บทบาทของพยาบาลในการเสริมสร้างทักษะ EF (การคิดเชิงบริหารและจัดการชีวิต) ในเด็กปฐมวัย

Main Article Content

ศิราณี อิ่มน้ำขาว
จีระวรรณ ศรีจันทร์ไชย

บทคัดย่อ

        บทความฉบับนี้กล่าวถึงบทบาทของพยาบาลวิชาชีพ ในการป้องกันและแก้ปัญหาพัฒนาการล่าช้าในเด็กก่อนวัยเรียนหรือเด็กปฐมวัย ซึ่งเป็นบทบาทของผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนในการมีส่วนร่วมแก้ไขปัญหา และส่งเสริมพัฒนาการ นอกจากต้องส่งเสริมพัฒนาการ 4 ด้าน ปัจจุบันพบว่าการเสริมสร้างทักษะ EF (การคิดเชิงบริหารและจัดการชีวิต: Executive Functions: EF) มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง นอกเหนือจากบทบาทของผู้ปกครองในการส่งเสริมพัฒนาการเด็กที่บ้าน ครูพี่เลี้ยงที่ดูแลเด็กในสถานพัฒนาเด็กแล้วถือเป็นสิ่งท้าทายสำหรับพยาบาลที่ต้องส่งเสริมให้เด็กเกิดกระบวนการทางความคิด กระตุ้นการทำงานของสมองส่วนหน้าในการทำงานเชื่อมประสานกับสมองส่วนอื่น ๆ และส่งผลต่อพัฒนาการทุกด้านของเด็กก่อนวัยเรียน เกี่ยวข้องกับการจัดการด้านความคิด ความรู้สึกและการกระทำ รวมถึงการจัดลำดับความสำคัญของงาน วางเป้าหมายและทำเป็นขั้นตอนจนสำเร็จตามวัยและพัฒนาการ ช่วงอายุ 3 - 6 ปี ถือเป็นโอกาสทองในการฝึกฝนทักษะด้าน EF เนื่องจากเป็นช่วงวัยทองของชีวิต มีการเจริญเติบโตและพัฒนาการโดยเฉพาะสมองเจริญสูงสุด ซึ่งจะส่งผลให้เด็กเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณค่าต่อสังคม โดยทักษะ EF แบ่งเป็น 3 กลุ่มทักษะรวม 9 ด้าน คือ 1) กลุ่มทักษะพื้นฐาน ได้แก่ ความจำที่นำมาใช้งาน การยับยั้งชั่งใจ และการยืดหยุ่นทางความคิด 2) กลุ่มทักษะกำกับตนเอง ได้แก่ การใส่ใจจดจ่อ การควบคุมอารมณ์ และการรู้จักและตรวจสอบตนเอง และ 3) กลุ่มทักษะปฏิบัติ ได้แก่ การริเริ่มลงมือทำงาน การวางแผนและการจัดระบบดำเนินการและความพากเพียรมุ่งสู่เป้าหมาย เพื่อสร้างรากฐานกระบวนการคิด การตัดสินใจ และส่งผลให้เด็กในวันนี้ เป็นคนที่ประสบความสำเร็จได้ในอนาคต และมีความสุข

Article Details

How to Cite
อิ่มน้ำขาว ศ., & ศรีจันทร์ไชย จ. (2021). บทบาทของพยาบาลในการเสริมสร้างทักษะ EF (การคิดเชิงบริหารและจัดการชีวิต) ในเด็กปฐมวัย. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 8(1), 229–244. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/249602
บท
บทความวิชาการ

References

กรมสุขภาพจิต. (2559). รายงานประจำปีกรมสุขภาพจิต ปี 2559. เรียกใช้เมื่อ 15 พฤศจิกายน 2563 จาก www.dmh.go.th/ebook

กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2561). แนวทางการดําเนินงานปี 2561 - 2564 คณะอนุกรรมการส่งเสริมการพัฒนาเด็กปฐมวัย ระดับจังหวัดและกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพมหานคร: กรมกิจการเด็กและเยาวชน.

กองการพยาบาล. (2561). บทบาทหน้าที่ของพยาบาลวิชาชีพ. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหาคร: สำนักพิมพ์สื่อตะวัน จำกัด.

นวลจันทร์ จุฑาภักดีกุล และคณะ. (2560). การพัฒนาและหาค่าเกณฑ์มาตรฐานเครื่องมือประเมินการคิดเชิงบริหารในเด็กปฐมวัย. กรุงเทพมหานคร: โครงการวิจัยทุนอุดหนุนจากสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.

นิตยา คชภักดี. (2551). พัฒนาการเด็ก. ใน นิชรา เรืองดารกานนท์, ชาคริยา ธีรเนตร, รวิวรรณ รุ่งไพรวัลย์, ทิพวรรณ หรรษคุณาชัย (บรรณาธิการ). ตำราพัฒนาการและพฤติกรรมเด็ก (หน้า 359-364). กรุงเทพมหานคร: บริษัท โฮลิสติก พับลิชชิ่ง จำกัด.

เยาวนาฏ ผลิตนนท์เกียรติและคณะ. (2561). คู่มือจัดกิจกรรมเสริมสร้างอีคิวนักเรียนสำหรับครูโรงเรียนประถมศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่4). กรุงเทพมหานคร : บริษัทแมสซีฟ โมชั่น จํากัด.

ศิราณี อิ่มน้ำขาว และพูลสุข ศิริพูล. (2563). การคิดเชิงบริหารและจัดการชีวิตในเด็กปฐมวัย:การวิเคราะห์มโนทัศน์. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 30(3), 10-22.

สถาบันราชานุกูล กรมสุขภาพจิต. (2559). คู่มือการจัดกิจกรรมการเสริมสร้างความผูกพัน ทางอารมณ์สำหรับพ่อแม่หรือผู้เลี้ยงดูเด็กวัยแรกเกิด 5 ปี ด้วย "กิน กอด เล่น เล่า". (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ และสถาบันอาร์แอลจี. (2561). คู่มือพัฒนาทักษะสมอง EF Executive Functions สำหรับครูปฐมวัย. กรุงเทพมหานคร: สถาบันอาร์แอลจี.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2561). แนวแนะวิธีการเลี้ยงดู ดูแลและพัฒนาการเด็กปฐมวัย ตามสมรรถนะเพื่อเพิ่มคุณภาพเด็กตามวัย 0-5 ปี. กรุงเทพมหานคร: บริษัทพริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

สุภาวดี หาญเมธี. (2558). EF ภูมิคุ้มกันชีวิตและแก้ปัญหายาเสพติดคู่มือสำหรับครูอนุบาล. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร: บริษัท พิมพ์ดีจำกัด.

Lewis, C. & Carpendale, J. I. (2009). Introduction: Links between social interaction and executive function. New directions for child and adolescent development. 2009(123), 1-15.

Miller, E. K. & Cohen, J. D. (2001). An integrative theory of prefrontal cortex function . Annual Review of Neuroscience, 24(1), 167-202.