การใช้ภาวะผู้นำในการบริหารสถานศึกษาให้มีประสิทธิภาพการพัฒนาผู้เรียนอาชีวศึกษา ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง

Main Article Content

จรุงรัตน์ พันธุ์สุวรรณ
วีระวัฒน์ อุทัยรัตน์

บทคัดย่อ

          บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาอาชีวศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง 2) ศึกษาการบริหารสถานศึกษาให้มีประสิทธิภาพการพัฒนาผู้เรียน และ 3) ศึกษาภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการบริหารสถานศึกษาให้มีประสิทธิภาพการพัฒนาผู้เรียน โดยมีกลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการ การอาชีวศึกษาของรัฐ ที่เปิดสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง จำแนกเป็น ผู้บริหารวิทยาลัยเทคนิค จำนวน 124 คน ผู้บริหารวิทยาลัยการอาชีพ จำนวน 139 คน ผู้บริหารวิทยาลัยสารพัดช่าง จำนวน 52 คน และผู้บริหารวิทยาลัยอาชีวศึกษา จำนวน 37 คน รวมจำนวน 352 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามแบบช่วง จำนวน 1 ฉบับ แบ่งออกเป็น 2 ตอน ได้แก่ ตอนที่ 1 ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง มีค่าเฉลี่ย IOC เท่ากับ 0.9426 และมีค่าสัมประสิทธิ์อัลฟา เท่ากับ 0.973 และตอนที่ 2 การบริหารสถานศึกษาให้มีประสิทธิภาพการพัฒนาผู้เรียนอาชีวศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ค่าเฉลี่ย IOC เท่ากับ 0.9206 และมีค่าสัมประสิทธิ์อัลฟา เท่ากับ 0.987 สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้น ผลการศึกษาพบว่า 1) ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาอาชีวศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ในภาพรวมอยู่ในระดับค่อนข้างมาก 2) การบริหารสถานศึกษาให้มีประสิทธิภาพการพัฒนาผู้เรียนอาชีวศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ในภาพรวมอยู่ในระดับค่อนข้างมาก และ 3) ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการบริหารสถานศึกษาให้มีประสิทธิภาพการพัฒนาผู้เรียนอาชีวศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ด้านการผลิตและพัฒนากำลังคนด้านการอาชีวศึกษาเพื่อสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ แสดงในสมการพยากรณ์ คือ (gif.latex?\hat{Y}) = .925 - .159(X1) + .127(X2) - .114(X14) + .207(X15) + .163(X16) + .168(X19)

Article Details

How to Cite
พันธุ์สุวรรณ จ., & อุทัยรัตน์ ว. (2021). การใช้ภาวะผู้นำในการบริหารสถานศึกษาให้มีประสิทธิภาพการพัฒนาผู้เรียนอาชีวศึกษา ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 8(1), 312–325. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/250033
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2550). เอกสารประกอบการพัฒนาหลักสูตรพัฒนาผู้นำการเปลี่ยนแปลงเพื่อรองรับการกระจายอำนาจสำหรับผู้บริหารการศึกษาและผู้บริหารสถานศึกษา. กรุงเทพมหานคร: องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.).

. (2560). แผนพัฒนาการอาชีวศึกษา พ.ศ. 2560 - 2579. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา.

จุฑามณี ไกรคุณาศัย. (2560). รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยทางการบริหารที่ส่งผลต่อคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาอาชีวศึกษา. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 9(2), 171-182.

วรรณา ด้วงสว่าง. (2560). รูปแบบความสัมพันธ์เชิงโครงสร้างระหว่างภาวะผู้นําการเปลี่ยนแปลง การสร้างพลังเครือข่ายความร่วมมือการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี และความสำเร็จของระบบทวิภาคีของสถานศึกษาอาชีวศึกษาในประเทศไทย. วารสารบทความวิชาการ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี, 28(2), 68-83.

วาระทีดีอาร์ไอ. (2559). มองลึกคุณภาพอาชีวะฯไทย สู่ทางแก้ไขตรงจุด. เรียกใช้เมื่อ 13 มีนาคม 2562 จาก http://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/638574

สมชัย จิตสุชน และคณะ. (2560). การศึกษาตลาดแรงงานไทยเพื่อยกระดับคุณภาพแรงงานและผลักดันประเทศให้พ้นกับดักรายได้ปานกลาง. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).

สุธรรม ธรรมทัศนานนท์. (2554). หลักการทฤษฎีและนวัตกรรมการบริหารการศึกษา. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

เอกรินทร์ สังข์ทอง. (2552). ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ในสังคมพหุวัฒนธรรม : การทบทวนแนวคิดทฤษฎีและการปฏิบัติ. วารสารบทความวิชาการ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี, 20(1), 2-3.

Chin, K. S. & Pun, K. F. (2002). A Proposed Framework for Implementing TQM in Chinese Organizations. International Journal of Quality and Reliability Management, 19(3), 279-294.

Hoy, W. K. & Miskel, C. G. (2011). Education Administration : Theory, Research and Practice. (6th ed.). New York: McGraw – Hill.

Roger J. G. (2014). Transformational Leadership : The Impact on Organizational and Personal Outcomes. Retrieved March 13, 2018, from http://www. regent.edu

Timothy N. A. & Pilgreen. T. (2014). Adopting the transformational leadership perspective in a complex research environment. Retrieved March 13, 2018, from http://www.ncura.edu/content/news/rmr/docs/