แนวคิดการทำงานร่วมกันในการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

Main Article Content

ไพรัช ทับทิม

บทคัดย่อ

สิ่งแวดล้อมเป็นปัญหาที่ทั่วโลกให้ความสำคัญควบคู่ไปกับการพัฒนาอุตสาหกรรม แต่จะต้องมีการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างมีประสิทธิภาพ ภาคอุตสาหกรรมนับเป็นโครงสร้างทางเศรษฐกิจ ที่นำความมั่งคั่ง ความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของแต่ละประเทศ และยังเป็นปัจจัยที่สำคัญของการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน การพัฒนาที่ยั่งยืนหมายถึง การพัฒนาที่คำนึงถึงความเสียหายของสิ่งแวดล้อม มีการป้องกันปัญหาที่เกิดกับสิ่งแวดล้อม หรือหากเกิดความเสียหายจะต้องน้อยที่สุด การพัฒนาที่ยั่งยืนต้องสมดุลกับสิ่งแวดล้อมจะต้องดำเนินการใน รูปแบบที่มีการบำรุงรักษา เพื่อให้กลับคืนสู่สภาพปกติหรือใกล้เคียงของเดิม ซึ่งมีองค์ประกอบของการพัฒนาที่ยั่งยืน คือ 1) อนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ 2) มีการพัฒนาระบบเศรษฐกิจอุตสาหกรรมที่ดีอย่างต่อเนื่อง 3) มีคุณภาพชีวิตที่ ดีของประชาชน เช่น อยู่ดี กินดี มีอากาศดี ปราศจากมลพิษ การพัฒนาภาคอุตสาหกรรมที่ดี ต้องควบคู่กับการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนจึงจะเป็นการตอบสนองการเปลี่ยนแปลงของระบบเศรษฐกิจภาคอุตสาหกรรมที่มีประสิทธิภาพ โดยมีเป้าหมายในการพัฒนาอุตสาหกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มีการสร้างจิตสำนึกและค่านิยม พัฒนา ฟื้นฟู อนุรักษ์ เพื่อสร้างความตระหนักในการรักษาสิ่งแวดล้อม และส่งเสริมสนับสนุนการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงาน   ทุกภาคส่วน เช่น ภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม เพื่อร่วมกันทำงานในการแก้ไขปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม ดังนั้น ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนจะต้องทำงานร่วมกันในการกำหนดมาตรการดูแลรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมและควบคุมมลพิษที่เกิดจากภาคอุตสาหกรรม ซึ่งมีผลต่อการดำรงชีวิตของประชาชนอย่างเคร่งครัด เพื่อเป็นกรอบของการพัฒนาการทำงานร่วมกันในการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

Article Details

How to Cite
ทับทิม ไ. . (2020). แนวคิดการทำงานร่วมกันในการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 7(12), 451–464. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/249127
บท
บทความวิชาการ

References

เกษม จันทร์แก้ว. (2545). การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม. กรุงเทพมหานคร: วิทยาลัยสิ่งแวดล้อมมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

เทเวศ อร่ามเรือง. (2551). การนำนโยบายอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมไปปฏิบัติของเทศบาลเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี. ใน วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการปกครองท้องถิ่น. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555 - 2559). (2554). ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 128 ตอนพิเศษ 152 ง. หน้า 2-183 (14 ธันวาคม 2554).

โสภารัตน์ จารุสมบัติ. (2546). การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชัยยศ อิ่มสุวรรณ์. (2543). การพัฒนารูปแบบการศึกษาชุมชนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน. ใน ดุษฎีนิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาสารัตถศึกษา. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธรรมจรรย์ ตุลยธำรง. (2546). การมีส่วนร่วมของคณะกรรมการชุมชนในการจัดการสิ่งแวดล้อม: กรณีศึกษา เทศบาลภายในเขตอำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. ใน วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการทัพยากร. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน). (2562). ประวัติการสำรวจปิโตรเลียมในประเทศไทย. เรียกใช้เมื่อ 30 ตุลาคม 2562 จาก https://www2.pttep.com/ Energyliteracy/PTTEP/issue.aspx?id=22

ประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์. (2546). การพัฒนาที่ยั่งยืน ต้องอยู่บนพื้นฐานทรัพยากรของตนเอง. วารสารเศรษฐกิจและสังคม, 40(2), 9-13.

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2549). การพัฒนาที่ยั่งยืน. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิโกมลคีมทอง.

พัชรี สิโรรส. (2552). ร่วมด้วยช่วยกันในการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม ในรัฐศาสตร์ธรรมศาสตร์ 60 ปี/รัฐศาสตร์ 30 ปี (เล่ม 3). ปทุมธานี: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์.

ศรัณยพงศ์ เที่ยงธรรม. (2554). Collborative Markketing (Marketeer/03/49). เรียกใช้เมื่อ 10 กันยายน 2562 จาก http://marketeer.co.th/inside_detail.php?inside _id=4040

สาวิตต์ โพธิวิหก และสมเจตน์ เตรคุพ. (2526). ชายฝั่งทะเลตะวันออก: โอกาสใหม่สำหรับอุตสาหกรรม. วารสารเศรษฐกิจและสังคม, 20(3), 11-16.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. (2535). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 7 พ.ศ. 2535 - 2539. กรุงเทพมหานคร: สำนักนายกรัฐมนตรี.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2557). คำแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรีต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เมื่อวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2557. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ.

Brundtland Commission. (1987). Our Common Future: Report of the World Commission on Environment and Development”. Retrieved October 20, 2019, from http://www.un-documents.net/our-common-future.pdf

Sounder, W. E. (1993). Getting together: A State - of - the Art Review of the Challenges and Reward of Consortia. International Journal of Technology Management, 8(6/7/8), 784-801.

Yomi, N. (1991). Environmental education for sustainable development: Synthesis of worldenvironment day. Glasgow, Scotland: Jordan hill College.