บทบาทหน้าที่ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ต่อการส่งเสริมสุขภาพประชาชน ตำบลขุนทะเล อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี

Main Article Content

สุธิสา กรายแก้ว
ภัชลดา สุวรรณนวล
สุภาภรณ์ โสภา
พระครูธีรธรรมพิมล .

บทคัดย่อ

       บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1)/เพื่อศึกษาบทบาทหน้าที่ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน/2)/เพื่อเปรียบเทียบบทบาทหน้าที่ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน 3)/เพื่อศึกษาปัญหาข้อเสนอแนะบทบาทหน้าที่ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย/คือ อาสาสมัครในเขตตำบลขุนทะเล/อำเภอเมืองจังหวัดสุราษฎร์ธานี จำนวน 139 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการศึกษาซึ่งมีค่าความเชื่อมั่น 0.903 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ/ค่าร้อยละ/ค่าเฉลี่ย/และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน/และสถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวน ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่  เป็นส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงมีอายุ 36 - 50 ปี มีการศึกษาระดับมัธยมศึกษา/ประกอบอาชีพธุรกิจส่วนตัว/ค้าขาย/มีรายได้ต่อเดือน 10,001 - 15,000 บาท และระยะเวลาที่ปฏิบัติงานในตำแหน่ง อสม./มากกว่า 10 ปี บทบาทหน้าที่ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับจากมากไปน้อย ดังนี้/ด้านการส่งเสริมสุขภาพ/ด้านการป้องกันโรค/        ด้านการฟื้นฟู/และด้านการรักษา ผลการเปรียบเทียบ พบว่า อาสาสมัครที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา/อาชีพ รายได้ต่อเดือน และระยะเวลาที่ปฏิบัติงานในตำแหน่ง อสม. ต่างกัน/มีบทบาทหน้าที่ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ผลจากวิจัยครั้งนี้ ใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาบทบาทหน้าที่ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ในด้านสาธารณสุขและสุขภาพของประชาชน เพื่อให้ประชาชนสามารถดูแลตนเองตามหลักการการส่งเสริมสุขภาพได้อย่างถูกต้อง อันจะนำมาซึ่งการปฏิบัติงานเพื่อสร้างประสิทธิภาพให้เกิดประสิทธิผลต่อชุมชนอย่างยั่งยืนต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. (2563). คุณภาพบริการด้านสาธารณสุข. เรียกใช้เมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2563 จาก http://www.thaispa.go.th/spa2013/

กฤษยาภัสสร์ ขาวปทุมทิพย์. (2556). การมีส่วนร่วมของอาสาสมัครสาธารณสุขในการส่งเสริมสุขภาพของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล อำเภอพุธมณฑล จังหวัดนครปฐม. ใน รายงานวิจัย. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ชนิดา เตชะปัน. (2561). ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในการดำเนินงานด้านสุขศึกษาชุมชนในเทศบาลตำบลป่าไผ่ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่. ใน รายงานวิจัย. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

เทศบาลตำบลขุนทะเล. (2563). บริบทเทศบาลตำบลขุนทะเล. เรียกใช้เมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2563 จาก http://www.khuntalae.go.th/content

นัฏจภัส มธุรส. (2549). การปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจําหมู่บ้านในค่ายนวมินทราชินี อําเภอเมือง จังหวัดชลบุรี. ใน รายงานวิจัย. มหาวิทยาลัยบูรพา.

วารุณี แสงวัฒน์. (2553). บทบาทที่คาดหวังและบทบาทที่เป็นจริงของอาสาสมัครสาธารณสุข ประจำหมู่บ้าน ในเขตอำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ. ใน รายงานวิจัย. มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.

วินัย แก้วพรหม. (2553). ความคาดหวังต่อบทบาทและการปฏิบัติงานจริงของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในงานสาธารณสุขมลูฐานตามทัศนะของประชาชนในตำบล โพธิ์ไทย อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี. ใน รายงานวิจัย. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

สุพัตรา ศรีชุม. (2560). การมีส่วนร่วมของชุมชนต่อการจัดการแหล่งท่องเที่ยว: กรณีศึกษาอำเภอ อินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี. ใน รายงานวิจัย. มหาวิทยาลัยบูรพา.

สุวภัทร นักรู้กำพลพัฒน์ และคณะ. (2560). ประสบการณ์อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ในการดูแลผู้ป่วยเบาหวานในชุมชน. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 21(1), 109-116.

อธิชนันท์ บุญธรรม. (2562). แนวทางส่งเสริมการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก. วารสารการประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 2 สถาบันวิจัยและพัฒนา, 1(1), 367-378.