การพัฒนาสมรรถนะการแปลความหมายข้อมูล และประจักษ์พยานในเชิงวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะที่ขับเคลื่อนด้วยกลวิธีการโต้แย้ง
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาสมรรถนะการแปลความหมายข้อมูลและประจักษ์พยานเชิงวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 อย่างน้อยร้อยละ 70 ของผู้เรียนให้ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะที่ขับเคลื่อนด้วยกลวิธีการโต้แย้ง มีกลุ่มเป้าหมายเป็นนักเรียนที่มีปัญหาคะแนนสมรรถนะการแปลความหมายข้อมูลและประจักษ์พยานเชิงวิทยาศาสตร์ จำนวน 17 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาที่ขับเคลื่อนด้วยกลวีการโต้แย้ง จำนวน 9 แผน 13 ชั่วโมง 2) แบบวัดสมรรถนะการแปลความหมายข้อมูลและประจักษ์พยานในเชิงวิทยาศาสตร์ 3) แบบสังเกต และ 4) แบบบันทึกอนุทิน ผลการวิจัยปรากฏดังนี้ 1) จากการพัฒนาสมรรถนะการแปลความหมายข้อมูลและประจักษ์พยานในเชิงวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 70 พบว่านักเรียนมีสมรรถนะการแปลความหมายข้อมูลและประจักษ์พยานในเชิงวิทยาศาสตร์ ดังนี้ ในวงจรปฏิบัติการที่ 1 มีคะแนนเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 54.90 วงจรปฏิบัติการที่ 2 มีคะแนนเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 64.70 และวงจรปฏิบัติการที่ 3 มีคะแนนเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 76.47 โดยจะพบว่าในวงจรปฏิบัติการที่ 3 นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยผ่านเกณฑ์ตามที่กำหนด 2) นักเรียนมีคะแนนสมรรถนะการแปลความหมายข้อมูลและประจักษ์พยานในเชิงวิทยาศาสตร์หลังจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็มในวงจรปฏิบัติการที่ 1 จำนวน 2 คน คิดเป็นร้อยละ 11.76 วงจรปฏิบัติการที่ 2 จำนวน 7 คน คิดเป็นร้อยละ 41.17 และวงจรปฏิบัติการที่ 3 จำนวน 16 คนคิดเป็นร้อยละ 94.11 โดยพบว่าในวงจรปฏิบัติการที่ 3 มีจำนวนนักเรียนผ่านเกณฑ์ตามที่กำหนด
Article Details
References
ภัทราวรรณ ไชยมงคล. (2559). การวิจัยปฏิบัติการเพื่อพัฒนาความสามารถในการให้เหตุผลเชิง วิทยาศาสตร์ เรื่อง ปริมาณสารสัมพันธ์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ด้วยรูปแบบการสืบเสาะที่ขับเคลื่อนด้วยกลวิธีการโต้แย้ง. ใน วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาเคมี. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2557). ผลการประเมิน PISA 2012 คณิตศาสตร์การอ่านและวิทยาศาสตร์นักเรียนรู้อะไร และทำอะไรได้บ้าง. กรุงเทพมหานคร: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.
. (2559). สรุปผลการวิจัย PISA 2015. กรุงเทพมหานคร: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.
สันติชัย อนุวรชัย. (2553). ผลของการเรียนการสอนชีววิทยาด้วยด้วยรูปแบบการเรียนการสอนสืบสอบร่วมกับกลวิธีการโต้แย้งที่มีต่อความสามารถในการสร้างคำอธิบายเชิงวิทยาศาสตร์และความมีเหตุผลของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการศึกษาวิทยาศาสตร์. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุนีย์ คล้ายนิล และคณะ. (2551). ความรู้และสมรรถนะทางวิทยาศาสตร์สำหรับโลกวันพรุ่งนี้. กรุงเทพมหานคร: เซเว่นพริ้นติ้งกรุ๊ป.
Berland, L.K., & McNeill, K.L. (2009). Using a learning progression to inform scientific argumentation in talk and writing. Science Education, 94(5), 765-793.
Cetin, P.S., & Eymur, G. (2017). Developing students' scientific writing and presentation skills through argument driven inquiry: An exploratory study. Journal of Chemical Education, 94(7), 837-843.
Holbrook, J. & Rannikmae, M. (2007). Nature of science education for enhancing scientific literacy. International Journal of Science Education, 29(11), 275-288.
OECD. (2012). PISA 2015 Item Submission Guidelines: Scientific Literacy. Paris: OECD.
. (2013). PISA 2015 Assessment and Analytical Framework. Paris: OECD.
Sampson et al. (2011). Argument-driven inquiry as a way to help students learn how participate in scientific argumentation and craft written arguments: An exploratory study. Science Education, 95(2), 217-257.
Tuba, D. & Sedat, U. (2012). The Effect of Argument-Driven Inquiry on Pre-Service Science Teachers’ Attitudes and Argumentation Skills. Tuba Demircio_lu and Sedat Uçar / Procedia - Social and Behavioral Sciences , 46(212), 5035-5039.
Walker, J. P. & Sampson, V. (2013). Learning to argue to learn: argument-driven inquiry away to help undergraduate chemistry students learn how to construct arguments and engage in argumentation during a laboratory course. Journal of research in science teaching, 50(5), 561-596.