การถ่ายทอดผลงานด้านศิลปะเชิงสร้างสรรค์ผ้าด้นมือของเยาวชนและผู้สูงอายุในล้านนา

Main Article Content

ชลธิชา จิรภัคพงค์
พระครูปริยัติวรากร .
อรอนงค์ วูวงศ์
เกรียงศักดิ์ ฟองคำ
พระอนุสรณ์ กิตฺติวณฺโณ

บทคัดย่อ

          บทความวิจัยฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อการถ่ายทอดผลงานด้านศิลปะเชิงสร้างสรรค์ผ้าด้นมือสู่เยาวชนและผู้สูงอายุ เป็นการวิจัยเชิงผสมผสาน ได้แก่ การวิจัยเชิงเอกสาร การวิจัยเชิงคุณภาพ และการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ประกอบด้วย ผู้ให้ข้อมูลในการสัมภาษณ์ ได้แก่ ประธานกลุ่มหรือตัวแทน ผู้ประกอบผ้าด้นมือ ผู้นำชุมชน ปราชญ์ท้องถิ่น จำนวน 5 คน ผู้ให้ข้อมูลในการสนทนากลุ่ม ได้แก่ หอการค้าจังหวัดแพร่ ผู้ประกอบการ ผ้าด้นมือ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย พัฒนาชุมชน วัฒนธรรมจังหวัด อุตสาหกรรมจังหวัด ปราชญ์ท้องถิ่น ผู้รู้ในด้านศิลปะ จำนวน 10 คน ผู้ให้ข้อมูลเชิงปฏิบัติการ ได้แก่ เยาวชน และผู้สูงอายุ จำนวน 60 คน รวมทั้งหมด 75 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บในการข้อมูลประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์เกี่ยวกับกระบวนการส่งเสริมการเรียนรู้ด้านศิลปะเชิงสร้างสรรค์ผ้าด้นมือ การสนทนากลุ่มเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาการส่งเสริมการเรียนรู้ ด้านศิลปะเชิงสร้างสรรค์ผ้าด้นมือ และชุดปฏิบัติการการสร้างสรรค์ศิลปะผ้าด้นมือ การวิเคราะห์ข้อมูลเป็นการวิเคราะห์เชิงพรรณนา โดยการวิเคราะห์เนื้อหาพิจารณาประเด็นหลักและแบ่งออกเป็นประเด็นย่อย ผลการวิจัยพบว่า การถ่ายทอดผลงานด้านศิลปะเชิงสร้างสรรค์ผ้าด้นมือสู่เยาวชนและผู้สูงอายุ สามารถสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ใหม่ ที่เป็นเอกลักษณ์สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภค โดยความคิดเห็นเกี่ยวกับความรู้ที่ได้รับจากการถ่ายทอดผลงานด้านศิลปะเชิงสร้างสรรค์ผ้าด้นมือของเยาวชนและผู้สูงอายุก่อนการอบรมและหลังการอบรม มีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.1 โดยความรู้หลังการอบรมมีระดับความคิดเห็นมากกว่าก่อนการอบรม นอกจากจะเป็นการเพิ่มรายได้และยกระดับเศรษฐกิจชุมชนแล้ว ยังเป็นการส่งเสริมเยาวชนให้เกิดการหวงแหนและสานต่อภูมิปัญญาท้องถิ่นให้ยั่งยืน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมส่งเสริมวัฒนธรรม. (2555). 9 สิ่งควรรู้กับมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม. วารสารวัฒนธรรม, 51(3), 66-67.

กีรติ บุญเจือ. (2545). ปรัชญาหลังนวยุค แนวคิดเพื่อการศึกษาแผนใหม่. กรุงเทพมหานคร: ดวงกมล.

จารุวรรณ ธรรมวัตร. (2548). วิเคราะห์ภูมิปัญญาอีสาน. กาฬสินธ์: สำนักพิมพ์ จินตาภัณฑ์การพิมพ์.

เด่นพงษ์ วงศาโรจน์. (2543). แนวทางการสร้างสรรค์ผลงานร่วมสมัย, ในศิลปะวิจัย. กรุงเทพมหานคร: สันติศิริการพิมพ์.

ตระกูลพันธ์ พัชรเมธา. (2559). ผลิตภัณฑ์หัตถกรรมกับการพัฒนาสู่สินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย, 36(1), 71-73.

ทิศนา แขมมณี. (2554). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 14). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ยุทธนา แซ่เตียว. (2547). การวัด การวิเคราะห์ และการจัดการความรู้ สร้างองค์กรอัจฉริยะ. กรุงเทพมหานคร: สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ.

รุ่ง แก้วแดง. (2541). การนำภูมิปัญญาไทยเข้าสู่ระบบการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.

วัชรินทร์ จรุงจิตสุนทร. (2548). หลักการและแนวคิดการออกแบบผลิตภัณฑ์. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

วิชัย วงษ์ใหญ่. (2554). การพัฒนาหลักสูตรระดับอุดมศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: บริษัท อาร์แอนด์ ปริ้นจำกัด.

วิรุณ ตั้งเจริญ. (2547). ศิลปะหลังสมัยใหม่. กรุงเทพมหานคร: อีแอนด์ไอคิว.

ศศิพร ต่ายคำ และนรินทร์ สังข์รักษา. (2558). การพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์เพื่อเพิ่มมูลค่าของวิสาหกิจชุมชนจังหวัดราชบุรี. Veridian E - Journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 8(1), 611-616.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบสอง พ.ศ. 2560 - 2564. กรุงเทพมหานคร: สำนักนายกรัฐมนตรี.

อัจฉรา ภาณุรัตน์. (2549). รวมภูมิปัญญาไทย. กรุงเทพมหานคร: อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนพับลิชชิ่ง จำกัด.

Beauchamp, G. A. (1984). Curriculum Theory. (3rd ed.). Lllinois: The Kagg Press.