การมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการของครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการของครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานีเขต 3 2) เปรียบเทียบการมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการของครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานีเขต 3 จำแนก วุฒิการศึกษา ประสบการณ์ และขนาดสถานศึกษา เป็นการวิจัยแบบสำรวจ ประชากรในการวิจัยคือ ครูผู้สอน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานีเขต 3 จำนวนประชากร 2,100 คน กลุ่มตัวอย่าง 324 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางของ เครจซีและมอร์แกน กลุ่มตัวอย่างได้มาโดยการสุ่มอย่างง่ายโดยการจับสลาก ตามระดับชั้นขนาดสถานศึกษา เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูล คือแบบสอบถาม ประกอบด้วย ตอนที่ 1 สอบถามข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม ตอนที่ 2 สอบถามเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการ จำนวน 40 ข้อสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลร้อยละ ค่าเฉลี่ย () และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ทดสอบค่าที แบบอิสระจากกัน การวิเคราะห์ ความแปรปรวนทางเดียว และเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยรายคู่ ด้วยวิธีการของเชฟเฟ่ ผลการวิจัยพบว่า 1) การมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการของครูผู้สอนในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3 โดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (
= 4.27) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือด้านที่ 1 การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา (
= 4.34) รองลงมาคือด้านที่ 2 การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ (
= 4.33) และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือด้านที่ 7 การแนะแนว (
= 4.20) 2) ผลการเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการของครูผู้สอน สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานีเขต 3 จำแนก วุฒิการศึกษา ประสบการณ์ และขนาดสถานศึกษา ผลการเปรียบเทียบพบว่า แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ
Article Details
References
จารุวรรณ หนูขาว. (2560). การมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการของครูโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยพูรพา.
ธันชนก บุตรศิริ. (2560). การมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการของข้าราชการครูในโรงเรียนขยายโอกาส อำเภอศรีราชา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรีเขต 3. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยบูรพา.
ปณิตา ชบา. (2560). การมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการของครูผู้สอนในกลุ่มโรงเรียนบ้านฉางพัฒนาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยองเขต 1. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยบูรพา.
วีระศักดิ วงศ์อินทร์. (2557). การมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการของครูผู้สอน สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏรําไพพรรณ.
ศุภานันต์ บุญชิต. (2560). การมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการของข้าราชการครู สำนักงานเขตหลักสี่ สังกัดกรุงเทพมหานคร. ใน สารนิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนคร.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานีเขต 3. (2563). แผนพัฒนาการศึกษาระยะ 5 ปี (ระยะแรก 2563-2565). เรียกใช้เมื่อ 18 สิงหาคม 2563 จาก https://www.udonthani3.go.th/phaen-yuththsastr.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2550). เรื่องการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษาของเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานไปยังคณะกรรมการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานพ.ศ. 2550. เรียกใช้เมื่อ สิงหาคม 2563 จาก http://www.bankhai.ac.th/ita/pdf/o6_21.pdf
. (2561). คู่มือการปฏิบัติงานของข้าราชการและบุคลากรทางการศึกษารักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. เรียกใช้เมื่อ 16 สิงหาคม 2563 จาก https://www.kroobannok.com/news_file/p17567671203.pdf
Krejcie, R. V. & Morgan, D.W. (1970). Determination sample size for researchactivities. Education and Psychology Measurement, 30(3), 607-610.
Kreps, G. (1990). Organizational Communication: Theory and Practice. New York: Longman.
Likert, R. (1961). The human organization. New York: McGraw-Hill.