยเชิงสังเคราะห์เกี่ยวกับมาตรฐานการผลิตสินค้าปลานิลตลอดห่วงโซ่เพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ความปลอดภัยอาหาร. ใน รายงานวิจัย. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

เริงชัย ตันสุชาติ และคณะ. (2556). ห่วงโซ่คุณค่าของปลานิลในจังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดเชียงราย. ใน รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดชัยภูมิ. (2559). รายงานประจำปี 2558 - 2559. ชัยภูมิ: กองวิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืด.

สำนักงานประมงจังหวัดชัยภูมิ. (2562). ผลผลิตชนิดสัตว์น้ำที่สำคัญจากการเลี้ยงปี 2562. เรียกใช้เมื่อ 18 พฤษภาคม 2563 จาก https://www.fisheries.go.th/fpo-chaiyaphum/web2/images/samart/17.1s.pdf

. (2563). ผลผลิตชนิดสัตว์น้ำที่สำคัญการจับสัตว์น้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติ. เรียกใช้เมื่อ 18 พฤษภาคม 2563 จาก https://www.fisheries.go.th/fpo-chaiyaphum/web2/images/samart/17.2p.pdf

สำนักงานประมงจังหวัดนครปฐม กรมประมง. (2555). ระบบฐานข้อมูลเกษตรประมง/พื้นที่. เรียกใช้เมื่อ 18 พฤษภาคม 2563 จาก http://www.fisheries.go.th/fpo-nakhonpatom/

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรจังหวัดชัยภูมิ. (2553). ผลผลิตปลานิลประจำปี 2553. เรียกใช้เมื่อ 18 พฤษภาคม 2563 จาก http://www.oae.go.th/view/1/TH-TH