ความสัมพันธ์ระหว่างความภาคภูมิใจในตนเองและคุณภาพชีวิต ของผู้สูงอายุที่มีโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความภาคภูมิใจ ในตนเองกับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่มีโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง กลุ่มตัวอย่างคือผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปี ขึ้นไปที่มีโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (ความดันโลหิตสูง เบาหวาน หัวใจและหลอดเลือด และไขมันในเส้นเลือด) จำนวน 517 คน คำนวณโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป G* power สุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบวัดความภาคภูมิใจในตนเอง ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นจากแนวคิดของโรเซนเบิร์ก (Rosenberg Self - Esteem Scale) และ 2) แบบประเมินคุณภาพชีวิต ผู้วิจัยพัฒนาจากแนวคิดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลก และแนวคำถามของแบบประเมินคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ (WHOQOL - OLD) มีความตรงเชิงเนื้อหา (Content Validity) เท่ากับ .82 และ .80 ค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค เท่ากับ 0.71 และ .88 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัย พบว่า 1) ความภาคภูมิใจในตนเองของผู้สูงอายุที่มีโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในภาพรวมอยู่ในระดับสูง ( = 3.10, S.D. = .41) 2) ระดับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุโดยรวมอยู่ในระดับดี (
= 109.58, S.D. = 9.38) ความภาคภูมิใจในตนเองมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับปานกลางกับคุณภาพชีวิตโดยรวม (r = .549) และมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับต่ำ – ปานกลางกับคุณภาพชีวิต รายด้าน (r = .414 - .649) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01 แต่พบว่าความภาคภูมิใจในตนเองมีความสัมพันธ์ในทางลบระดับต่ำมากกับคุณภาพชีวิตในด้านการเผชิญหน้ากับความตาย (r = .281) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01 และไม่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตด้านร่างกาย
Article Details
References
งานเทคโนสารสนเทศ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครศรีธรรมราช. (2561). สถิติผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง. นครศรีธรรมราช: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครศรีธรรมราช.
ชุติมา สินชัยวณิชกุล และจิราพร เกศพิชญวัฒนา. (2561). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการสูงวัยอย่างมีสุขภาวะ ของผู้สูงอายุในชุมชนเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารพยาบาลทหารบก, 19(ฉบับพิเศษ), 100-109.
ทัศนีย์ กาศทิพย์ และคณะ. (2562). ภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุที่มีภาวะบกพร่องเล็กน้อย. วารสารสภาการพยาบาล, 34(1), 104-121.
ประเสริฐ อัสสันตชัย. (2552). ปัญหาสุขภาพที่พบบ่อยในผู้สูงอายุและการป้องกัน. กรุงเทพมหานคร: ยูเนี่ยน คริเอชั่น.
ปรางทิพย์ ภักดีคีรีไพลวัลย์. (2559). การศึกษาคุณชีวิตของคนในชุมชนบ้านแสนตอ หมู่ 11 ตำบลท่าผา อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง. ใน สารนิพนธ์สังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารและนโยบายสวัสดิการ. มหาลัยวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
อุทุมพร ศรีเขื่อนแก้ว และคณะ. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างความสุข ความรอบรู้ด้านสุขภาพและคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ: กรณีศึกษาผู้สูงอายุในโรงเรียนผู้สูงอายตำบลเวียง อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่. MFU Connexion, 7(2), 76 - 95.
Bozorgpour, F. & Salimi, A. (2012). State Self - esteem, Loneliness and Life Satisfaction. Procedia - Social and Behavioral Sciences, 69, 2004-2008. Retrieved September 25, 2020, from http://dx.doi.org/10.1016/j. sbspro.2012.12.157
Diener, E. et al. (1985). The Satisfaction with Life Scale. Journal of Personality Assessment, 49(1), 71-75.
Greenberg, J. et al. (1986). The Causes and Consequences of a Need for Self - esteem: A Terror Management Theory. In R. F. Baumeister (Ed.), Public Self and Private Self (pp. 189-212). New York: Springer - Verlag.
Greenberg, J. et al. (1992). Why Do People Need Self - Esteem? Converging Evidence that Self - Esteem Serves as an Anxiety - Buffering Function. Journal of Personality and Social Psychology, 63(6), 913-922.
Hinkle, D. E. (1998). Applied Statistics for the Behavior Sciences. (4th ed.). New York: Houghton Mifflin.
Jang, J. et al. (2014). Predictors of Suicidal Ideation in a Community Sample: Roles of Anger, Self - Esteem, and Depression. Psychiatry Research, 216(1), 74-81.
Li, C. et al. (2015). Social Support Buffers the Effect of Self - Esteem on Quality of Life of Early - Stage Cervical Cancer Survivors in Taiwan. European Journal of Oncology Nursing, 19(5), 486-494.
Mann, M. et al. (2004). Self–Esteem in a Broad - Spectrum Approach for Mental Health Promotion. Health Education Research: Theory & Practics, 19(4), 357-372.
Ogihara, Y. (2019). A Decline in Self - Esteem in Adults over 50 is not Found in Japan: Age Differences in Self - Esteem from Young Adulthood to Old Age. Retrieved September 10, 2020, from https://doi.org/10.1186/s13104-019-4289-x
Orth, U. & Robins, R. W. (2013). Understanding the Link between Low Self - Esteem and Depression. Current Directions in Psychological Science, 22(6), 455-460.
Pyszczynski, T. et al. (2004). Why Do People Need Self - Esteem? A Theoretical and Empirical Review. Psychological Bulletin, 130(3), 435-468.
Robins, R. W & Trzesniewski, K. H. (2005). Self - Esteem Development Across the Lifespan. Current Directions in Psychological Science, 14(3), 158-162.
Tavares, D. et al. (2016). Quality of Life and Self - Esteem among the Elderly in the Community. Ciência & Saúde Coletiva, 21(11), 3557-3564.
World Health Organization. (2015). World Report on Ageing and Health. Retrieved September 25, 2020, from https://apps.who.int/iris/bitstream/handle/ 10665/186463/9789240694811_eng.pdf