การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจและการวิเคราะห์องค์ประกอบ เชิงยืนยันค่านิยมชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูของโรงเรียน ในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สามจังหวัดชายแดนภาคใต้

Main Article Content

เกียรติยศ ศุภชัยรัตน์
ชวลิต เกิดทิพย์
วรลักษณ์ ชูกำเนิด

บทคัดย่อ

            บทความวิจัยฉบับนี้เป็นวิจัยเชิงปริมาณมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจค่านิยมชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพครู ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ 2) เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน ค่านิยมชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพครู ของ โรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยคือ ผู้บริหารโรงเรียน ครูหัวหน้าวิชาการ และครูผู้ปฏิบัติชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ จำนวน 855 คน เครื่องมือในการวิจัยเป็นแบบสอบถามค่านิยมชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพครู ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สามจังหวัดชายแดนใต้ มาตราส่วนประมาณค่าแบบ 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.993 ผลการวิจัยพบว่าการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ ค่านิยมชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพครู ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ประกอบด้วยองค์ประกอบ 4 องค์ประกอบ 1) นำสู่ความสมบูรณ์แบบ (Leaded Integrity) 2) ทำงานด้วยใจกรุณา (Work Passion) 3) พลังความเชื่อร่วมกัน (Empower Belief Sharing) และ 4) จิตสำนึกในที่ทำงาน (Work Place Accountability) การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน ค่านิยมชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพครู ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน สามจังหวัดชายแดนใต้ ผลการวิจัยขั้นการทดสอบความกลมกลืนของโมเดลโครงสร้างค่านิยมชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพครู ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน สามจังหวัดชายแดนใต้ โดยวิธีการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันปรากฏว่ามีความกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ พิจารณาจากค่าไค - สแควร์มีความแตกต่างจากศูนย์อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ( x2 = 0.06, df = 1, p = 0.000) ค่าดัชนีความกลมกลืน (GFI) และ (AGU) จะต้องมีค่ามากกว่า .90 ขึ้นไปและค่าดัชนี (SRMR) น้อยกว่า .05

Article Details

How to Cite
ศุภชัยรัตน์ เ., เกิดทิพย์ ช., & ชูกำเนิด ว. (2021). การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจและการวิเคราะห์องค์ประกอบ เชิงยืนยันค่านิยมชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูของโรงเรียน ในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สามจังหวัดชายแดนภาคใต้. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 8(1), 88–102. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/249609
บท
บทความวิจัย

References

จารุวรรณ สนองญาติ. (2019). ปัจจัยการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของอาจารย์พยาบาล. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 6(9), 4250-4259.

ชาตรี ฝายคำตา. (2561). หันมองการผลิตและพัฒนาครูของประเทศไทยผ่านเลนส์ของนักครุศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 20(4), 291-298.

พฤหัส คงเทศ. (2562). รูปแบบการนิเทศภายในที่สงผลต่อสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงนเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา พิษณุโลก เขต 1. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 21(2), 198-210.

เมธาวรินทร์ สัจจะบริบูรณ์ และศัลยพงศ์ วิชัยดิษฐ์. (2558). การศึกษารูปแบบการเรียนรู้ภวันตภาพสำหรับ ห้องเรียนกลับด้าน: กรณีศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ครั้งที่ 7 จังหวัดนครปฐม. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.

วรลักษณ์ ชูกำเนิด. (2557). รูปแบบชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูสู่การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 บริบทโรงเรียนในประเทศไทย. วารสารหาดใหญ่วิชาการ, 12(2), 123-134.

สุกิจ คูชัยสิทธิ์. (2556). การเข้าสู่โลกยุคใหม่ของข้อมูล “บิ๊กดาต้า”. วารสารนักบริหารมหาวิทยาลัยกรุงเทพฯ, 33(1), 22-25.

สุภมาส อังศุโชติ. (2554). สถิติวิเคราะห์สำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์: เทคนิคการใช้โปรแกรม LISREL. กรุงเทพมหานคร: เจริญดีมั่นคงการพิมพ์.

อัญชลี สุขในสิทธ์. (2560). การประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสมรรถนะครูในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

Birman, B. F. et al. (2000). Designing Professional Development that Work. Educational Leadership, 57(8), 28-33.


Guskey, T. R. (2007). Using assessments to improve teaching and learning. In D. Reevs(Ed.), Ahead of the curve: The power of assessment to transform teaching and learning. (pp. 15 - 30). Bloomingotn: Solution Tree.

Hargreaves, A. (2003). Teaching in the knowledge society: Education in the age of insecurity. New York: Teacher College Press.

Hord, S. M. (1997). Professional learning communities: Communities of continuous inquiry and improvement. Austin: Southwest Educational Development Laboratory.

Jullie, S.(2014). Organizational Climate Affecting the Professional Learning Community of Teachers under Khonkaean Municipality. In Master’s dissertation. Khon Kaen University.

Louis, K. S. (1994). Beyond “managed change”: Rethinking how schools improve. School Effectiveness and school Improvement, 9(1), 1-27.

Schmoker, M. (2004). Learning communities at the crossroads: Toward the bast Schools we’ve ever had. Phi Delta Kappan, 86(1), 84-88.

Sergiovanni, T. (1994). Building a community in schools. San Francisco: Jossey Bass.

. (1998). Leadership as pedagogy, capital development and school effectiveness. International Journal of Leadership in Education, 1(1), 37-46.