การประกอบสร้างอุปลักษณ์มโนทัศน์ในวรรณกรรม ของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตฺโต)

Main Article Content

พระครูปริยัติกิตติวิมล (กิตฺติสาโร) .
วรวรรธน์ ศรียาภัย
กัลยา กุลสุวรรณ
ศราวุธ หล่อดี

บทคัดย่อ

          บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสารัตถะของอุปลักษณ์มโนทัศน์ในวรรณกรรมของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตฺโต) และ 2) เพื่อศึกษาการประกอบสร้างอุปลักษณ์มโนทัศน์ในวรรณกรรมของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต) การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงเอกสาร ข้อมูลที่ใช้เป็นข้อมูลจากวรรณกรรมพุทธธรรมของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตฺโต) ตั้งแต่พุทธศักราช 2531 - 2561 นำมาวิเคราะห์ข้อมูลการการประกอบสร้างมโนอุปลักษณ์ เพื่อหาลักษณะการประกอบสร้างมโนทัศน์อุปลักษณ์และมโนอุปลักษณ์ในแวดวงความหมายตามคำนิยามของท่านพุทธทาส ผลการวิจัยพบว่า สารัตถะการเขียนวรรณกรรมมี 5 กลุ่ม คือ 1) บันทึกจากการเล่าเรื่องที่พบเห็น 2) บันทึกจากการเดินทางและการใช้ชีวิตกลางแจ้ง 3) บันทึกจากทัศนะต่อประเด็นต่าง ๆ 4) บันทึกจากการทบทวนวิเคราะห์และอธิบายเกี่ยวกับตนเอง 5) บันทึกจากประเด็นชีวิตปรัชญาและจิตวิญญาณ และยังพบว่า 1) สารัตถะของมโนอุปลักษณ์ในวรรณกรรมของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตฺโต) พบว่ามี ลักษณะที่เป็นโลกิยธรรมหรือโลกุตตรธรรมมี 6 ประเด็น ได้แก่ 1) ความเหมือน 2) ความต่าง 3) ความขัดแย้ง 4) ความคล้อยตาม 5) ความเป็นเหตุผล 6) อื่น ๆ นอกจากนี้ 2) ลักษณะการประกอบสร้างอุปลักษณ์มโนทัศน์ในวรรณกรรมของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตฺโต) ในแวดวงความหมายธรรมะตามแนวคิดของท่านพุทธทาส พบว่ามี 4 ประเภท ได้แก่ 1) มโนอุปลักษณ์ธรรมชาติ มี 38 อุปลักษณ์ 2) มโนอุปลักษณ์กฎของธรรมชาติ มี 11 อุปลักษณ์ 3) มโนอุปลักษณ์หน้าที่ของธรรมชาติ มี 78 อุปลักษณ์ 4) มโนอุปลักษณ์ผลของธรรมชาติ มี 79 อุปลักษณ์

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

คณาจารย์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2562). พระไตรปิฎกคึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2555). พุทธธรรมฉบับขยาย. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิบรรจงสนิทและสำนักสหปฏิบัติ.

. (2556). กาลานุกรม: พระพุทธศาสนาในอารยธรรมโลก. (พิมพ์ครั้งที่ 6/2). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ผลิธัมม์.

พุทธทาส อินทปัญโญ. (2559). ธรรมะคือธรรมชาติใน 4 ความหมาย. เรียกใช้เมื่อ 25 ธันวาคม 2563 จาก https://www.youtube.com/watch?v=fJeXG5MWiWc

วิเชียร ชาบุตรบุณฑริก. (2535). พุทธศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์, พิมพ์ที่โอ.เอส.พริ้นติ้ง.

วุฒินันท์ แก้วจันทร์เกตุ. (2555). วิเคราะห์ถ้อยคำอุปลักษณ์เกี่ยวกับกิเลสในภาษาไทย. กรุงเทพมหานคร: คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ศรีวรา ผาสุกดี. (2558). อุปลักษณ์เชิงมโนทัศน์ในชีวิตตามภาษารัชเชีย. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

เสถียร โพธินันนทะ. (2543). ประวัติศาสตร์พุทธศาสนา. (พิมพ์ครั้งที่ 4). นครปฐม: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.

หลวงวิจิตรวาทการ. (2562). ประวัติศาสตร์เอเชีย. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แสงดาว.

อุษา พฤฒิชัยวบูลย์. (2544). การศึกษาอุปลักษณ์เรื่องการเมืองในภาษาไทยตามแนวอรรถศาสตร์ปริชาน. ใน วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต. สาขาวิชาภาษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Sir, E. A. (1996). The Life of Asia. New Delhi: Intellectual Publishing house.

Lakoff, G. & Johnson, M. (1980). Metaphors we live by. Chicago: The University of Chicago Press.