รูปแบบการส่งเสริมสุขภาพตามหลักภาวนา 4 สำหรับโรงเรียนผู้สูงอายุ วัดหนองไม้แก่น อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมสุขภาพ 2) ศึกษาการส่งเสริมสุขภาพ และ 3) เสนอรูปแบบการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุโรงเรียนผู้สูงอายุที่วัดหนองไม้แก่น อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี ตามหลักภาวนา 4 เป็นการวิจัยเชิงผสม ประกอบด้วยวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ ผู้สูงอายุโรงเรียนผู้สูงอายุวัดหนองไม้แก่น จำนวน 65 คน โดยการสุ่มแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม แบบมาตราส่วนประมาณค่า และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบแบบที และวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วยการศึกษาเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนากลุ่มกับผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้นำชุมชนและกรรมการบริหารโรงเรียนผู้สูงอายุวัดหนองไม้แก่น จำนวน 7 รูป/คนการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) พฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มตัวอย่าง มีการปฏิบัติมากที่สุด คือ จิตภาวนา รองลงมา คือ ศีลภาวนา ปัญญาภาวนาและกายภาวนา 2) การส่งเสริมสุขภาพของกลุ่มตัวอย่าง มีรายละเอียดดังนี้ 2.1) การส่งเสริมสุขภาพก่อนการให้ความรู้ มีการปฏิบัติมาก คือ จิตภาวนา รองลงมา คือ ศีลภาวนา กายภาวนาและปัญญาภาวนา 2.2) การส่งเสริมสุขภาพหลังการให้ความรู้ มีการปฏิบัติมาก คือ กายภาวนา รองลงมา คือ ศีลภาวนา จิตภาวนาและปัญญาภาวนา 2.3) การเปรียบเทียบการส่งเสริมสุขภาพก่อนการให้ความรู้และหลังการให้ความรู้ พบว่า ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3) รูปแบบการส่งเสริมสุขภาพของกลุ่มตัวอย่าง พบว่า รูปแบบการส่งเสริมสุขภาพ ตามหลักภาวนา 4 ส่งผลให้ผู้สูงอายุเข้าใจและสามารถปฏิบัติตามรูปแบบทั้ง 4 ด้านได้เป็นอย่างดี ทั้ง กายภาวนา ศีลภาวนา จิตภาวนาและปัญญาภาวนา
Article Details
References
เบญจมาศ นาควิจิตร. (2551). ปัจจัยทางจิตสังคมที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองและความสุขของผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุของโรงพยาบาลสังกัดสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร. ใน วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
กรมอนามัย. (2556). รายงานการสำรวจสุขภาวะผู้สูงอายุไทย ปี 2556 ภายใต้แผนงานส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุและผู้พิการ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์วัชรินทร์ พี.พี.
กันยา วงศ์ชัยวัฒน์. (2561). แนวทางการประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุหลังเกษียณอายุ. ใน ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ชื่น เตชามหาชัย. (2560). งานผู้สูงอายุในแผนพัฒนาสาธารณสุข ฉบับที่ 8 และโครงการต่าง ๆ ของกรมอนามัย. เรียกใช้เมื่อ 3 กันยายน 2560 จาก http://Advisor.anamai.moph. go.th/main.php?Filename=J.HealthVol20No2_08)
พระกองสี ญาณธโร (พรมโพธิ์). (2560). ศึกษาวิเคราะห์การดำเนินชีวิตตามหลักภาวนา 4 ในพระพุทธศาสนา. ใน วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหาสุทิตย์ อาภากโร. (2558). การเสริมสร้างสุขภาวะและการเรียนรู้ของสังคมตามแนวพระพุทธศาสนา. ใน รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระสราวุฒิ ปญฺญาวุฑฺโฒ. (2560). การพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุตามแนวพระพุทธศาสนา ในเขตเทศบาลตำบลวังหงส์ อำเภอเมือง จังหวัดแพร่. วารสาร มจร. พุทธปัญญาปริทรรศน์, 6(2), 50-65.
วิภาพร สิทธิสาตร์. (2550). พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุในชุมชน เขตความรับผิดชอบสถานีอนามัยบ้านเสาหิน ตำบลวัดพริก อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก. ใน วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาพยาบาลศาสตร์. วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีพุทธชินราช.
ศิริวรรณ ศิริบุญ. (2538). การตอบสนองของชุมชน ต่อปัญหาด้านสุขภาพของผู้สูงอายุ. ใน รายงานการวิจัย. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12. เรียกใช้เมื่อ 3 กันยายน 2560 จาก http://www.nesdb.go.th/ewtdllink.php?Nid=6422
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2560). สำมะโนประชากรและเคหะ พ.ศ. 2553 (ทั่วราชอาณาจักร). เรียกใช้เมื่อ 3 กันยายน 2560 จาก http://popcensus.nso.go.th/
อนุกูล บุญรักษา. (2554). การพัฒนามนุษย์ตามหลักภาวนา 4 ของกองบัญชาการมณฑลทหารบกที่ 31. ใน วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Journal Education and Psychology Measurement, 3(30), 607-610.