รูปแบบการพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้ที่เน้นทักษะการคิดวิเคราะห์ เครือข่ายสถานศึกษา สินปุน - ตาปี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 3
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการจัดการเรียนรู้ที่เน้นทักษะการคิดวิเคราะห์ ของครู 2) สร้างรูปแบบการพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้ที่เน้นทักษะการคิดวิเคราะห์ และ 3) ประเมินรูปแบบการพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้ที่เน้นทักษะการคิดวิเคราะห์ การวิจัยมี 3 ขั้นตอน ประกอบด้วย ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสภาพการจัดการเรียนรู้ที่เน้นทักษะการคิดวิเคราะห์ของครู ขั้นตอนที่ 2 สร้างรูปแบบการพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้ที่เน้นทักษะการคิดวิเคราะห์ ขั้นตอนที่ 3 ประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบการพัฒนาครู กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูและบุคลากรทางการศึกษาในเครือข่ายสถานศึกษาสินปุน - ตาปี จำนวน 113 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม และแบบประเมินความเหมาะสมและ ความเป็นไปได้ของรูปแบบ มีค่าความเชื่อมั่น 0.89 และ 0.93 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการจัดการเรียนรู้ที่เน้นทักษะการคิดวิเคราะห์ของครู โดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับปานกลาง เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย ได้แก่ ด้านการวัดและประเมินผลทักษะการคิดวิเคราะห์ ด้านความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับทักษะการคิดวิเคราะห์ ด้านการดำเนินการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นทักษะการคิดวิเคราะห์ และด้านการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นทักษะการคิดวิเคราะห์ 2) ผลการพัฒนารูปแบบการพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้ที่เน้นทักษะการคิดวิเคราะห์ พบว่า มี 4 องค์ประกอบ คือ 2.1) หลักการและเหตุผล 2.2) วัตถุประสงค์ 2.3) วิธีการพัฒนา และ 2.4) การวัดและประเมินผล และ 3) ผลการประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบพบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมาก
Article Details
References
บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.
รักษ์มณี สารเสวก. (2562). การพัฒนาโปรแกรมการพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้ของครู กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 28. ใน วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
วรรณภร ศิริพละ. (2559). รูปแบบการพัฒนาครูของมหาวิทยาลัยราชภัฏ. ใน ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยสยาม.
วิเชียร สมชาย. (2561). การพัฒนาโปรแกรมพัฒนาครูด้านการพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ของผู้เรียนสำหรับสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1. ใน วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สมมาตย์ ศรีจันทร์. (2560). แนวทางการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 7. ใน วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2553). แนวทางการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
อาภรณ์ ภู่วิทยพันธุ์. (2552). การจัดทำแผนพัฒนารายบุคคล (Individual plan). กรุงเทพมหานคร: เอช อาร์ เซ็นเตอร์.
อุดมพร ทองคำ. (2555). การวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาศักยภาพการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูโรงเรียนส่องดาววิทยาคม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมเขต 23. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
Cronbach, L. J. (1990). Essentials of psychological testing. (3rd ed.). NY: Harper & Collins.
Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Journal Education and Psychology Measurement, 3(30), 607-610.
Likert, R. (1992). New pattern of management. New York, NY: McGraw-Hill.