ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจใช้เทคโนโลยีพลังงานแสงอาทิตย์ของประชาชนในกรุงเทพมหานครตามแนวคิดทฤษฎีพฤติกรรมตามแผน

Main Article Content

สุภาพร สิทธิโกศล
ศรัณย์ธร ศศิธนากรแก้ว
วราพรรณ อภิศุภะโชค

บทคัดย่อ

          บทความวิจัยฉบับวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาลักษณะทางประชากร การเปิดรับสื่อ ทัศนคติ การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง การรับรู้ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีพลังงานแสงอาทิตย์ และความตั้งใจใช้เทคโนโลยีพลังงานแสงอาทิตย์ของประชาชนที่อยู่ในกรุงเทพมหานคร 2) เพื่อศึกษาความแตกต่างของการเปิดรับสื่อจำแนกตามลักษณะทางประชากร 3) เพื่อศึกษาอิทธิพลร่วมกันของการเปิดรับสื่อ ทัศนคติ การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง และการรับรู้ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีพลังงานแสงอาทิตย์ ที่มีต่อความตั้งใจ ใช้เทคโนโลยีพลังงานแสงอาทิตย์ของประชาชนในกรุงเทพมหานคร ทำการเก็บข้อมูลจากกลุ่มเป้าหมายอายุ 24 ปีขึ้นไป จำนวน 400 คน ในกรุงเทพมหานคร โดยใช้สถิติเชิงพรรณนาได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติเชิงอนุมาน t - test, One - Way ANOVA และ Multiple Regression Analysis ผลการวิจัยพบว่า 1) ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงร้อยละ 52.75 ช่วงอายุระหว่าง 33 - 41 ปี ร้อยละ 34.25 มีการศึกษาระดับปริญญาตรีร้อยละ 56.25 อาชีพพนักงานบริษัทร้อยละ 58.25 รายได้เฉลี่ยส่วนใหญ่ 55,001 บาท และมีที่พักอาศัยประเภทบ้านเดี่ยวร้อยละ 56.75 ระดับการเปิดรับสื่อมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.08 (ระดับปานกลาง) ทัศนคติมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.25 (ระดับเห็นด้วยอย่างยิ่ง) การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิงมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.11 (ระดับปานกลาง) และการรับรู้ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีพลังงานแสงอาทิตย์มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.48 (ระดับมาก) 2) ลักษณะทางประชากรที่แตกต่างกันจะมีการเปิดรับสื่อเกี่ยวกับเทคโนโลยีพลังงานแสงอาทิตย์ที่ไม่แตกต่างกัน 3) การเปิดรับสื่อ ทัศนคติที่มีต่อการใช้เทคโนโลยีพลังงานแสงอาทิตย์ การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง และการรับรู้ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีพลังงานแสงอาทิตย์ มีอิทธิพลร่วมกันต่อความตั้งใจใช้เทคโนโลยีพลังงานแสงอาทิตย์มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

Article Details

How to Cite
สิทธิโกศล ส., ศศิธนากรแก้ว ศ., & อภิศุภะโชค ว. (2021). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจใช้เทคโนโลยีพลังงานแสงอาทิตย์ของประชาชนในกรุงเทพมหานครตามแนวคิดทฤษฎีพฤติกรรมตามแผน. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 8(4), 203–217. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/251645
บท
บทความวิจัย

References

กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน. (2562). ข. ร่างแผนแม่บทกระทรวงพลังงาน พ.ศ. 2562 - 2565. เรียกใช้เมื่อ 20 พฤศจิกายน 2562 จาก https://www.dede.go.th/download/ITA/O04_63_1.pdf

. (2562). แผนยุทธศาสตร์กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงานตามแม่บทของกระทรวงพลังงาน พ.ศ. 2562 - 2565. เรียกใช้เมื่อ 5 ตุลาคม 2562 จาก https://www.dede.go.th/download/ITA/O04_63_1.pdf

กรรณิการ์ คงทอง. (2561). ความตั้งใจเชิงพฤติกรรมในการใช้เทคโนโลยีของกลุ่ม เจเนอเรชั่นเบบี้บูมเมอร์และ เจเนอเรชั่นเอ็กซ์. ใน วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจ. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ.

กองยุทธศาสตร์บริหารจัดการ สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล. (2562). สถิติกรุงเทพมหานคร 2562. เรียกใช้เมื่อ 12 มกราคม 2564 จาก http://www.bangkok.go.th/pipd/page/sub/16647/สถิติกรุงเทพมหานคร-2562

ปริยดา วันไทย. (2552). การเปิดรับสื่อ ความตระหนัก และพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับประเด็นภาวะโลกร้อน ของนิสิต นักศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร. ใน วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตร์พัฒนาการ. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

มาร์เก็ตติ้ง อุปส์. (2562). กรณีศึกษา “ไฟ จาก ฟ้า” มิติใหม่การสื่อสารที่เข้าถึงทุกคน. เรียกใช้เมื่อ 25 มกราคม 2563 จาก www.marketingoops.com

วรรณศิริ สิทธินิสัยสุข. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความตั้งใจการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารของนิสิตระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยบูรพา จังหวัดชลบุรี. ใน วิทยานิพนธ์นิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจสำหรับผู้บริหาร. มหาวิทยาลัยบูรพา.

ศูนย์ข่าวด้านพลังงาน. (2561). อาเซียนลงนามเอ็มโอยู IRENA เพิ่มการใช้พลังงานหมุนเวียนให้ได้23%ในปี2568. เรียกใช้เมื่อ 24 ตุลาคม 2563 จาก https://www.energynewscenter.com

สิทธิโชค วรานุสันติกุล. (2546). จิตวิทยาสังคม:ทฤษฎีและการประยุกต์. กรุงเทพมหานคร: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

Ajzen, I. (1988). From intentions to actions. Attitudes, personality and behavior. Chicago: Dorsey Press.

Bandura, A. (1977). Self - efficacy: toward a unifying theory of behavioral change. Journal of Psychological review, 84(2), 191-215.

Bettinghaus, E. P. (1968). Persuasive communication. New York: Holt Renehautand Winston.

Cochran, W. G. (1953). Sampling Techiques. New York: John Wiley & Sons. Inc.

Francis, J. et al. (2004). Constructing questionnaires based on the theory of planned behaviour: A manual for health services researchers. In Centre for Health Services Research. University of Newcastle upon Tyne.

Kawamoto, K. (1997). 10 Things You Should Know about New Media. San Fran - cisco: The Freedom Forum, Pacific Coast Center San Francisco.

Mcleod, J. M. & O’ Keefe, G. J. (1972). Mass Communication Research. London: SagePublication.