ความคิดยืดหยุ่นทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนในชั้นเรียนคณิตศาสตร์ ที่ใช้การศึกษาชั้นเรียนและวิธีการแบบเปิด
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดยืดหยุ่นทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนในชั้นเรียนคณิตศาสตร์ที่ใช้การศึกษาชั้นเรียนและวิธีการแบบเปิด ระเบียบวิจัยเชิงคุณภาพเน้นการวิเคราะห์โพรโตคอลและการบรรยายเชิงวิเคราะห์ กลุ่มเป้าหมายคือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ปีการศึกษา 2562 ผู้วิจัยในฐานะครูผู้สอนและทีมการศึกษาชั้นเรียนประกอบด้วยครูประจำการและนักศึกษาระดับปริญญาโทได้นำการศึกษาชั้นเรียนและวิธีการแบบเปิดตามแนวคิดของไมตรี อินทร์ประสิทธิ์ ไปใช้ในชั้นเรียนตั้งแต่กลุ่มเป้าหมายอยู่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เพื่อเป็นการเตรียมบริบทชั้นเรียนคณิตศาสตร์แบบใหม่ ข้อมูลที่ใช้วิเคราะห์ ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้เรื่องพื้นที่ โพรโตคอลชั้นเรียน ผลงานของนักเรียน บันทึกการสังเกตการสอน และบันทึกการสะท้อนผล วิเคราะห์ข้อมูลตามกรอบแนวคิดของ Imai ผลวิจัยพบว่านักเรียนมีความคิดยืดหยุ่นทางคณิตศาสตร์เพิ่มมากขึ้น โดยวิเคราะห์เริ่มจากขั้นสร้างแผนการสอนร่วมกันมีการคาดการณ์แนวคิดที่จะเกิดขึ้น ขั้นสังเกตการสอนร่วมกันทีมสังเกตการสอนตามขั้นตอนของวิธีการแบบเปิดพบแนวคิดทั้งหมด 7 แนวคิด คือ การเปรียบเทียบพื้นที่โดยตรง, การสร้างตารางสี่เหลี่ยมจัตุรัส, การแปลงรูปพื้นที่, การใช้สูตรการหาพื้นที่รูปสี่เหลี่ยม, การหาพื้นที่โดยการบวก, การหาพื้นที่โดยการคูณ, การใช้ความกว้างหรือความยาว ขั้นสะท้อนผลการสอนร่วมกันพบว่านักเรียนบรรลุเป้าหมายชั้นเรียน ส่วนความคิดยืดหยุ่นทางคณิตศาสตร์ในระยะแรกมีแนวคิดไม่หลากหลาย แต่เมื่อใช้ครบหนึ่งปีการศึกษาพบแนวคิดในการแก้ปัญหาที่หลากหลายมากขึ้น บางกิจกรรมเกิดแนวคิดที่ทีมไม่ได้คาดการณ์ ทำให้ทีมเรียนรู้แนวคิดต่าง ๆ และคาดการณ์แนวคิดของนักเรียนได้คลอบคลุมมากขึ้น
Article Details
References
ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์. (2561). การศึกษาชั้นเรียนด้วยวิธีการแบบเปิด: PLC ภาคปฏิบัติจริงในโรงเรียน (Open Approach Lesson Study: An Authentic PLC Practice in School). ขอนแก่น: สถาบันวิจัยและพัฒนาวิชาชีพครูสำหรับอาเซียน.
จุฬาลักษณ์ ใจอ่อน. (2551). การวิเคราะห์การก้าวข้ามภาวะยึดติดในสถานการณ์การแก้ปัญหาปลายเปิดโดยอาศัยการประเมินความคิดสร้างสรรค์. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตรศึกษา. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ประเวศ วะสี. (2544). ยุทธศาสตร์ทางปัญญาและการปฏิรูปการศึกษาที่พาประเทศพ้นวิกฤต. กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค.
ปิติพงษ์ วิริยาภรณ์ประภาส. (2560). ความคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ในชั้นเรียนคณิตศาสตร์ที่ใช้การศึกษาชั้นเรียนและวิธีการแบบเปิด. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2561). คู่มือการใช้หลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 ระดับประถมศึกษา. กรุงเทพมหานคร: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.
Becker, J. P. & Shimada, S. (1997). The Open - Ended Approach: A New Proposal for Teaching Mathematics. Reston, Virginia: National Council of Teachers of Mathematics.
mai, T. (2000). The relationships between fluency and flexibility of divergent thinking in open ended mathematics situation and overcoming fixation in mathematics on Japanese junior high school. In T. Nakahara, M.Koyama (Eds.), Proceedings of the 24th Conference of the International Group for the Psychology of Mathematics Education. Hiroshima, Japan: Hiroshima University.
Inprasitha, M. (2010). One Feature of Adaptive Lesson Study in Thailand - Designing Learning Unit. In Proceeding of the 45th Korean National Meeting of Mathematics Education Donggok University. Donggok University.
Inprasitha, M. (2011). Lesson Study as an Innovation for Teacher Professional Development: A Decade of Thailand Experience Paper presentation at ICER2011, Faculty of Education. Khon Kaen: Khon Kaen University.
National Council of Teacher of Mathematics (NCTM). (2000). Principles and Standards for School Mathematics. Washington D.C.: National Academy Press.
Nohda, N. (2000). Teaching by open - approach method in Japanese mathematics classroom. In Proceeding of the 24th conference of the international Group for the Psychology of Mathematics Education. Hiroshima, Japan: Hiroshima University.
Saito & Akita. (2004). How to evaluate students, creativity and attitude. In Documentation of the first annual conference of the Mathematics Education Research Partnership. Khon Kaen: Khon Kaen University.
Shimizu, Y. (2007). Lesson study: What, why, and how? In H. Bass, Z. Usiskin, & G. Burill (Eds.), Studying classroom teaching as a medium for professional development: Proceedings of a US - Japan Workshop (pp. 53 - 57). Atlanta, GA: National Academices Press.
The Partnership for 21st Century Learning. (2015). Framework for 21st Century Learning. Retrieved May 14, 2018, from http://www.P21.org