ปัจจัยกลยุทธ์การตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรี สาขาวิชาธุรกิจค้าปลีก คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช

Main Article Content

สมาภรณ์ นวลสุทธิ์
สุจินดา พรหมขำ
วันวิสาข์ เพชรบุรี
เสกสรรค์ วีระสุข

บทคัดย่อ

          บทความวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) เพื่อศึกษาปัจจัยกลยุทธ์การตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรี สาขาวิชาธุรกิจค้าปลีก คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช และ 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเภทของสถานศึกษาที่สำเร็จการศึกษากับปัจจัยกลยุทธ์การตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรี สาขาวิชาธุรกิจค้าปลีก คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช เป็นวิจัยแบบเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ นักศึกษาสาขาวิชาธุรกิจค้าปลีก คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช จำนวน 70 คน การสุ่มตัวอย่างแบบสะดวกโดยใช้แบบสอบถาม เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที ผลการวิเคราะห์ พบว่า 1) ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ด้านกลุ่มเรียน พบว่า ส่วนใหญ่เรียนรู้ทฤษฎีที่มหาวิทยาลัยก่อน และด้านประเภทโรงเรียนที่สำเร็จการศึกษาส่วนใหญ่ จบรัฐบาล 2) ผลการวิเคราะห์ปัจจัยกลยุทธ์การตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรี สาขาวิชาธุรกิจค้าปลีก คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช พบว่า ภาพรวมอยู่ในระดับมาก และ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างประเภทของสถานศึกษาที่สำเร็จการศึกษา กับปัจจัยกลยุทธ์การตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรี สาขาวิชาธุรกิจค้าปลีก คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช พบว่า มีค่าความแปรปรวนของปัจจัยกลยุทธ์การตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรี สาขาวิชาธุรกิจค้าปลีก คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช โดยภาพรวม ไม่แตกต่างกัน ซึ่งมีค่ามากกว่าระดับนัยสำคัญ 0.05

Article Details

How to Cite
นวลสุทธิ์ ส., พรหมขำ ส., เพชรบุรี ว., & วีระสุข เ. (2021). ปัจจัยกลยุทธ์การตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรี สาขาวิชาธุรกิจค้าปลีก คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 8(1), 76–87. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/249607
บท
บทความวิจัย

References

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2544). หลักสถิติ. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.

ทิพวรรณ หล่อสุวรรณรัตน์. (2549). ทฤษฎีองค์การสมัยใหม่ . (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ร ตนไตร.

ธธีร์ธร ธีรขวัญโรจน์. (2559). การตลาดบริการ. (พิมพ์ครั้งที่14). กรุงเทพมหานคร: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

พรพรรณ ยาใจ. (2550). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการตัดสินใจของนักศึกษา ต่างชาติในการเข้ามาเป็นนักศึกษาแลก
เปลี่ยนในประเทศไทย. เรียกใช้เมื่อ 12 มกราคม 2563 จาก http://www.research.rmutt.ac.th/?p=2862

สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2546). กฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษากระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546. เรียกใช้เมื่อ 12 มกราคม 2563 จาก http://law.longdo.com/law/499/sub36125

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2540). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 พ.ศ. 2555-2559. เรียกใช้เมื่อ 12 มกราคม 2563 จาก https://www.nesdc.go.th/download/article/article_20160323112431.pdf

อุทุมพร ไวฉลาด และจงดี โตอิ้ม. (2559). ได้ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจศึกษาต่อระดับบัณฑิตศึกษาของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 10(2), 165-077.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Manz, C. C. & Sims, H. P. (1991). Super leadership:Beyond the myth of heroic leadership in organizational dynamics. New York: American Management Association.

Rovinelli, R. J. & Hambleton, R. K. (1977). On the use of content specialists in the assessment of criterion-referenced test item validity. Tijdschrift voor Onderwijsresearch, 2(2), 49–60.